ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 31-10-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,481
Default

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


เครือข่ายปัตตานียื่นรบ. "แก้ทั้งระบบ" วิกฤตกัดเซาะชายฝั่งทะเลใต้จากโครงการรัฐ .............. โดย จรัสรวี ไชยธรรม

เครือข่ายฯ ชี้วิกฤตรุนแรงขึ้นตามลำดับ โครงการขุดลอกอ่าวปัตตานีก่อสันดอนกลางอ่าว-กระทบชาวประมง-ต้องหยุด จี้แก้ทั้งระบบ-เปิดให้คนพื้นที่ร่วมหาทางออก ยื่น 8 ข้อเสนอรายละเอียด ปลัดจังหวัดฯ รับส่งต่อข้อเรียกร้อง สส.พื้นที่ขานรับดันต่อในสภาฯ




8 ข้อ แถลงการณ์ เร่งแก้ไข-ฟื้นฟู

วานนี้ 29 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 น. 'เครือข่ายประชาชนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน จังหวัดปัตตานี' นามรวมตัวขององค์กรนักศึกษา เยาวชน เเละภาคประชาชนรวม 23 องค์กร ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยมีปลัดจังหวัดปัตตานี เป็นผู้รับข้อเรียกร้องของทางเครือข่าย และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อันวาร์ สาและ สมาชิกสภาผู้เเทนพรรคประชาธิปัตย์ สมุติ เบ็ญขลักษณ์ สมาชิกสภาผู้เเทนราษฏร์พรรคประชาชาติ และผู้เเทน พรรคก้าวไกล เเละพรรคภูมิใจไทย รับหนังสือ 8 ข้อเรียกร้องเพื่อการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

แถลงการณ์เครือข่ายประชาชนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน จังหวัดปัตตานี ระบุถึงสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งทะเลในประเทศไทยทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ได้แก่ 1) ภัยทางธรรมชาติ 2 ) การคุกคามจากมนุษย์ โดยชี้โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

อีกทั้งอธิบายปัญหาเชิงโครงสร้าง ได้แก่
1.การถอนรายงาน (EIA)
2.การส่งเสริมการมีส่วนร่วม
3.มาตรการไมสอดคล้อง
4.ไร้มาตรการฟื้นฟูชายฝั่ง
5.อำนาจหน้าที่ทับซ้อน
6.ไม่กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
7.ล็อกรูปแบบการรับฟังความเห็น
8.กระบวนการการพิจารณารายงานฯไม่ครอบคลุมปัญหา โดยขอให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทยอย่างยั่งยืน เพื่อการฟื้นฟู 8 ข้อดังนี้

"1. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำโครงการหรือกิจการประเภทกำแพงกันคลื่น กลับเข้าไปเป็นโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิตามรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน และเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชนชายฝั่ง

2. ให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระงับการดำเนินการโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ชายหาดทั่วประเทศไทย ที่กำลังมีการดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เพื่อป้องการทำลายชายหาดด้วยโครงสร้างป้องกันชายฝั่งของรัฐ และไม่ให้เกิดการใช้งบประมาณอย่างฟุ่มเฟือย ไม่ได้เกิดประโยชน์ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง แต่เป็นการซ้ำเติมเพิ่มปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งให้ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น

3.รัฐบาลต้องผลักดันให้เกิดการใช้มาตรการชั่วคราว ที่สามารถรื้อถอนได้เมื่อผ่านมรสุมไป อย่างที่ปรากฏชัดเจนในหลายพื้นที่ชายหาดของประเทศไทยว่า การกัดเซาะชายฝั่งในหลายพื้นที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว การใช้มาตรการชั่วคราว ที่เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นทางออกที่เหมาะสมเพื่อการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมให้เกิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งชั่วคราวในช่วงมรสุม

4. รัฐบาลต้องส่งเสริม และผลักดันให้มีการใช้มาตรการที่เป็นมิตรกับชายหาด เช่น การเติมทราย การกำหนดแนวถอยร่น การรื้อถอนโครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่ไม่จำเป็น และการป้องกันการกัดเซาะตามวิถีภูมิปัญญาดั้งเดิม เพื่อให้ชายฝั่งได้ฟื้นคืนและเกิดความสมดุล โดยที่มาตรการเหล่านี้เป็นมาตรการที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรชายฝั่ง

5. รัฐบาลต้องสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนชายฝั่งสามารถกำหนดเจตจำนงของตนเอง ในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชายหาดอย่างสมดุลและยั่งยืน รวมทั้งการส่งเสริมให้ความรู้และรับรองสิทธิชุมชน กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดการ ใช้ประโยชน์ และบำรุงรักษาทรัพยากรชายหาด

6. คณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทุกจังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายฝั่ง ต้องจัดให้มีคณะอนุกรรมการกัดเซาะชายฝั่ง โดยกำหนดให้มีสัดส่วนจากภาคประชาชนที่มาจากพื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งร่วมเป็นอนุกรรมการดังกล่าว

7. รัฐบาลควรเร่งตั้งคณะกรรมการศึกษาสภาพปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เพื่อรวบรวมการใช้ประโยชน์ และจำแนกประเภทการกัดเซาะชายฝั่ง รวมทั้งการการศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกัน แก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน

8. ปัจจุบันจังหวัดปัตตานีมีสถานการณ์การขุดลอกอ่าวปัตตานี ทำให้เกิดสันทรายขนาดใหญ่กลางอ่าวปัตตานี กระทบต่อการเดินเรือของประชาชนที่ประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง การจับสัตว์น้ำ และกระทบระบบนิเวศในอ่าวปัตตานี ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์ดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขุดลอกสันทรายบริเวณอ่าวปัตตานีจากโครงการขุดลอกอ่าวปัตตานีโดยกรมเจ้าท่าออกจากอ่าวปัตตานี โดยเร็วที่สุด" แถลงการณ์ระบุ


แถลงการณ์ฯ นี้มี 22 องค์กรร่วมลงนามภายใต้เครือข่ายฯ ดังกล่าว เพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องทั้ง 8


แกนนำชี้ 'กำแพงกันคลื่น' ภัยชายฝั่งทะเลภาคใต้

สำนักข่าว Wartani วาร์ตานี รายงานบนเฟซบุ๊ก นูรีต้า กามา กลุ่มชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อม Nec Club อธิบายถึง สถานการณ์ที่ผ่านมาในจังหวัดปัตตานี และชายฝั่งภาคใต้ของประเทศไทยถูกทำลายด้วยการก่อสร้างโครงการประเภทกำแพงกันคลื่น ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่มีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)

"โครงการลักษณะดังกล่าวนี้ยังใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง แต่ที่ผ่านมามีบทเรียนชัดเจนว่าการแก้ไขปัญหาด้วยการสร้างกำแพงกันคลื่นนั้นกลับสร้างปัญหามาขึ้น ไม่ได้เป็นการแก้ไขปัญหาแต่อย่างใด

เครือข่ายมองว่า กำแพงกันคลื่นนั้นคือภัยต่อความมั่นคงของชายฝั่งทะเลภาคใต้ เพราะทำให้ชายฝั่งทะเลถูกทำลาย จึงขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งทบทวนนำเอาโครงการประเภทกำแพงกันคลื่นกลับไปเป็นโครงการที่ต้องประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมดังเดิม และเรียกร้องให้เกิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามเจตจำนงของชุมชน" นูรีต้า กล่าว


รับส่งต่อนายกฯ ยืนยันไม่นิ่งนอนใจ

ณัฐกฤช สิทธิโอสถ ปลัดจังหวัดปัตตานี อธิบายว่า ขอยืนยันในส่วนของราชการภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ยินดีรับข้อเสนอของน้องๆทุกคน ไปเสนอราชการระดับสูงเพราะเชื่อว่าผู้บัญชาการระดับสูงทุกท่านตั้งแต่ นายกรัฐมนตรีลงถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายพร้อมที่จะแก้ปัญหาความเดือดร้อนพี่น้องประชาชนในพื้นที่อยู่แล้ว

"โดยการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ตามข้อเสนอ 8 ข้อ ของน้องดังนั้น ไม่ต้องกังวลว่าทางราชการจะนิ่งเฉย ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดปัตตานี หรือจังหวัดอะไรแล้วแต่ ทางรัฐบาลเองเชื่อมั่นว่าจะดูแลพี่น้องประชาชนให้อย่างดีที่สุดแล้วก็ลดความเสียหาย ความเดือดร้อน ความทุกข์ยากใจของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ให้อย่างเต็มกำลังความสามารถ" ณัฐกฤช กล่าว

ด้านอันวาร์ สาและ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ วันนี้ถือเป็นโอกาสที่ดี ที่น้องเยาวชนเอาปัญหาในพื้นที่และเรื่องนี้เป็นปัญหาระดับชาติ ที่เราสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งทะเลไป ทาง สส ที่มารับเรืองวันนี้พูดคุยกันว่า ในวันที่จะเปิดสภาในวาระแรก สส.จังหวัดชายแดนใต้จะยื่นเรื่องในสภาผู้แทนราษฎร หลักจากนั้น สส.แต่ละท่านจะนำเข้าสู่กรรมาธิการที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่อไปในอนาคต

ส่วน สมมุติ เบ็ญจลักษณ์ สมาชิกสภาผุ้แทนราษฎร พรรคประชาชาติ เน้นย้ำว่า การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ต้องได้รับการตอบรับเพื่อเป็นไปตามเรียกร้องของพี่น้องประชาชน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องกับการกัดเซาะชายฝั่ง เราจะสืบสวนสอบสอน เพื่อให้เกิดข้อเท็จจริง และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืนต่อไป


https://greennews.agency/?p=26173

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม