ดูแบบคำตอบเดียว
  #113  
เก่า 05-01-2016
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,159
Default



ตามที่ทางอุทยานฯ ได้ตั้งเงื่อนไขในการเข้าทำกิจกรรมในเขตอุทยานทางทะเ ล จนทำให้เราต้องงดการทำกิจกรรมการปล่อยสัตว์น้ำ คือ หอยมือเสือและฉลามกบ ไปนั้น ขอเรียนชี้แจงเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้


1. สัตว์ที่เรานำไปปล่อยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหอยมือเสือ ปลาการ์ตูน ฉลามกบ (และในอดีตมีทั้งม้าน้ำ กุ้งตัวตลก และปลาอีกหลายชนิด) ล้วนเกิดจากการเพาะพันธุ์โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมง ชายฝั่ง สังกัดกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งสิ้น


2. เท่าที่ผ่านมา...การทำงานปล่อยสัตว์ทะเลของชาว SOS นั้น เจ้าหน้าที่ที่ทำการเพาะเลี้ยง ได้ให้รับคำแนะนำเกี่ยวกับชีวิตสัตว์แต่ละชนิดและวิธีการปล่อยอย่างถูกวิธี อย่างละเอียด ในระยะแรกๆและทุกครั้งที่มีโอกาส เจ้าหน้าที่ได้ร่วมเดินทางไปทำงานกับเราด้วย


3. สัตว์ทะเลที่นำไปปล่อย ณ. ที่ใดก็ตาม ล้วนแต่มีพ่อพันธุ์แม่พันธุ์จากทะเลนั้นๆทั้งสิ้น เช่น หอยมือเสือจากอ่าวไทย ก็จะนำไปปล่อยเฉพาะในอ่าวไทย หอยมือเสือจากอันดามัน ก็จะปล่อยในทะเลอันดามัน ปลาการ์ตูนส้มขาว ม้าน้ำ และกุ้งตัวตลก ที่พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ได้มาจากอันดามัน เราก็จะปล่อยแต่ด้านอันดามัน

การเกิดเอเลี่ยนสปิชี่อย่างที่หวั่นเกรง จึงไม่เคยเกิดขี้นในระหว่างการปฏิบัติงานของเรา และการทำงานที่ผ่านมาสิบกว่าปี ก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อยดี ไม่เคยมีปัญหาแต่อย่างใด มีหลายครั้งที่เจ้าหน้าที่อุทยานฯ ก็ลงไปดำน้ำปล่อยสัตว์ทะเลต่างๆกับเราด้วย


4. ในการปล่อยหอยมือเสือนั้น เราจะปล่อยหอยแต่ละตัว ห่างกันอย่างน้อย 2-3 ฟุต เพื่อให้หอยที่เติบโตเต็มที่แล้ว อยู่กันได้สบายๆไม่เบียดกันนัก เมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์ ไข่และสเปิร์มของหอยจะได้มีโอกาสผสมพันธุ์กันได้ง่าย อนึ่งการปล่อยในบริเวณไม่ไกลกันนัก ทำให้การปล่อยทำได้สะดวก ไม่ต้องว่ายไปไกลๆให้เหนื่อยแรงและใช้อากาศเปลือง การควบคุมการปล่อยหอยและการกลับมาสำรวจตรวจนับหอยที่ ปล่อยไปแล้วก็ทำได้ง่าย


5.อนึ่ง หอยมือเสือที่เพาะพันธุ์โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงช ายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ (คลองวาฬ) หากมีการนำมาปล่อยทางด้านทะเลอันดามัน จะถูกขนมาพักที่ศูนย์ฯ พังงา และในบ่ายวันที่เราจะออกเดินทาง จะต้องมีการห่อหอยมือเสือด้วยผ้าชุบน้ำเกลือ แล้วขนมาลงเรือ แล้วแก้ผ้าที่ห่อหอยออก นำหอยลงแช่ในน้ำทะเลที่ให้ออกซิเจนไว้ ถึงแม้จะใช้ความระมัดระวังในการขนหอยมือเสือเพียงใด หอยก็ยังมีโอกาสได้รับความกระทบกระเทือนและเกิดความเครียด ในระหว่างการขนส่งจากภูเก็ตไปยังสิมิลัน

ฉะนั้น เมื่อเรือถึงสิมิลัน เราจะพยายามปล่อยหอยมือเสือลงน้ำให้หมด ภายในเวลาไม่เกิน 12 ชั่วโมง นับจากการเคลื่อนย้ายหอยจากพังงา มิฉะนั้น หอยอาจอ่อนเพลีย จนถึงตายได้

หากกำหนดให้ปล่อยหอย 1 ตัว ต่อ 100 ตร.เมตร เราอาจต้องใช้เวลาปล่อยหอยนาน 2-3 ไดฟ์ ซื่งจะทำให้หอยมีโอกาสตายก่อนจะปล่อยสูง


6. จากความรู้ที่ได้จากนักวิชาการชำนาญการเพาะเลี้ยงหอย ทั้งน้องแม่หอย (คุณจินตนา นักระนาด) และน้องก้อง (ดร.ก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์) ทำให้เราทราบดีถึงประโยชน์ของหอยมือเสือ ที่มีมากมายเทียบเท่าปะการัง คือเป็นทั้งผู้ผลิตออกซิเจนให้กับทะเลและสรรพชีวิตทั้งหลายใต้ท้องทะเล เป็นโรงกรองน้ำชั้นดีที่ทำให้น้ำใส และให้ความสวยงามแก่ท้องทะเล ขนิดที่ใครได้เห็นหอยมือเสืออ้าปากที่อิ่มเอิบสีสันแ ละลวดลายสวยงาม ก็คงจะอดที่จะยิ้มตามไปด้วยไม่ได้

หอยมือเสือมีสาหร่ายเซลเดียวซูแซนเทลลี่ (Zooxanthellae) อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อ ซึ่งสาหร่ายนี้จะช่วยผลิตออกซิเจนและผลิตอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาลให้กับหอย และหอยก็ให้คาร์บอนไดออกไซด์เพื่อใช้สังเคราะห์แสง อีกทั้งให้ปุ๋ยจากมูลเป็นอาหารให้กับสาหร่ายเป็นการตอบแทน

การกรองกินอาหารประเภทแพลงก์ตอนจากน้ำทะเลของหอยมือเสือ (ที่นอนนิ่งๆอยู่เฉยๆ ไม่ได้เคลื่อนที่ไปล่าหาอาหารกินเหมือนกุ้งปูปลา) จึงทำได้น้อยมาก โอกาสที่จะไปแย่งอาหารสัตว์อื่นจึงแทบไม่มี


7. ในเรื่องคุณสมบัติของนักดำน้ำ ที่ระบุมาว่านักดำน้ำต้องผ่านการดำน้ำมา 50 ครั้ง จึงจะมาร่วมทำงานเก็บขยะตัดอวนได้นั้น ขอเรียนว่า สมาชิกของเราที่จะไปทำงานได้ ต้องผ่านการดำน้ำระดับ Advanced Scuba Diver และมีประสบการณ์อย่างต่ำ 25 dives

ถึงแม้อาสาสมัครบางคนจะมีประสบการณ์ไม่ถึง 50 dives อย่างที่อุทยานฯ ระบุ เราขอเรียนว่า ในความเป็นจริงแล้ว นักดำน้ำที่ยังมีประสบการณ์ไม่มากนักนั้น เราจะส่งนักดำน้ำที่มีประสบการณ์สูง และมีระดับความรู้ขั้น Dive Master จนถึงครูสอนดำน้ำ ลงไปประกบและดูแลควบคุมอย่างใกล้ชิด และยังทำหน้าที่ระมัดระวังภัยปิดหัวปิดท้ายกลุ่มนักดำน้ำทุกกลุ่มด้วย

เราไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไปทำงานครั้งแรกหรือมีประสบการณ์น้อย ดำเนินการตัดอวน แต่จะให้ลอยตัวคอยดูและช่วยถือถุงใส่เศษขยะและเศษอวนเท่านั้น การปฏิบัติงานของเราที่จะไปซ้ำเติมให้ปะการังบอบช้ำ หรือเกิดอันตรายกับตัวเองระหว่างการตัดอวนจึงไม่เคยเกิดขึ้น


จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบโดยทั่วกัน

__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 06-01-2016 เมื่อ 12:25
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม