ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 29-05-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,426
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


วอนเร่งสอบ! ต่างชาติเปิดคอร์สเรียนวาดรูปใต้ทะเลภูเก็ต ชี้พบใช้สีอันตรายต่อสัตว์น้ำ-ปะการัง

เพจดังเผยพบดรามาจากต่างประเทศมีการเปิดสอนวาดรูปใต้ทะเลที่จังหวัดภูเก็ต พบมีการใช้สีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำและปะการัง และคอร์สเรียนเปิดสอนมานานในราคาหลักแสน คาดอาจมีทำในเขตอุทยานฯ ด้วย



วันนี้ (28 พ.ค.) เพจ "ขยะมรสุม MONSOONGARBAGE THAILAND" ได้โพสต์ภาพชาวต่างชาติดำน้ำพร้อมวาดรูปไปด้วย โดยระบุว่าเป็นคอร์สเรียนที่เปิดในทะเลภูเก็ตมานาน และมีราคาสูงถึงหลัก 100,000 บาท และกังวลว่าเป็นการทำร้ายต่อปะการังหรือไม่ เพราะสังเกตเห็นการฟอกขาว จึงวอนให้ผู้เกี่ยวข้องเร่งลงพื้นที่ตรวจสอบ

โดยข้อความระบุว่า "ตรวจสอบสีที่เขาใช้ด่วนๆ พอดีมีดรามามาจากเมืองนอก แต่มันดันเป็นที่ภูเก็ตครับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ได้รับรายงานเข้ามาว่า ที่ภูเก็ตมีการเปิดคอร์สสอนดำน้ำวาดภาพ คอร์สเรียนหนึ่งเป็น 100,000 บาท มานานแล้ว ทำโดยชาวต่างชาติ โดยไม่รู้มีใบอนุญาตไหม แต่ที่กังวลคือ สีที่เขาใช้นั้นเป็นอันตรายต่อปะการังรึเปล่า สังเกตในภาพมีการฟอกขาว จึงอยากให้หน่วยงานมีการตรวจสอบครับ ว่าถูกต้องหรือไม่ และสีวาดรูปนั้นมีสารอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและปาการังหรือไม่ พบเอกสารระบุว่าสียี่ห้อนี้อันตรายต่อ สิ่งมีชีวิตในน้ำและปะการัง จึงอยากให้มีการเร่งตรวจสอบครับ เพื่อคลายความกังวลของคนที่ห่วงใยทะเลไทย เพราะเชื่อว่าอาจมีทำในเขตอุทยานฯ ด้วย"


https://mgronline.com/onlinesection/.../9660000049070


******************************************************************************************************


จีนพบฟอสซิล 'ปีศาจแห่งทะเล' ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ใกล้ยอดเขาสูงสุดในโลก



คณะนักวิทยาศาสตร์ของจีนค้นพบซากฟอสซิล "หิมาลายาซอรัส" (Himalayasaurus) สัตว์นักล่าใต้ทะเลลึกยุคก่อนประวัติศาสตร์ จำนวน 2 รายการ บริเวณพื้นที่ที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลราว 4,000 เมตร ในเขตปกครองตนเองทิเบต (ซีจ้าง) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

รายงานระบุว่า มีการค้นพบซากฟอสซิลหิมาลายาซอรัสใกล้กับตำบลกังกา ของอำเภอติ้งรื่อ ซึ่งอยู่ห่างจากเบสแคมป์ภูเขาโชโมลังมาราว 100 กิโลเมตร โดยการค้นพบนี้จะเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับสัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่ที่สุดบนที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต และส่งเสริมการศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในภูมิภาคระหว่างมหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic Era)

หิมาลายาซอรัส ถือเป็นสัตว์เลื้อยคลานสูญพันธุ์ที่เคยครอบครองท้องทะเลเมื่อ 210 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่ไดโนเสาร์จะครอบครองผืนดิน โดยหิมาลายาซอรัส มีปากยาว ฟันแหลมคม และลำตัวยาวมากกว่า 10 เมตร จัดเป็นนักว่ายน้ำตัวฉกาจที่กินปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ เป็นหลัก

คณะนักวิจัยของจีนเคยค้นพบซากฟอสซิลหิมาลายาซอรัส ครั้งแรกในช่วงทศวรรษ 1960 ระหว่างการสำรวจพื้นที่ภูเขาโชโมลังมา ซึ่งยกตัวขึ้นจากทะเลลึกเพราะการชนกันของแผ่นเปลือกโลก และกลายเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกวันนี้

ส่วนการค้นพบครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อต้นปีนี้โดยทีมสำรวจอันประกอบด้วยคณะนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและบรรพมานุษยวิทยา สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ซึ่งกำลังมุ่งวิจัยขนาด พฤติกรรม และถิ่นที่อยู่ของหิมาลายาซอรัสในปัจจุบัน

หวังเวย นักวิจัยร่วมของสถาบันระบุว่าฟอสซิลเหล่านี้ประกอบด้วยกระดูกสันหลังและกระดูกซี่โครงสภาพดีที่หาได้ยากในการค้นพบก่อนหน้านี้ โดยส่วนตัดขวางของกระดูกมนุษย์มีขนาดเท่าเหรียญ แต่ส่วนตัดขวางของกระดูกสันหลังที่เพิ่งค้นพบมีขนาดราวหมวกเบสบอล

คณะนักวิจัยวางแผนแกะซากฟอสซิลหิมาลายาซอรัสออกจากก้อนหินที่ล้อมรอบ และตรวจสอบซากฟอสซิลเหล่านี้อย่างละเอียดด้วยการใช้กล้องจุลทรรศน์และการสแกนด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ในอนาคตอันใกล้

เติ้งเทา หัวหน้าสถาบันกล่าวว่า ที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต เป็นเหมือนห้องปฏิบัติการขนาดมหึมาสำหรับการสังเกตการณ์วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต โดยคณะนักวิจัยจะมุ่งปรับปรุงประวัติศาสตร์สิ่งมีชีวิตกว่า 200 ล้านปีบนที่ราบสูงแห่งนี้ให้สมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

เติ้ง กล่าวว่า การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตในยุคแรกได้รวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานจำนวนมากและเติมเต็มความรู้ด้านบรรพมานุษยวิทยา ส่วนการค้นพบใหม่ตลอดทศวรรษที่ผ่านมาช่วยนักบรรพมานุษยวิทยาตรวจสอบบทบาทสำคัญของที่ราบสูงแห่งนี้ที่มีต่อวิวัฒนาการของความหลากหลายทางชีวภาพในมหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic Era)


https://mgronline.com/china/detail/9660000048064

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม