ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,426
Default

ขอบคุณข่าวจาก SpringNews


ดร.เสรี คาดอุณหภูมิที่ร้อนแบบเดือดๆ ลดช่วงกลางปี จ่อเผชิญพายุโซนร้อน 18 ลูก



ดร.เสรี คาดไทยจะผ่านความร้อนแบบเดือดๆ ไปตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 ของเดือน พ.ค. จนเข้าเดือน มิ.ย. จะเริ่มดีขึ้น การเปลี่ยนผ่านจาก เอลนีโญไปสู่ลานีญา กำลังเกิดขึ้นช่วงกลางปี บางพื้นที่ฝนตกหนัก ทำให้เกิดน้ำท่วมรอการระบาย

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ประเด็น ผ่านร้อนปีนี้จนถึงต้นสัปดาห์หน้าค่อยว่ากันปีหน้าจะเป็นอย่างไร ระบุว่า จากรูปอุณหภูมิเฉลี่ยรายสัปดาห์จะเห็นเฉดสีชัดเจนว่า เรากำลังจะผ่านความร้อนแบบเดือดๆ ไปตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม จนเข้าเดือนมิถุนายน จะเริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ แต่อย่าลืมว่าโลกยังคงร้อนขึ้นอย่างไม่มีขีดจำกัด (ขึ้นกับการใช้พลังงานจากฟอสซิลเป็นสำคัญ)

จากรายงานล่าสุด กลุ่มประเทศยุโรปกลุ่มเดียวที่มีการปล่อย CO2 ลดลง ประเทศจีน อินเดีย และประเทศในกลุ่มทวีปเอเชีย รวมทั้งทวีปอเมริกาเหนือ (สหรัฐ และแคนาดา) ยังคงใช้พลังงาน และปลดปล่อย CO2 เพิ่มขึ้น 1-5% ในปี 2565 (แทนที่จะต้องลดลง 9% ต่อปีเพื่อหลีกเลี่ยง 1.5oC ตามข้อตกลงปารีส) แม้หนทางจะคับแคบ แต่ก็ยังมีความหวังน้อยๆอยู่

การเปลี่ยนผ่านจาก El Nino ไปสู่ La Nina กำลังเกิดขึ้นช่วงกลางปีนี้ และคาดว่าปลายปีจะเข้าสู่ La Nina (ระดับปานกลาง) อุณหภูมิที่ร้อนแรงตั้งแต่ต้นปีจึงจะลดลงตั้งแต่กลางปีไปถึงปลายปี แต่ความหวังเรื่องของฝนยังคงต้องติดตามสถานการณ์ต่อเนื่อง

การคาดการณ์ล่วงหน้าปริมาณฝนช่วงต้นฝน (เม.ย.-พ.ค.) ทุกแบบจำลองให้ผลสอดคล้องกันว่าไม่ค่อยดีนัก แต่เมื่อเข้าสู่กลางฤดู ถึงปลายฤดู ปริมาณฝนจะเริ่มดีขึ้น โดยเฉพาะตั้งแต่กลางเดือนกรกฏาคมเป็นต้นไปบริเวณ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนไม่ค่อยได้ฝนมากนัก

เกษตรกรควรวางแผนความเสี่ยงโดยการเลื่อนระยะเวลาปลูกข้าวนาปีไปจนถึงกลางเดือนกรกฏาคม การเปลี่ยนผ่านไปสู่ปรากฏการณ์ La Nina ช่วงปลายปี อาจจะทำให้มีบางพื้นที่ฝนตกหนัก (ในเวลาจำกัด) ทำให้เกิดน้ำท่วมรอการระบาย หรือพื้นที่ที่อยู่ในเส้นทางพายุจร ซึ่งคาดการณ์ว่าระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม จะมีจำนวนพายุโซนร้อนเกิดขึ้นประมาณ 18 จากเฉลี่ย 20 ลูก และพัฒนาเป็นพายุไต้ฝุ่นประมาณ 10 จาก เฉลี่ย 13 ลูก

อนึ่งการคาดการณ์ฝนล่วงหน้า มีความไม่แน่นอนจึงต้องติดตามสถานการณ์ต่อเนื่อง พร้อมบริหารความเสี่ยงด้วยครับ หากมีเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงที่จะเกิดขึ้น และอาจจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ใด ทาง Futuretales LAB, MQDC จะแจ้งให้ทราบต่อไป เพราะเราห่วงใยทุกชีชีวิตบนโลกใบนี้


https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/849867

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม