ดูแบบคำตอบเดียว
  #5  
เก่า 24-07-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,403
Default

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


"กำหนดแล้ว เวทีรับฟังครั้งแรก เมกะโปรเจกต์แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง" 18 ส.ค.

จะเปิดรับฟังความเห็นประชาชนต่อโครงการฯ รวม 210 นาที ระหว่าง 08.30-12.00 น ที่หลังสวน ชุมพร เพื่อนำข้อมูลจัดทำรายงานผลกระทบโครงการ EHIA ตามขั้นตอนกฎหมายกำหนด สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เผย




รับฟังตามกฎหมายกำหนด

"โครงการพัฒนาท่าเรือบริเวณแหลมริ่ว อ.หลังสวน จ.ชุมพร เป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างทะเลอ่าวไทยอันดามัน หรือโครงการแลนด์บริดจ์ (Landbridge) คือท่าเรือฝั่งอ่าวไทย ในจังหวัดชุมพร เเละท่าเรือฝั่งอันดามัน จังหวัดระนอง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ การเงิน วิศวกรรม สังคม และการออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน โครงการพัฒนาโครงสร้างด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้

เพื่อให้การจัดการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดทำรายงาน EHIA เป็นไปตามประกาศสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้กำหนดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการพัฒนาท่าเรือบริเวณแหลมริ่ว อ.หลังสวน จ.ชุมพร เพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ ในวันที่ 18 สิงหาคม 2566 เวลา 08.30 น. ? 12.00 น. ณ ห้องประชุมโรงแรมอวยชัยแกรนด์ อ.หลังสวน จ.ชุมพร"

ปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าล่าสุดของโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมริ่ว อ.หลังสวน จ.ชุมพร ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของโครงการแลนด์บริดจ์ (Landbridge) ที่จะเชื่อมท่าเรือ 2 แห่ง คือ ท่าเรือนํ้าลึกฝั่งอ่าวไทย ในจังหวัดชุมพร เเละท่าเรือนํ้าลึกฝั่งอันดามัน จังหวัดระนอง ระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร ด้วยทางหลวงพิเศษขนาด 6 ช่องจราจร ทางรถไฟขนาดรางมาตรฐาน 2 ทาง โดยโครงการอยู่ภายใต้การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ หรือ Southern Economic Corridor : SEC


เชื่อ "จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 5 แสนล้าน"

"ปัจจุบัน โครงการอยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มต่าง ๆ เช่น นักลงทุนต่างชาติในสายการเดินเรือต่าง ๆ ผู้ประกอบการชาวไทยและชาวต่างชาติ และการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งยังดำเนินการศึกษาความเหมาะสม ประเมินผลกระทบสิ่งเเวดล้อม เเละวิเคราะห์รูปเเบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน ควบคู่ไปกับการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะอย่างรอบด้าน

โดยกระทรวงคมนาคมเล็งเห็นว่า หากโครงการ Landbridge แล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในพื้นที่ภาคใต้จาก 2% เป็น 10% เป็นระยะเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 10 ปี สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้เกือบ 500,000 ล้านบาท รวมทั้งจะเกิดโอกาสการจ้างงาน เพิ่มอาชีพใหม่ ๆ ในชุมชน เพิ่มรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกพื้นที่" สนข. เปิดเผย ไทยโพสต์ รายงานวันนี้ (21 ก.ค. 2566)


คำถามเบื้องต้น จากพื้นที่

4 ธ.ค. 2565 ที่ผ่านมา สภาประชาชนภาคใต้ และศูนย์สร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา จัดงานเสวนาวิชาการเรื่อง ภาคประชาชนจะได้จะเสียอะไรภายใต้โครงการแลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตในเวทีว่าประชาชนในพื้นที่ทั้ง 2 จังหวัด จะได้รับประโยชน์จากตัวโครงการจริงหรือไม่ ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลอย่างครบถ้วน รอบด้าน ทั้งผลดีที่คาดว่าจะได้รับ และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นแล้วหรือยัง รวมถึงมีการนำเสนอบทเรียนการพัฒนาเศรษฐกิจของชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ที่มีผลกระทบเกิดขึ้นจริง และรุนแรง ทำให้มีการแสดงความกังวลว่าผลกระทบจะเกิดขึ้นซ้ำอีกครั้งในพื้นที่ชุมพร-ระนองหรือไม่

"โครงการแลนด์บริดจ์ เส้นแรกคือเซาเทิร์นซีบอร์ด ขนอม?กระบี่ ในยุครัฐบาลบรรหาร ศิลปะอาชา ที่ได้มีการสร้างถนนพาดผ่านระหว่างอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เชื่อมกับอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ แต่ก็ถูกยกเลิกไปเมื่อจะสร้างท่าเรือในพื้นที่จังหวัดกระบี่ เพราะผู้ประกอบการท่องเที่ยวท่องเที่ยวห่วงว่าจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ต่อมามีการเลือกเส้นใหม่ที่เส้น 9A ที่จังหวัดสงขลา?สตูล จนมีการคัดค้านอย่างหนักจากประชาชนทั้งสองพื้นที่ และยกเลิกโครงการไปในที่สุด และปัจจุบันรัฐบาลโดยพรรคภูมิใจไทยที่คุมกระทรวงคมนาคม พยายามรื้อฟื้นโครงการนี้ขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อสร้างนโยบายการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ โดยเลือกเส้นทางชุมพร-ระนอง

มีข้อสังเกตว่า ทำไมโครงการนี้จึงต้องการสร้างที่จังหวัดชุมพร ระนอง คนในพื้นที่คิดอย่างไร เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยอย่างไร และมีการรับรู้ข้อมูล ข้อเท็จจริงกับเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน ในขณะที่รัฐบาล หรือนักการเมืองที่ผลักดันโครงการนี้ มีการขับเคลื่อนเพื่อให้มีการสนับสนุนโครงการอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทันกับสถานการณ์ทางการเมืองที่กำลังมีการเลือกตั้งในอนาคตอันไม่ไกลนี้

นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตที่ว่าด้วยความคุ้มค่าในการลงทุน เพราะในที่สุดแล้วโครงการนี้ต้องใช้งบประมาณมหาศาล และต้องใช้พื้นที่และฐานทรัพยากรจำนวนมากที่จะต้องแลก คนที่ได้ประโยชน์จากโครงการนี้คือใคร ชาวบ้าน นักธุรกิจ หรือนักการเมืองที่จะได้ประโยชน์จากงบประมาณในการก่อสร้าง และเมื่อสร้างไปแล้วโครงการนี้จะมีการใช้ประโยชน์จากผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์จริงหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ได้มีผู้ประกอบการระดับนายกสมาคมธุรกิจด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศเคยให้ข้อสังเกตไว้หลายท่านแล้วว่า แนวคิดแลนด์บริดจ์ไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการของนักเดินเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้จริง ด้วยเหตุผลที่เป็นรายละเอียดหลายประการ ที่จะต้องศึกษารายละเอียดให้ลึกซึ้งมากกว่านี้" สมบูรณ์ คำแหง ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน กล่าวในเวทีฯ ดังกล่าว


https://greennews.agency/?p=35023

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม