ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 24-12-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,408
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


"ปูแดงเกาะคริสต์มาส" เคลื่อนขบวนพาเหรด! ปรากฎการณ์ธรรมชาติที่น่าทึ่ง เพราะการอนุรักษ์


เครดิตภาพ : Theconversation.com

ช่วงปลายปี ก่อนวันคริสต์มาส ขบวนพาเหรดปูแดงหลายล้านตัว มุ่งหน้าสู่เกาะคริสต์มาส คงเป็นภาพที่คุ้นตาคนท้องถิ่น ในปีนี้ เคลื่อนขบวนกันแล้วตั้งแต่เดือนที่ผ่านมา แต่ก็เป็นอีกหนึ่งวาระสำคัญที่ทำให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาชมปรากฎการณ์ธรรมชาติอันน่าทึ่งได้ทุกปี

ปูแดง หรือ blazing red crabs ประมาณ 50 ล้านตัวออกเดินทางจากอุทยานแห่งชาติ มุ่งหน้าสู่ภาคตะวันตกของออสเตรเลีย กลายเป็นภาพที่นักท่องเที่ยวจดจ้อง การอพยพของเหล่าปูแดงนี้ เรียกได้ว่าเป็นการอพยพครั้งใหญ่ที่สุดของสัตว์โลก ความมากมายมหาศาลของปูแดงทำให้พื้นถนนของเกาะฉาบไปด้วยสีแดงสด แต่ละตัวก็มีพฤติกรรมตลกๆ ให้ช่างภาพทั้งหลายได้คอยยกกล้องขึ้นมาถ่าย ไม่ว่าจะเป็นการเดินข้ามถนน ข้ามสะพาน เกาะหินและว่ายน้ำ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ทันเวลาที่พวกมันจะพร้อมผสมพันธุ์

เบรนแดน เทียร์แนน ผู้จัดการทรัพยากรธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติเกาะคริสต์มาส กล่าวว่า "การย้ายถิ่นในปีนี้เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่อย่างยิ่ง"

เจ้าหน้าที่บนเกาะคริสต์มาส จะต้องตระเตรียมพื้นที่เพื่อรองรับฤดูการอพยพของปูแดง โดยใช้เวลาหลายเดือน อาทิ การสร้างสะพานให้ปูได้ข้ามถนนอย่างปลอดภัย และสร้างแนวกำแพงให้ปูเดินไม่ให้พวกมันออกมาบนถนนและกีดขวางการจราจร โดย ดร. ทันยา เดทโต ผู้ประสานงานโครงการ Invasive Species หรือสัตว์นอกพื้นที่ ของเกาะคริสต์มาส กล่าวกับสำนักข่าวเดลี่เมล ของออสเตรเลียว่า จริงๆ แล้วเราไม่ได้เห็นการอพยพครั้งใหญ่ที่มีจำนวนปูมากมายขนาดนี้มาตั้งแต่ปี ค.ศ.2005

เธอบอกว่า เจ้าหน้าที่ใช้เวลานานในการสร้างสะพาน และแนวกั้นทางเดินให้กับบรรดาปู เพื่อส่งพวกมันไปให้ถึงจุดหมายคือ Flying Fish Cove ?ตอนที่เห็นปูเดินไปตามทางที่เรากั้นไว้ ไม่ให้ลงไปเดินบนผิวการจราจรมันน่ารักมาก แล้วพวกมันก็ปลอดภัย? เธอกล่าวและบอกว่า แม้ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมสัตว์จะพยายามคาดเดาว่า ปูจะใช้เส้นทางไหนในการอพยพแต่ละปีเพื่อเตรียมการล่วงหน้า แต่บางครั้งบรรดาปูก็เลือกจะเดินทางอื่น

ในขณะที่ปูบางตัวก็ใช้วิธีปีนตึก บางตัวก็ตกจากหน้าผา แต่ท้ายที่สุดแล้ว ในบรรดาปู 50 ล้านตัวนั้นส่วนใหญ่พวกมันก็รอด โดยฤดูการอพยพทุกปีจะเกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน ส่วนพฤติกรรมตามธรรมชาติของปูนั้น หลังจากที่มีฝนตกไม่กี่วัน ปูตัวผู้จะเริ่มออกจากรังและเดินมุ่งหน้าสู่ทะเล พร้อมกับเลือกคู่ของมันระหว่างทาง การเดินทางของปูนั้นขึ้นอยู่กับรอบข้างขึ้นข้างแรมด้วย โดยในปีนี้คาดว่า ปูจะเริ่มวางไข่ในช่วง 3 วันสุดท้ายของเดือนพฤศจิกายน

ปูตัวเมียจะสามารถวางไข่ได้มากกว่า 1 แสนฟองและมันจะทิ้งไข่ของพวกมันลงไปในมหาสมุทรอินเดียตลอด 5-6 คืนช่วงที่พวกมันกำลังอพยพ และภายใน 1 เดือน ลูกปูตัวจิ๋วจะกลับสู่ฝั่งเพื่อเดินหน้าสู่ป่า ที่จะเป็นที่อยู่อาศัยของพวกมันไปตลอดจนถึงปีหน้า แต่อย่างไรก็ตาม ปูจิ๋วเหล่านี้ก็มีอัตรารอดไม่มากนัก เนื่องจากขณะกำลังเป็นตัวอ่อนในทะเล มันก็มักจะเป็นอาหารของ ปลา กระเบน และฉลามวาฬได้เช่นกัน



บีอันกา พรีซ รักษาการผู้จัดการของเกาะคริสต์มาส กล่าวว่า ปรากฎการณ์มหัศจรรย์นี้เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ?เกาะคริสต์มาสเป็นอุทยานแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่ของเราได้สร้างแนวกั้นยาวหลายกิโลเมตรเพื่อทำทางอพยพ ทำป้ายบอก ป้ายเตือนต่างๆ และปิดถนนรอบเกาะในขณะที่ปูกำลังออกเดินจากบ้านไปสู่ทะเล? เขากล่าว

เกาะคริสต์มาสเป็นถิ่นอาศัยของปูแดงจำนวนมากที่สุดในโลกและนักท่องเที่ยวจะต้องรับทราบกฎระเบียบของอุทยานแห่งชาติในการเยี่ยมชม


https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000127004

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม