ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 02-04-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,107
Default


ลานีญา


ช่วงนี้ประเทศไทยต้องเผชิญกับฝนตกหนักและอากาศหนาวเย็นผิดธรรมชาติทั้งๆ ที่เป็นฤดูร้อน

นักวิชาการหลายฝ่ายจึงวิเคราะห์ว่าเกิดจากปรากฏการณ์ลานิญ่า ซึ่งทำให้สภาพอากาศของไทยแปรปรวนมาตั้งแต่เดือนก.ค. 2553 และจะสิ้นสุดลงในเดือนพ.ค. 2554

"ลานิญ่า" เป็นคำดั้งเดิมจากภาษาสเปน มีความหมายว่า "เด็กผู้หญิง" จัดเป็นปรากฏการณ์ตรงกันข้ามกับ"เอลนิโญ่" เกิดจากความผกผันของกระแสอากาศโลกบริเวณเส้นศูนย์สูตร เหนือมหาสมุทรแปซิฟิก

เมื่อเกิดลานิญ่า อุณหภูมิบนผิวน้ำทะเลมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกจะต่ำลงอย่างผิดปกติราว 3-5 องศาเซลเซียล ทำให้ความดันฝั่งตะวันตกต่ำกว่าความดันฝั่งตะวันออก เกิดลมพายุพัดเสริมลมสินค้าทิศตะวันออกพัดพาน้ำและอากาศที่หนาวเย็นไปยังทิศตะวันตก

ด้วยระดับน้ำทะเลซีกตะวันตกที่เพิ่มสูงกว่าสภาวะปกติ ประกอบกับลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้ที่หอบน้ำฝนพัดผ่านมา ทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องเผชิญกับฝนตกหนัก น้ำท่วมและหน้าดินพังทลายอยู่บ่อยครั้ง

แต่ข้อดีของลานิญ่า คือ น้ำเย็นใต้มหาสมุทรจะยกตัวขึ้นแทนที่กระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวน้ำ ทำให้เกิดธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ ฝูงปลาชุกชุม

ปรากฏการณ์ลานิญ่า เกิดขึ้นได้ทุก 2-3 ปี และปกติจะเกิดขึ้นนานประมาณ 9-12 เดือน แต่บางครั้งอาจปรากฏอยู่ได้นานถึง 2 ปี ซึ่งทำให้ประเทศ อินโดนีเซีย ออสเตรเลียตอนเหนือ ฟิลิปปินส์ อินเดียตอนเหนือ ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา และด้านตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มีแนวโน้มที่จะมีฝนมากและมีน้ำท่วม

ขณะที่บริเวณตะวันออกของแอฟริกาและตอนใต้ของอเมริกาใต้มีฝนน้อยและเสี่ยงต่อการเกิดความแห้งแล้ง

กล่าวง่ายๆ เอลนิโญ่ ทำให้เกิดฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ขณะที่ ลานิญ่า ทำให้เกิดความแห้งแล้งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเกิดฝนตกหนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เป็นปรากฏการณ์คู่ขนานที่ต้องเกิดสลับกันไปเพื่อปรับสมดุลของโลก

ผลกระทบต่อประเทศไทย จากข้อมูลปริมาณฝนและอุณหภูมิรายเดือนตั้งแต่ปี 2494-2543 ของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ลานิญ่า ทำให้ปริมาณฝนของประเทศไทยส่วนใหญ่สูงกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝนเป็นระยะที่ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนที่สุด และทำให้อุณหภูมิต่ำกว่าปกติทุกฤดู ส่งผลให้เกิดความเหน็บหนาวไปทุกภูมิภาค

สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เป็นห่วงคือตั้งแต่ปี 2513 อัตราการเกิดปรากฏการณ์ เอลนิโญ่ และ ลานิญ่า เกิดความผันผวนอย่างรุนแรง จากปกติที่จะเกิดสลับกันในจำนวนครั้งที่ใกล้เคียงกัน ระยะหลัง เอลนีโญ่ เกิดขึ้นบ่อยครั้งและมีแอมพลิจูดที่สูงขึ้นกว่าปกติ เช่น ในช่วงเวลาหนึ่ง เอลนิโญ่ เกิดขึ้นถึง 9 ครั้งในรอบ 2.2 ปี ซึ่งในอดีตปกติจะเกิดขึ้น 1.5 ครั้งต่อปี ขณะที่ ลานิญ่า เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว

หมายความว่าคลื่นแห่งความผันผวนของความดันบรรยากาศในซีกโลกภาคใต้ซึ่งก่อให้เกิดความชุ่มชื้นและลานิญ่า กำลังหายไป โลกจึงมีแต่ความร้อนรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

ปรากฏการณ์ที่แปรปรวนนี้มีความรุนแรงมากขึ้นตั้งแต่ปี 2542 ซึ่งอาจมีผลมาจากสภาวะโลกร้อนเป็นตัวเร่งด้วยก็ได้




จาก ................... ข่าวสด คอลัมน์ คอลัมน์ที่13 วันที่ 2 เมษายน 2544
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม