ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 23-11-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


วิกฤตโลก? วันที่ขั้วโลกเหนือ..ไม่เหลือน้ำแข็ง



อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ ถนนโยธี บรรดาผู้สนใจเรื่องของ "วิกฤตโลก" ไปรวมตัวกันอย่างคับคั่ง เพราะเป็นงานเสวนาเรื่อง "วิกฤตโลก เมื่อขั้วโลกเหนือไม่เหลือน้ำแข็ง" โดยมี ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นวิทยากร

พิธีกรในการเสวนาเริ่มต้นบรรยากาศด้วยเหตุการณ์ข่าว "ทากทะเล" ที่ขึ้นมาตายจำนวนมาก ที่จังหวัดชุมพร และสันนิษฐานว่าเป็นเพราะการเปลี่ยน แปลงกระแสน้ำวนของน้ำทะเล จากนั้นโยนคำถามให้อาจารย์อานนท์ ร่ายยาว

ปัจจุบัน ดร.อานนท์เป็นผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านภัยพิบัติและการ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวอธิบาย ว่าเคยไปเห็นหนอนทะเลที่หาดบางแสน เกิดขึ้นบริเวณชายฝั่ง ซึ่งมันอยู่ดีๆ ก็มาก็เกิดขึ้น แล้วมีคนพูดเกี่ยวกับกระแสน้ำ หรือสัตว์พวกนี้ว่าเป็นสัตว์หน้าดิน เดินได้เอง ไม่ต้องให้กระแสน้ำพามา เพราะไม่ใช่เป็นแพลงตอน ฉะนั้น การที่มันมารวมกันที่ใดที่หนึ่ง ความคิดเห็นส่วนตัวแล้วน่าจะเป็นอยู่ในส่วนของการสืบพันธุ์

"เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ เพราะผมเป็นนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล ความรู้ทางด้านชีววิทยาก็มีไม่ค่อยมาก" เสียงอาจารย์ออกตัวก่อนบรรยายต่อ ว่ามีสัตว์ทะเลหลายชนิดเวลาสืบพันธุ์จะต้องมาอยู่ด้วยกัน เราอาจจะไม่ได้สังเกตว่าสัตว์ขึ้นมาสืบพันธุ์เสร็จ มันก็จะตาย พอตายมันเดินไม่ได้ถูกคลื่นซัดขึ้นมา เป็นเรื่องปกติ

โดยปกติสัตว์ทะเลจะสืบพันธุ์ตรงกับวันพระจันทร์เต็มดวง

" ผมเคยเห็นพวกปลาหมึกหรือหนอนทะเลหลายชนิด มีวงรอบการสืบพันธุ์ของมันตรงกับภาพของพระจันทร์เต็มดวง ดังนั้นจึงไม่น่าใช่เรื่องกระแสน้ำที่ปกติในช่วงเวลาวันใดวันหนึ่ง" อาจารย์อานนท์กล่าว

เมื่อถามถึงเรื่องของ "วิกฤตโลก ในวันที่ขั้วโลกเหนือไม่เหลือน้ำแข็ง"

ดร. อานนท์กล่าวว่า ประเด็นนี้มีที่มาที่ไป โดย มีองค์กรเอกชนทางด้านวิชาการ ได้แถลงเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2552 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ว่าได้ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และ ได้ข้อมูลนี้มา อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจาก "กองทุนสัตว์ป่าโลก" ด้วย


(ขวาบน) "ทากทะเล"

" ที่จริงแล้วเขาบอกว่าอีก 20 ปีถึงจะไม่มีน้ำแข็ง และฤดูร้อนก็หายไปอย่างสิ้นเชิง ผมว่าจะเริ่มเห็น ได้เป็นบางปี ในระยะเวลาประมาณ 10 ปีข้างหน้า แต่พอข่าวส่งบอกกันปากต่อปากมาเรื่อยๆ 10 ปี จะไม่มีน้ำแข็งแล้ว แต่ว่าอย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มันเป็นข้อมูลทางวิชาการ เป็นเรื่องที่ว่ากันแล้วมีการติดตามมาเป็นระยะยาว หลายประเทศค่อนข้างเป็นห่วง"

จากนั้น ดร.อานนท์ให้ดูภาพของน้ำแข็ง เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552 เป็นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต มองจากขั้วโลกเหนือลงมาเป็นจุดอยู่ตรงกลางเล็กๆ ขั้วโลกเหนือไม่มีแผ่นดิน อยู่กลางมหาสมุทรอาร์กติกถูกล้อมรอบด้วยแผ่นดิน พร้อมอธิบายว่า จะเห็นว่าตอนนี้น้ำแข็งโตขึ้นมาเต็มเหลือส่วนอีกเล็กน้อยที่ยังไม่เต็ม ในขณะที่น้อยที่สุดในปีนี้อยู่ที่วันที่ 16 กันยายน 2552 จะเห็นว่ามีน้ำแข็งอยู่เฉพาะส่วนเหนือของเกาะกรีนแลนด์ด้านบน

" ปกติฤดูร้อนในอดีตน้ำแข็งจะหดลงมาเล็กน้อย เพราะฉะนั้นน้ำแข็งฤดูร้อนมันหายไปจริง ตอนนี้เหลือประมาณ เมื่อเทียบกับของมหาสมุทรอาร์กติกทั้งหมดอยู่ที่ประมาณแค่ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ของพื้นที่มหาสมุทรอาร์กติกเท่านั้นเอง เมื่อก่อนมันร้อนจะลงมาอยู่ที่ประมาณ 50-60% ของมหาสมุทรอาร์กติก ตอนนี้ลงมาที่ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ มันหายไปมาก"

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่งทำให้มันยิ่งร้อนได้นานขึ้นกว่าเดิม เสียงบอกถึงสาเหตุจาก ดร.อานนท์

" ปลายฤดูตั้งแต่เดือนมิถุนายนไปถึงธันวาคม 2551 น้ำแข็งจะอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านตารางกิโล เมตร ในอดีตฤดูร้อนจะหดลงมาเหลืออยู่ที่ประมาณ 7 ล้านตารางกิโลเมตร แต่ในปัจจุบันปี 2552 หดลงมาเหลือ 5 ล้านตารางกิโลเมตร แต่ยังไม่ใช่น้อยที่สุด เพราะในปี พ.ศ.2550 เป็นปีที่น้ำแข็งหายไปมากที่สุด หดลงเหลือแค่ประมาณ 4 ล้านตารางกิโลเมตร"

เสียง ดร.อานนท์กล่าวต่อไปอีก ว่า ณ วันนี้แค่ประมาณเดือนเศษๆ น้ำแข็งเพิ่มขึ้น 5-8 ล้านตารางกิโลเมตร เพราะน้ำแข็งพอเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวมันเกิดเร็ว เพราะว่ามันเย็นมาก และน้ำแข็งมันเกิดจากการเย็นตัวของน้ำทะเลโดยตรง เพราะฉะนั้นก็เหมือนกับเอาน้ำใส่แก้วไปใส่ในตู้ฟรีซเซอร์ มันก็จะเริ่มแข็ง แต่ไม่มีผลอะไรกับระดับน้ำทะเลมาก เพราะไม่ได้เติมน้ำจากด้านนอกเข้ามา


ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

" แต่ที่น่าสนใจ คือเราดูจากแนวโน้ม ปี 2552 ปีเดียวคงไม่ได้บอกอะไร และสิ่งที่อยากดูตอนนี้คืออายุเฉลี่ยของน้ำแข็ง ในอดีตอายุของน้ำแข็งจะนาน พวกที่มีอายุเก่ากว่า 2 ปี เป็นน้ำแข็งที่อยู่ถาวร แต่ในปัจจุบันส่วนที่เป็นสีเขียวเหลือน้อยมาก แสดงว่าน้ำแข็งเดี๋ยวนี้มันวูบวาบมาก หน้าร้อนก็หายไปมาก หน้าหนาวคืนกลับขึ้นมา เพราะฉะนั้นมันทำให้การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล แกว่งมาก ระบบนิเวศอะไรต่างๆที่อยู่ในบริเวณนั้นจะต้องมีการปรับให้รับกับสภาพแบบ ใหม่ๆ นี้ให้ดีขึ้น"

เพราะฉะนั้น ปี 2552 นี้ น้ำแข็งไม่ได้ละลายมากเหมือนปี 2550

แต่ที่น่ากังวล คือเรื่องของชั้นน้ำแข็งถาวรในเขตทุนดรา หรือทุ่งหิมะแถบขั้วโลก ชายฝั่งบริเวณนี้ปัจจุบันเป็นเขตทุนดรา คือเขตที่มีต้นมอสมีหญ้าขึ้นบ้างนิดหน่อย ไม่มีต้นไม้ใหญ่ บริเวณชั้นตรงนี้ในฤดูร้อนจะไม่มีน้ำแข็งปกคลุม แต่พอฤดูหนาวจะมีน้ำแข็งคลุม พอฤดูร้อนชั้นที่อยู่ใต้ดินลึกลงไปมันมีชั้นน้ำแข็งถาวร แต่ระยะหลังบริเวณนี้ขุดลงไปประมาณ 1 เมตรจะเป็นน้ำแข็ง ส่วนด้านบนจะเป็นดิน ชั้นน้ำแข็งสิ่งที่สำคัญคือมันทำหน้าที่เหมือนกับเป็นตัวล็อคก๊าซมีเทนที่ อยู่ใต้ดิน ก๊าซมีเทนอยู่มานานเป็นร้อยเป็นพันปี การเกิดมีเทนมันมีน้ำแข็งคลุมเอาไว้ไม่แพร่ ขึ้นมาด้านบน พอไม่แพร่ก็สะสมอยู่ด้านล่างเรื่อยๆ หากมหาสมุทรอาร์กติกร้อนขึ้นๆ โดยเฉพาะฤดูร้อน ชั้นน้ำแข็งถาวรตรงนี้อาจจะละลายหายไป ฉะนั้น ความสามารถในการเก็บมีเทนไว้จะน้อยลง

...มันอาจจะถึงจุดหนึ่งมีเทน จำนวนมหาศาล จำนวนเท่ากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มนุษย์ปล่อยประมาณ 20 ปี แต่ถ้ามันพรวดออกมาในปีเดียวจะทำเหมือนกับว่าเราต้องปล่อยก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ถึงเรือนกระจกถึง 20 ปี ก๊าซมีเทนจำนวนเท่าๆ กันกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มันทำให้โลกร้อนมากกว่า ประมาณ 21 เท่า เพราะว่าการเก็บความร้อนของก๊าซมีเทนดีกว่าก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์

ฉะนั้น มีเทนถึงแม้จะปล่อยออกมาปริมาณน้อยก็สามารถทำให้โลกร้อนได้รุนแรงมากกว่า และถ้าเกิดมาจริงจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแบบเฉียบพลัน ซึ่งค่อนข้างน่าวิตก

ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศเปลี่ยน แปลงอย่างต่อเนื่อง ปีประมาณ 1% โดยประมาณ ดังนั้น เราจะบอกว่ารอได้อีก 20-30 ปีถึงจะวิกฤต

ดร.อานนท์ระบุว่า นี่คือการคาดการณ์ในอนาคต

" ในเขตพื้นราบของทั้งโลก ซึ่งเคยมีพื้นที่น้ำแข็งอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านตารางกิโลเมตร ในปัจจุบันนี้มันหายไปแล้วจริงๆ เหลือแค่ประมาณ 10 ล้านตารางกิโลเมตร คือหายไปแล้ว 20% ตั้งแต่หนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา อีกหนึ่งร้อยปีข้างหน้า ถ้ามนุษย์ไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังปล่อยไปเรื่อยๆ โลกก็ร้อนขึ้นมาก"

ดร.อานนท์กล่าวแบบฟันธงว่าโลกอนาคตอย่างไรมัน เปลี่ยนแน่ๆ ไม่มีใครมองว่าจะกลับไปเหมือนเดิม อยู่ที่ว่าเปลี่ยนมากเปลี่ยนน้อยแล้วเราปรับตัวกับมันได้ทันหรือไม่

การเสวนาขยายความต่อไป ว่ามีคนสนใจมาก ถ้าแถบมหาสมุทรอาร์กติก ซึ่งอยู่ใกล้กับแคนาดา อลาสกา รัสเซีย หากแถบนั้นอุ่นขึ้นต้นไม้ต่างๆ จะเปลี่ยนไป เขตทุนดราที่มีอยู่โดยรอบจะหายไป ในอนาคตอีกประมาณ 100 ปีข้างหน้า ชั้นน้ำแข็งถาวร (permafrost) จะเหลืออยู่แค่นิดหน่อยเท่านั้น

ส่วนในเรื่องของระบบนิเวศ มีคนพูดถึง "หมีขาว" เพราะหมีขาวอาศัยอยู่บนน้ำแข็ง ถ้าน้ำแข็งเล็กลงไป หมีขาวคงจะเดือดร้อน โอกาสที่หมีขาวจะสูญพันธุ์อย่างสิ้นเชิง ยังไม่ใช่ แต่จำนวนประชากรคงลดลง ไปมาก

อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับว่าบริเวณตรงนั้นเป็นป่ามากขึ้น ทำให้มนุษย์รุกตามขึ้นไป อาจไปรบกวนระบบนิเวศของมัน

" การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศไม่ใช่ด้วยลำพังของตัวมันเอง แต่มีเรื่องอื่นเชื่อมโยงกันมากมาย ฉะนั้น ต้องมองในภาพรวม ไม่ใช่มองเฉพาะเรื่องกายภาพอย่างเดียวเท่านั้น"

บทสรุปจาก ดร.อานนท์ ที่เป็นการตอบคำถาม "วิกฤตโลก"



จาก : มติชน วันที่ 23 พฤศจิกายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม