ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 29-12-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,422
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


2023 ปีที่ร้อนเร็วที่สุดของประวัติศาสตร์อาร์กติก ผลกระทบที่รุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ



จากรายงานของ Seung Ki Min ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์โพฮัง ประเทศเกาหลีใต้ ที่ได้เผยแพร่ในวารสารออนไลน์ Nature communications ว่า น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ ?เขตอาร์กติก? อาจหายไปหมดภายในปี 2030 นี้ เพราะผลจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำให้เกิดภาวะโลกร้อนจนสภาพอากาศในพื้นที่เขตอาร์กติกไม่สามารถสร้างน้ำแข็งเองได้ และถึงแม้มนุษย์จะหยุดปล่อยมลพิษทันที ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

ในปี 2023 นี้ หน่วยงานติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโคเปอร์นิคัสของสหภาพยุโรป C3S (Copernicus Climate Change Service) ได้เผยข้อมูลว่า ฤดูร้อนปี 2023 ทั่วโลกมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดเท่าที่เคยมีการบันทึกสถิติไว้ ช่วงเวลาสามเดือนระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมปี 2023 นี้ อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ระดับ 16.8 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าค่ามัธยฐานราว 0.66 องศาเซลเซียส และในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา อุนหภูมิความร้อนยังสร้างสถิติใหม่เป็นเดือนที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ และเป็นการทำลายสถิติใหม่สามเดือนติดต่อกัน หลังจากที่เดือนมิถุนายนและกรกฎาคมต่างทำสถิติเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดทั้งสองเดือน

สภาพอากาศที่ร้อนของปี 2023 ยังส่งผลให้เป็นหนึ่งในปีที่อุ่นที่สุดอันดับ 6 ของพื้นที่เขตอาร์กติก หรือ บริเวณขั้วโลกเหนือ และในการเก็บข้อมูลสภาพอากาศในปีนี้ ได้มีการเผยข้อมูลว่า ปีนี้ถือเป็นปีที่ร้อนที่สุดของขั้วโลกเหนือ นักวิทยาศาสตร์ประเมินกันว่าภูมิภาคนี้มีอุณหภูมิสูงขึ้นเร็วกว่าที่อื่นๆ ของโลกถึง 4 เท่า ทำให้ปีนี้กลายเป็นปีที่ร้อนเร็วที่สุดของประวัติศาสตร์อาร์กติกเท่าที่มีการบันทึกไว้ตั้งแต่ปี 1900

นักวิทยาศาสตร์ได้เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของอุณหภูมิในเขตขั้วโลกเหนือเป็นตัวบ่งชี้เบื้องต้น เมื่อดาวเคราะห์มีอุณหภูมิที่อุ่นขึ้น รายงาน Arctic Report Card ของ NOAA เผยว่าจุดร้อนที่สุดในเขตอาร์กติกนั้นแตกต่างกันไปตลอดทั้งปี โดยเมื่อต้นปีทะเลทางตอนเหนือของนอร์เวย์และรัสเซียสูงขึ้นถึง 5?C ซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีระหว่างปี 1991-2020 ขณะที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคนาดาก็ร้อนขึ้น 5?C เช่นเดียวกัน

อุณหภูมิที่สูงในช่วงฤดูร้อนจะทำให้หิมะและน้ำแข็งละลาย ข้อมูลดาวเทียมสำรวจชี้ให้เห็นว่า ปี 2023 ขอบเขตของน้ำแข็งปีในทะเลนั้นต่ำสุดเป็นอันดับ 6 นับตั้งแต่เริ่มบันทึกในปี 1979 และการละลายในปัจจุบันนั้นมีปริมาณที่มากกว่าการเกิดขึ้นใหม่

Rick Spinrad ผู้อำนวยการของ NOAA กล่าวว่า .... "อาร์กติกมีความเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของมนุษย์มากขึ้น แม้สิ่งที่เกิดขึ้นจะเกิดในพื้นที่ขั้วโลก แต่ก็สามารถส่งผลกระทบเป้นวงกว้างไปสู่พื้นที่อื่นๆ ทั่วโลกได้ ไม่จำกัดอยู่แค่ในอาร์กติกเท่านั้น"

นอกจากการละลายของน้ำแข็งแล้ว ความร้อนยังส่งผลให้พืชและดินในพื้นที่ถัดมาจากเขตขั้วโลกมีความแห้งมากขึ้น ส่งผลให้เกิดไฟป่าได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ในปีนี้ ประเทศแคนาดา หนึ่งในประเทศที่มีพื้นที่อยู่ในเขตอาร์กติก ถูกไฟป่าเผากว่า 25 ล้านไร่ ประชาชนหลายหมื่นคนต้องอพยพ อีกทั้งควันไฟป่าก็สร้างมลพิษลงไปถึงตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา กลายเป็นปีที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ฤดูไฟป่าของประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง :www.ethz.ch , www.npr.org FB : Environman


https://mgronline.com/science/detail/9660000116584

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม