ดูแบบคำตอบเดียว
  #7  
เก่า 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,434
Default

ขอบคุณข่าวจาก SpringNews


ตะลึง! สัมผัส "ไมโครพลาสติก" ทำสารเคมีที่เป็นพิษเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้


SHORT CUT

- สารเคมีอันตรายในวัสดุกันไฟ และสารพลาสติก สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้จากการสัมผัสไมโครพลาสติก อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์

- การทดลองพบว่าสารเคมีจากไมโครพลาสติกถูกดูดซึมโดยผิวหนังได้ถึง 8% โดยผันแปรตามความชุ่มชื้นของผิว

- หากสัมผัสต่อเนื่องจะสะสมและอันตราย แม้หลายประเทศจะมีมาตรการควบคุม แต่สารเคมีก็ยังตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อม




งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม พบการดูดซับสารเคมีที่เป็นพิษเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ผ่านทางผิวหนัง จากการ "สัมผัสไมโครพลาสติก" หวั่นส่งผลกระทบต่อสุขภาพหากสะสมในระยะยาว

งานวิจัยชิ้นนี้จากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ถือเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกที่แสดงให้เห็นว่า สารเคมีอันตรายอย่างสารหน่วงการติดไฟและสารเคมีอื่นๆ ที่ใช้ในการผลิตพลาสติก สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ผ่านการสัมผัสกับไมโครพลาสติก ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากสารเคมีที่ยังคงมีอยู่ในสิ่งของต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

ผลการศึกษาพบว่าเมื่อสารเคมีเหล่านี้ฝังตัวอยู่ในไมโครพลาสติก จะสามารถซึมเข้าสู่เหงื่อของมนุษย์ ทะลุผ่านผิวหนัง และเข้าสู่กระแสเลือดได้ในที่สุด ซึ่งเป็นเส้นทางการได้รับสารพิษที่ไม่เคยมีการค้นพบมาก่อน การค้นพบนี้จึงก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้น หากมีการสะสมของสารอันตรายเหล่านี้ในร่างกายเป็นเวลานาน


ทำความรู้จัก ไมโครพลาสติก คืออะไร

ไมโครพลาสติก (Microplastics) คือ ชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร ไมโครพลาสติกเกิดขึ้นได้จาก 2 แหล่งหลักๆ คือ

1. ไมโครพลาสติกปฐมภูมิ (Primary Microplastics) เป็นไมโครพลาสติกที่ผลิตขึ้นมาให้มีขนาดเล็กตั้งแต่แรก เช่น เม็ดพลาสติกที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก หรือไมโครบีดส์ที่ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ขัดผิว

2. ไมโครพลาสติกทุติยภูมิ (Secondary Microplastics) เกิดจากการแตกหักหรือสึกหรอของผลิตภัณฑ์พลาสติกขนาดใหญ่ เช่น ถุงพลาสติก ขวดน้ำพลาสติก เส้นใยสังเคราะห์ และเศษชิ้นส่วนจากยางรถยนต์

ไมโครพลาสติกเหล่านี้สามารถแพร่กระจายเข้าสู่สิ่งแวดล้อมได้ง่าย ทั้งในแหล่งน้ำ ดิน อากาศ และห่วงโซ่อาหาร จนกลายเป็นปัญหามลพิษที่น่ากังวล เพราะจากงานวิจัยพบว่าสิ่งมีชีวิตหลายชนิดกินไมโครพลาสติกเข้าไป ซึ่งนอกจากจะส่งผลต่อระบบนิเวศแล้ว ยังอาจเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมีความกังวลว่าไมโครพลาสติกอาจดูดซับสารพิษต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม แล้วนำพาสารอันตรายเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกายสิ่งมีชีวิตรวมถึงมนุษย์ได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว จึงเป็นประเด็นที่นักวิทยาศาสตร์กำลังให้ความสนใจศึกษากันมากในปัจจุบัน


"ไมโครพลาสติก" อันตรายร้ายที่แทรกซึม

ดร. Ovoidroye Abafe จากมหาวิทยาลัยบรูเนล ผู้ร่วมงานวิจัยนี้ขณะที่อยู่ที่มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ได้ชี้ให้เห็นว่าไมโครพลาสติกที่มีอยู่ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม สามารถเป็นตัวนำพาหรือ "พาหะ" ของสารเคมีอันตรายเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ โดยสารเคมีเหล่านี้จะซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือด และสะสมอยู่ในร่างกายอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนอาจก่อให้เกิดอันตรายได้หากได้รับสัมผัสอย่างต่อเนื่อง

แม้หลายประเทศจะมีมาตรการควบคุมหรือห้ามใช้สารเคมีบางชนิดที่พบว่าส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ทำให้เกิดความเสียหายต่อตับและระบบประสาท เพิ่มความเสี่ยงของมะเร็ง และส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ แต่สารพิษหลายชนิดที่ใช้เป็นสารหน่วงการติดไฟและสารพลาสติก ก็ยังคงมีอยู่ในสิ่งแวดล้อม โดยตกค้างอยู่ในผลิตภัณฑ์เก่าๆ เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ พรม และวัสดุก่อสร้าง ซึ่งอาจทำให้มนุษย์สัมผัสสารเคมีเหล่านี้ได้ โดยเฉพาะผ่านไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อม


วิธีวิจัย การดูดซึมของไมโครพลาสติก

ในการศึกษาวิจัยนี้ ทีมนักวิจัยได้ใช้แบบจำลองผิวหนังมนุษย์ 3 มิตินวัตกรรมใหม่ได้ถูกนำมาใช้เป็นทางเลือก แทนที่จะใช้สัตว์ทดลองหรือเนื้อเยื่อมนุษย์แบบดั้งเดิม โดยนำแบบจำลองไปสัมผัสกับไมโครพลาสติกที่มีสารโพลีโบรมิเนเต็ด ไดฟีนิล อีเทอร์ (PBDE) ซึ่งเป็นสารหน่วงไฟที่พบได้ทั่วไป เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ก่อนจะวัดผลการดูดซึมสารเคมี

"ผลการทดลองพบว่า ผิวหนังสามารถดูดซึมสารเคมีที่มีอยู่ในไมโครพลาสติกได้สูงถึง 8% โดยระดับการดูดซึมจะแปรผันตามความชุ่มชื้นของผิวหนัง กล่าวคือ ผิวที่มีความชุ่มชื้นมากกว่าจะดูดซึมสารเคมีได้ในอัตราที่สูงกว่า"

ดร. Mohamed Abdallah รองศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ระบุว่าการค้นพบนี้ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่จะช่วยให้หน่วยงานกำกับดูแลและผู้กำหนดนโยบายปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับไมโครพลาสติก รวมถึงปกป้องสุขภาพของประชาชนจากการสัมผัสสารอันตราย

งานวิจัยนี้ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดการกับแหล่งกำเนิดและผลกระทบของไมโครพลาสติก ซึ่งกลายเป็นสารปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมที่พบได้ทั่วทุกมุมโลก แม้กระทั่งในบริเวณขั้วโลก

ที่มา
Innovation News Network
PHOTO : REUTERS



https://www.springnews.co.th/keep-th...ronment/849935

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม