ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 14-08-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,416
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์


'ภาวะโลกเดือด' นี่ยังเพียงเริ่มต้น .......... ต่อ


UN จ่อประชุมออกเกณฑ์แก้จริงจัง

นักวิชาการอีกราย รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม และหนึ่งในคณะกรรมการการนโยบายการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ กล่าวว่า หน้าร้อนปีนี้ มีคนตายเยอะ เพราะอุณหภูมิสูงสุด เป้าที่ประเทศ โลกกำลังพูดไม่ให้ร้อนขึ้น1.5 องศา น่าจะเป็นไปไม่ได้ เข้ายุคจาก Global Warming กลายเป็น Global Heating ยิ่งมาเจอ เอลนิโญ่ ทำให้ร้อนนานขึ้น ถ้าไม่มี Polar jet หรือกระแสลมหนาวจากขั้่วโลกเหนือลงมา ซึ่งจะทำให้ทะเลเย็นขึ้น แต่ถ้าไม่มีทะเลก็จะเก็บสะสมความร้อนไปเรื่อยๆ

การแก้ปัญหา องค์การสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น จะมีการประชุมเรื่องนี้ในเดือนก.ย.เรียกว่าเป็นการประชุม UN AMBITION SUMMIT 2023 และจะประชุมอีกครั้งเดือนธันวาคมเป็นเวที UNSCC การประชุมยูเอ็นจะเรียกร้อง 2 ข้อ คือ Climate Action กับ Climate Justice เพราะในโลกมี 5ประเทศ ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด เช่น จีน อเมริกา อินเดีย จะต้องลดให้มาก เพราะถ้าไม่ลดประเทศที่เหลือจะได้รับผลกระทบ สิ่งที่ลดไป จะต้องเอาเงินไปช่วยเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับคนอื่นด้วย ซึ่งในเวทีนี้ จะมีการพูดถึง Climate Fund หรือการมีเงินกองทุนช่วยเหลือประเทศต่างๆ นี่คือ ทฤษฎี เพราะที่ผ่านมา มีการขอระดมทุนที่เรียกว่า Global Fund แต่ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือเท่าไหร่

"การประชุมครั้งนี้ ทางยูเอ็นจะต้องบอกว่า เป็นแบบนี้ไม่ได้แล้วนะ ถ้าไม่ทำอะไรเลย ประเทศพัฒนาแล้ว แม้จะทำกิจกรรมลดคาร์บอนด์ แต่ทั้งหมดเป็นกระดาษ แต่ Climate Action คือ การต้องลดจริงๆ ไม่ใช้ถ่านหิน ซึ่งช่วงที่ผ่านมา พอเกิดสงครามรัสเซีย ยูเครน เกิดวิกฤติพลังงาน ทำให้เยอรมันต้องกลับมาใช้ถ่านหิน ใหม่ เหมือนโลกตีลังกากลับ เป็น วิกฤติ ซ้อนวิกฤต "


Climate Change สปีดเร็วแก้ไม่ทัน

รศ.ดร.สุจริต กล่าวอีกว่า แนวทางการแก้ปัญหา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มันจะไปด้วยกันทั้งในแง่ทำให้โลกสงบและ เกิดความเป็นธรรม นี่คือโจทย์ใหญ่ของยูเอ็นในเวลานี้ เพราะสปีดของClimate Change อุณหภูมิโลกสูงขึ้นมันเร็วขึ้น กว่า สมัย 30-40 ปีก่อน เราพูดถึงความไม่เป็นธรรม ที่ประเทศยากจนได้รับจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ประเทศที่ร่ำรวยแล้ว หาทางออก ด้วยการเอาเงินไปลงทุนในประเทศยากจน แต่เป็นอุตสาหกรรมที่สกปรก ส่วนตัวเองก็ทำอุตสาหกรรมสะอาด แต่ตอนนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงมันเร็วขึ้น จะทำแบบนั้นไม่ได้อีกแล้ว การออกแบบแก้ปัญหา จะทำเหมือนสมัยปฎิวัติอุตสาหกรรม เมื่อ30-40 ปีก่อน จึงใช้ไม่ได้แล้ว ซึ่งเรากำลังพูดปี 2030และปี 2050 เป็นเป้าหมายที่จะต้องไปให้ถึง ซึ่งไม่ใช่เป้าหมายแค่ตั้งเป้าไว้เฉย จะต้องไปให้ถึงจริงๆ และยูเอ็นก็พูดเรื่องนี้มานานแล้ว

"การประชุม UN AMBITION SUMMIT 2023 วันที่ 20 กันยาบน 2023 ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในความเป็น AMBITION เลขายูเอ็น บอกว่า ประเทศกำลังพัฒนา จะต้องลด Co2 ให้มากกว่านี้ ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาก็ทำอยู่แล้ว แต่จะต้องมีเงินมาช่วยเหลือประเทศเหล่านี้ ในเรื่องของAdaptation หรือการปรับตัว เพื่อให้Emission ลดให้ได้ตามเป้าในปี 2050 แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า จะทำอย่างไร ใครเป็นคนทำ และใครเป็นคนจ่าย จ่ายเท่าไหร่ " รศ.ดร.สุจริตกล่าว

สิ่งที่ยูเอ็น จะยกเหตุผลก็คือเรื่อง Damage and Loss situlation เพราะความสูญเสียจากผลกระทบจะเกิดขึ้นทั้งหมดทั้งโลก แล้วทำอย่างไรจะให้ทุกฝ่าย Win -Win ทั้งประเทศพัฒนาแล้ว ที่พอออกเงิน จะสามารถสร้างธุรกิจบางอย่างได้ มาขายประเทศกำลังพัฒนา โดยอาจจะเป็นในรูปแบบเงินกู้ ซึ่งมีศัพท์คำนี้เกิดขึ้น ว่า Green Technology Revolution เป็นการใช้เทคโนโลยีมาช่วย เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนามีรายได้ ผลิตสินค้่าที่ผลิตได้ก็เป็นกลุ่ม Green มาขายต่ออีกทีหนึ่ง ซึ่งการทำอย่างนี้ จะเป็นการช่วยลดการปล่อยคาร์บอนด์ ฯ และช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาไปในตัว


'คาร์บอนเครดิต' ตกยุค ไม่เวิร์ก

รศ.ดร.สุจริต กล่าวอีกว่า แนวคิดใหม่ของยูเอ็น ที่เน้นการลงมือทำจริง และสร้างความเป็นธรรมกับประเทศต่างๆ โดยให้มีการตั้งกองทุน Climate Fund เพราะวิธีการแก้ปัญหาจากคาร์บอนด์เดครดิ สรุปแล้วช่วยโลกไม่ได้จริง ระบบคาร์บอนเครดิต เป็นเกณฑ์เมื่อ 20 ปีที่แล้ว แต่เอาเข้าจริงการลดคาร์บอนด์ มันลดไม่ทัน แม้ประเทศรวยจะมีเงินซื้อ แต่ประเทศกำลังพัฒนาทำไม่ทัน จึงเลิกพูดเรื่องนี้กันแล้ว แม้แต่ในประเทศไทย หรือประเทศกำลังพัฒนา ตอนนี้ จะจ้องขายคาร์บอนเครดิต แต่ในความรู้สึกของประเทศพัฒนาแล้ว เขาเห็นว่ามันไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ จึงต้องเปลี่ยนโหมดคิดใหม่ จากที่รอปลูกป่าลดคาร์บอน ก็จะต้องปลูกป่า ปลูกผัก และใช้เทคโนโลยีกรีน ไปพร้อมๆกัน ซึ่งจะได้ 3เด้งในเวลาเดียวกัน สามารถลดคาร์บอน และประชาชนมีรายได้ไปด้วย ส่วนประเทศร่ำรวยก็ขายเทคโนโลยีกรีนได้

"เขากำลังหาโมเดล ที่แก้ได้ 3อย่างในเวลาเดียวกัน แต่เงินอุดหนุนจะมาจากข้างนอก ประเทศร่ำรวย กำลังทำวิจัยคิดเรื่องนี้ และคิดไปถึงว่าจะต้องทำเทคโนโลยีที่ประเทศกำลังพัฒนาสามารถซื้อเทคโนโลยีได้ด้วย เขารู้ว่าเทคโนโลยีจะต้องดีไซน์ ให้ถูกลงแต่ใช้งานได้ ซึ่งจะวิน-วินทุกฝ่าย เรื่องนี้เขาพูดกัน 5ปี10ปี เพราะสปีดโลกร้อนมันเร็ว แต่เดิมมีแผนที่เร็วกว่านี้ และเขาคิดว่าต้องขายGreen Technology แต่พอเกิดสงครามทำให้ทั้งหมดหยุดชะงัก เงินที่จะมาทำสนับสนุนโครงการพวกนี้ กลายเป็นเงินที่ต้องมาทำสงครามหมดเลย ประเทศผู้นำควรต้องลงทุนวิจัย ควรต้องลงทุนและคิดเทคโนโลยีกรีนมาขายเรา แต่ทำไม่ได้ "


ไทยต้องตั้ง' Climate Fund'

มองย้อนที่ประเทศไทยติด อันดับ 8ประเทศเปราะบางของโลก ที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รศ.ดร.สุจริต กล่าวว่า การที่ไทยติดกลุ่มประเทศได้รับผลกระทบสูง เพราะเราเป็นประเทศที่ใช้ทรัพยากรประเทศตัวเองเยอะไม่ว่าจะเป็นป่า หรือน้ำ เราฟันป่าไปจนหมด ปัจจุบันเราอยู่ในสภาพติดลบอยู่แล้ว เราเสียสละสิ่งนี้ หมายถึงทรัพยากร เพื่อพัฒนาประเทศ โดยมีความคิดที่ว่า เมื่อเรารวยขึ้นแล้ว เราจะหันกลับมาปลูกป่าใหม่ ทฤษฎีในอดีต เป็นอย่างนี้ ต้องพัฒนาไปก่อน พอมีเงินเเหลือค่อยกลับมาฟื้นฟู แต่คิดแบบนี้ เป็นไปไม่ได้แล้ว ต้องคิดเรื่อง Sustainable หรือความยั่งยืน ต้องคิดว่าต้องโตด้วย ต้องเขียวด้วย เราจึงพยายามบีบให้ธุรกิจต้องทำธุรกิจที่เป็น SCG หรือยั่งยืน ลงทุนแล้วต้องคิดถึงผลกระทบคนข้างเคียงด้วย ต่อไปจะมีคาร์บอนเดรดิตให้อุตสาหกรรมใหญ่ๆ ต้องทำสินค้ากรีน ไม่อย่างนั้นส่งออกไม่ได้

"การที่ยูเอ็นบีบให้ประเทศใหญ่ อย่าง จีน อเมริกา ต้องลดก๊าซเรือนกระจก แต่ถ้าจีน อเมริกายังทะเลาะกัน ก็ทำไม่ได้ ดังนั้น เราเองจึงต้องต้องเล่นเกมตามยูเอ็น ตามคอนเซ็ปต์ ท้ง Climate Action กับ Climate Justice เพื่อให้ทุกอย่างให้มันดีขึ้นบ้าง "


ยึดหลักรีน-เป็นธรรม

นักวิชาการสิ่งแวดล้อม บอกอีกว่า เรื่องปัญหาสภาพภูมิอากาศ เป็นเรื่องใหญ่ เราจึงต้องตั้งกรมจัดการการแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือกรมโลกร้อน มารองรับ หลักการทำงานของกรม จะต้องทำหน้าที่จดทะเบียน การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ของโรงงานต่างๆ โดยจะต้องมีการออกกฎหมายใหม่บังคับเอกชนส่งตัวเลขการปล่อยคาร์บอน ฯและต้องนำส่งตัวเลขนี้ให้ทางยูเอ็น ขณะเดียวกัน ก็ต้องมีการตั้งกองทุน Climate change Fund ซึ่งไอเดียนี้ก็จะต้องเกิดขึ้นได้จริง รัฐกับเอกชนร่วมบริหารจัดการ เพื่อให้การทำงานเร็วขึ้น กติกาของกองทุนคือ ให้ภาคธุรกิจ ส่งเงินเข้ากองทุน หลักการคิดจ่ายเงินเข้ากองทุน ส่วนใหญ่คิดจากเปอร์เซ็นต์จากผลกำไร หรือ เปอร์เซ็นต์ของก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อย โดยมาตรการนี้ อาจมีเรื่องภาษีมาช่วยเป็นแรงจูงใจ

"เราต้องล้อตามมาตรการของ ยูเอ็น ที่จะบีบให้ประเทศใหญ่ อย่าง จีน อเมริกา ต้องลดก๊าซเรือนกระจก ตามคอนเซ็ปต์ ท้ง Climate Action กับ Climate Justice เพื่อให้ทุกอย่างให้มันเกิดขึ้นได้จริง และเกิดความเป็นธรรมในสังคม เงินกองทุน Climate change Fund ที่ตั้งขึ้น จะมาดูแลเอสเอ็มอี และประชาชนที่ได้รับผลกระทบ แต่พอตั้งรัฐบาลช้า เรื่องแก้กฎหมายรายงานก็าซคาร์บอนและอื่นๆ คงต้องล่าช้าไปด้วย "

รศ.ดร.สุจริตบอกอีกว่า อีกหนึ่งในหน้าที่สำคัญของกรมโลกร้อน ก็คือจะต้องทำเรื่องการปรับตัวของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ รณรงค์เรื่องการรับรู้ของผู้คน และต้องนำมาปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ ซึ่งทั้งหมดอาจจะใช้เงินจากกองทุน Climate change Fund ดังกล่าว โดยเฉพาะการให้ประชาชนรับรู้และทำจริงเพื่อลดโลกร้อน ถ้าปล่อยให้รัฐบาลกลางทำอย่างเดียวมันช้า จะต้องอาศัยเงินบริจาคเข้ากองทุนจากบริษัทใหญ่ๆมาช่วย เพราะที่ผ่านมาแม้ชุมชนต่างๆ จะตื่นตัวที่ละลดคาร์บอน แต่พอขอเงินรัฐ รัฐไม่มีตังค์ ก็ไม่ทำ มันจึงไม่เกิดการตื่นตัวรับรู้ของผู้คน ส่วนทางด้านหลักการของกองทุน ที่ดีที่สุดจะต้องมีการจัดการที่เป็นกลาง ไม่ใช่การทำซีเอสอาร์เหมือนแต่ก่อน

"ผมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เราประชุมกันเมื่อวันก่อน เพื่อเตรียมการเรื่องการประชุมที่ยูเอ็นในเดือน กันยาบนและเดือนธันวาคม เป็นการเตรียมการว่าจากเดิมที่เราประกาศ ลดก๊าซเรือนกระจก 20-30 % ก็จะเป็น 30-40% แล้วนะ และอีก 10% ที่เราเพิ่ม เราต้องขอความช่วยเหลือเทคโนโลยี และอีกส่วนต้องขอความช่วยเหลือเรื่องการปรับตัวของประชาชน หรือ Adaptation เพราะในโลกจะพูดถึงการเตือน เรื่องโลกร้อนส่วนใหญ่ แต่เราคิดว่าต้องเอากรีนเทคโนโลยี เข้ามาใช้ในช่วงปรับตัว และถ้าเทคโนโลยีนี้ ทำให้เกิดการสร้างรายได้ไปในตัว เช่น ทำให้เกิดเครื่องมือเกษตรทันสมัย จากที่เกษตรกรบ้านเราได้แต่จ้องมองดูฟ้า ว่าควรปลูกหรือไม่ปลูก ก็จะมีการใช้เทคโนโลยีคำนวณ ฝนตกหรือไม่ และสมมุติว่าจะต้องซื้อเทคโนโลยีเยอรมัน ตัวละ 2แสนบาท ก็ควรซื้อในราคาตัวละ 5พัน เป็นต้น "

รศ.ดร.สริต สรุปอีกว่า ภาวะโลกเดือดมาจริงๆ ท้ายสุดแล้วหลักการ แอคชั่น กับจัสติก จะต้องเกิด โดยเกณฑ์จะต้องไปบีบประเทศที่รวยมาก ปล่อยก๊าวเรือนกระจกมาก ให้มาช่วย เพื่อให้เกิดวงจรการปรับตัวที่ยกระดับขึ้นเรื่อยๆ ในโลกใบนี้


"ปีนี้โลกร้อนมากๆ ยุโรป ลำบากมาก ตายเยอะ เกิดไฟไหม้ป่า ไม่มีน้ำใช้ คนตกใจ เห็นได้จากญี่ป่นภาคใต้เจอไต้ฝุ่นรุนแรงมาก ส่วนภาคเหนือกลับเกิดฮีทสโตรก เหมือนโลกมันเดือดปุ๊งๆๆๆ แล้ว จริงๆ "


https://www.thaipost.net/news-update/430418/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม