ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 30-11-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,416
Default

ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย


กรมทช. เร่งแก้ปัญหาการระบาดของโรคปะการังแถบสีเหลือง

ชลบุรี 29 พ.ย. ? อธิบดีกรมทช. นำตรวจติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคปะการังแถบสีเหลืองบริเวณ เกาะขามอ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เตรียมประกาศพื้นที่คุ้มครองและหารือภาคส่วนต่างๆ เพื่อเร่งแก้ปัญหา



นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ดำน้ำเพื่อติดตามการระบาดของโรคปะการังแถบสีเหลืองบริเวณเกาะขาม จากนั้นระบุว่า ภายหลังจากที่ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันออก (ศวบอ.) เรื่องการสำรวจระบบนิเวศแนวปะการังในปี 2564 ? 2565 จำนวนทั้งสิ้น 90 สถานี ครอบคลุม 5 จังหวัด ได้แก่ ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ในบริเวณอ่าวไทยตอนบนและตอนกลาง พบว่า โรคแถบสีเหลืองนั้นกระจายตัวอยู่ เฉพาะบริเวณเกาะสัตหีบ ? แสมสาร จังหวัดชลบุรี จำนวน11 สถานี รายงานการพบโรคนี้เป็นการพบครั้งแรกในประเทศไทย ปะการังส่วนใหญ่ที่สำรวจพบว่า เป็นโรค ได้แก่ปะการังโขด และปะการังเขากวาง โดยปริมาณการพบคิดเป็นร้อยละ 1 ? 10 ของปะการังทั้ง 2 ชนิด

ขณะนี้ได้มีการกระจายตัวของโรคระบาดไปยังปะการังหลายชนิดเช่น ปะการังเขากวาง ปะการังโขด ปะการังลายดอกไม้ ปะการังดอกไม้ ปะการังดอกกะหล่ำ ปะการังวงแหวน ปะการังช่องเล็ก และปะการังช่องเหลี่ยม ซึ่งถือว่า การแพร่ระบาดของโรคในแนวปะการังเป็นเรื่องที่ใหญ่พอสมควร จะต้องมีการวางแผนเพื่อศึกษาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะบริเวณที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคนั้นมีขนาดของพื้นที่รวม 1,000 ไร่ อย่างไรก็ตาม ไม่อยากให้ใช้คำว่า โรคระบาด ซึ่งข้อมูลจากนักวิชาการของกรมทช. แจ้งว่า การระบาดที่เกิดขึ้นเป็นสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Vibrio ซึ่งปะการังแต่ละชนิดก็จะเป็นแบคทีเรียที่แตกต่างกัน ภายหลังจากนี้จะมีการหารือร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อศึกษาและเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พร้อมทั้งนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่กลไกของคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติเพื่อพิจารณาและกลั่นกรองร่วมกันนอกจากนี้กรมทช. ได้ทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน ประกอบด้วย กองทัพเรือ จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชน เพื่อร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอีกทั้งช่วยกันสอดส่องดูแลไม่ให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงต่อทรัพยากรปะการัง

ทั้งนี้กรมทช. จะกำหนดขอบเขตเพื่อเตรียมประกาศพื้นที่คุ้มครอง พร้อมทั้งหารือร่วมกับอาสาสมัครพิทักษ์ทะเลเพื่อหาทางออกหลังจากที่แปลงเพาะปลูกปะการังได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย พร้อมย้ำว่า การย้ายปะการังที่ไม่ได้รับผลกระทบออกจากปะการังที่ติดเชื้อจากแบคทีเรียนั้น เมื่อได้สำรวจแล้วพบว่า เป็นเรื่องละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก เพราะปะการังที่ได้รับผลกระทบมีจำนวนมหาศาล จะต้องวางแผนเป็นอย่างดีและใช้กำลังพลเป็นจำนวนมากอย่างไรก็ตาม จะต้องหารือกับทีมนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านปะการังอีกครั้ง เพื่อช่วยกันหาแนวทางในการขนย้ายปะการังที่ติดเชื้อออกจากพื้นที่ต่อไป.


https://tna.mcot.net/agriculture-1067032

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม