ดูแบบคำตอบเดียว
  #14  
เก่า 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,403
Default

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


ตั้งคณะทำงานแก้ "กำแพงกันคลื่น-กัดเซาะชายฝั่ง" ภาคปช.เผยสัญญาณบวก

กรมทะเลสั่งตั้งคณะทำงานแก้ปัญหา "กำแพงกันคลื่น?กัดเซาะชายฝั่ง" เครือข่ายภาคประชาชนเผย "เป็นสัญญาณบวก?มิติใหม่" จากภาคราชการ




คำสั่งตั้งคณะทำงานฯ

"22 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา กรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่งได้มีคำสั่งเเต่งตั้ง "คณะทำงานขับเคลื่อนแนวทางและมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง" ประกอบด้วยผู้แทนจากทั้งภาครัฐและ ประชาสังคม?ประชาชน รวม 20 คน ทั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของ 3 ข้อเรียกร้องของกลุ่ม Beach for life เเละเครือข่ายประชาชนทวงคืนชายหาด เมื่อปลายปี 2565

ก่อนหน้านั้น รัฐบาลได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีให้มีการศึกษากรอบเเนวทางในการเเก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเชิงระบบของประเทศไทย และผลการศึกษาของคณะกรรมการได้สิ้นสุด ทำให้กรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่ง ซึ่งมีอำนาจหน้าที่โดยตรงได้มี "คำสั่งกรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่ง" เเต่งตั้งคณะทำงานฯ นี้ ลงนามโดยนายปิ่นสักส์ สุรัสวดี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทยของหน่วยงานต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นรูปธรรมสอดคล้องกับหลักวิชาการและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่

คณะทำงานดังกล่าว มีองค์ประกอบ ดังนี้

1 .นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ที่ปรึกษาคณะทำงาน

2. นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี ประธานคณะทำงาน

3. ผู้แทนสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี คณะทำงาน

4. ผู้แทนกรมเจ้าท่า คณะทำงาน

5. ผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง คณะทำงาน

6. ผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย คณะทำงาน

7. ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะทำงาน

8. ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น คณะทำงาน

9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง คณะทำงาน

10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนัสพงษ์ โภควนิช คณะทำงาน

11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะทำงาน

12. นายกิตติพจน์ เพิ่มพูล คณะทำงาน

13. นายอุกกฤต สตภูมินทร์ คณะทำงาน

14. นายนิรันดร์ ชัยมณี คณะทำงาน

15. นายประสิทธิ์ชัย หนูนวล คณะทำงาน

16. นายอภิศักดิ์ ทัศนี คณะทำงาน

17. ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง คณะทำงาน และเลขานุการ

18. ผู้อำนวยการส่วนวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมชายฝั่ง คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ

19. ผู้อำนวยการส่วนแผนงานบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ

20. นายอธิวัฒน์ เส้งคุ่ย คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ

โดยคณะทำงานชุดนี้ จะมีอำนาจหน้าที่ พิจารณา ปรับปรุง และแก้ไขแนวทางและกรอบการดำเนินงานเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งเชิงระบบ ตามผลการศึกษาของคณะทำงานกำหนดกรอบแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งภายใต้คณะกรรมการศึกษาแนวทางแก้ไขการกัดเซาะชายฝั่งในประเทศ

เเละ เสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อน แนวทางการจัดทำแผนงาน/โครงการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวปฏิบัติ" รายงานข่าวเปิดเผย


"เป็นความหวัง" Beach for life

"ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่ผ่านมานั้นเกิดจากการสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง เเละการรบกวนกระบวนการชายฝั่งเป็นหลัก เเละหน่วยงานใช้การเเก้ไขปัญหาด้วยการใช้โครงสร้าง ?กำเเพงกันคลื่น? รูปเเบบเดียวในการเเก้ไขปัญหาโดยปราศจากการวิเคราะห์ต้นต่อปัญหาบริบทของพื้นที่เเละความเป็นไปได้อื่นๆ

ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะสร้างกรอบการปฏิบัติงานของหน่วยงานในการเเก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่บูรณาการทุกหน่วยงานพิจารณาสภาพพื้นที่เเละกระบวนการชายฝั่งมองทางเลือกที่หลากหลายเเละเลือกทางเลือกที่กระทบชายหาดน้อยที่สุด

การตั้งคณะทำงานชุดนี้ จึงเป็นความหวังของการผลักดันวิธีคิดของการเเก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเเบบใหม่ไปสู่การปฏิบัติของหน่วยงานราชการ เเละประชาชนมีส่วนร่วมได้ เเน่นอนว่าคณะชุดนี้จะไม่เพียงเเค่ประชุมในห้องเเต่ต้องทำให้เกิดการเรียนรู้เเละออกเเบบร่วมกันของสาธารณะด้วย" อภิศักดิ์ ทัศนี ผู้ประสานงานกลุ่ม Beach for life ให้ความเห็นต่อคำสั่งฯ


"มิติใหม่การมีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย" มูลนิธิภาคใต้สีเขียว

"การตั้งคณะทำงานชุดนี้ขึ้นมาเป็นผลจากข้อเรียกร้องของภาคประชาชน ที่พยายามจะมีส่วนร่วมในการสร้างเเละออกเเบบกฎหมายระเบียบของทางราชการในการเเก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เพราะที่ผ่านมากรณีการเเก้ไขปัญหาด้วยกำเเพงกันคลื่นจนเกิดความเสียหายต่อชายหาดมากมายนั้น พิสูจน์เเล้วว่ากฎกติกาในการปฏิบัติราชการเพื่อการเเก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งนั้นมีปัญหา เเละหากยังคงเป็นเเบบเดิม ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทยจะวิกฤติมากกว่านี้

ดังนั้นภาคประชาชนที่ตื่นตัว เเละมีความรู้ทางวิชาการจึงต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างกติกาใหม่นี้ร่วมกัน รวมถึงสร้างกระบวนการเรียนรู้ทางสาธารณะที่ทำให้ภาคประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการเสนอ ออกเเบบกฎหมายเเละนโยบายได้ ผมคิดว่าเรื่องชายหาดคือรูปธรรมที่น่าจับตามองของภาคประชาชนในการกำหนดนโยบายสาธารณะ" ประสิทธิ์ชัย หนูนวล มูลนิธิภาคใต้สีเขียว หนึ่งในคณะทำงานฯ ให้ความเห็น


https://greennews.agency/?p=37639

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม