ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 08-08-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,318
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


นักวิจัยระบุมหาสมุทรลึกอุดมไปด้วยสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่ไม่รู้จัก



พื้นที่กว้างใหญ่ด้านล่างของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งถูกจัดสรรไว้สำหรับการขุดแร่ใต้ทะเลลึก ที่ทอดยาว ระหว่างหมู่เกาะฮาวาย ของสหรัฐอเมริกา และเม็กซิโก โดยเรียกว่าพื้นที่สำหรับสำรวจแหล่งแร่ใต้ทะเล หรือ Clarion?Clipperton Zone (CCZ) เป็นที่ถกเถียงกันว่าเป็นที่อยู่ของสัตว์หลายพันชนิดที่นักวิทยาศาสตร์ไม่รู้จัก และจากการศึกษาใหม่หลายชิ้นก่อนหน้านี้ ระบุว่าสิ่งมีชีวิตที่เบื้องล่างของมหาสมุทรมีความซับซ้อนกว่าที่เข้าใจ

การสำรวจแหล่งแร่ใต้ทะเลดังกล่าวก็เพื่อหา "ตุ่มก้อน" มีลักษณะคล้ายหินที่กระจายอยู่ทั่วพื้นใต้ทะเล เชื่อกันว่าตุ่มก้อนพวกนี้จะมีแร่ธาตุ ที่ใช้ในเทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาด เช่น เอาไปทำแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ทว่าการสำรวจก็ยังพบแต่สัตว์ทะเลหลายชนิด เช่น ปลิงทะเลยักษ์ กุ้งขายาวเป็นแผง ไปจนถึงหนอนทะเลตัวเล็กๆ สัตว์พวกครัสเตเชียนหรือพวกมีเปลือกหุ้มตัวลำตัวเป็นปล้อง รวมถึงหอยชนิดต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในโคลน เมื่อเร็วๆนี้มีกลุ่มนักชีววิทยาทางทะเลเผยแพร่งานวิจัยในวารสาร Nature Ecology and Evolution ถึงการทำแผนที่การกระจายพันธุ์ของสัตว์ในพื้นที่ CCZ ระบุว่าพบกลุ่มชุมชนสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนกว่าที่เคยคิดไว้ นักวิจัยศูนย์สมุทรศาสตร์แห่งชาติของอังกฤษก็ตอกย้ำว่าทุกครั้งที่ดำน้ำครั้งใหม่ ก็ได้เห็นสิ่งใหม่ๆตลอดเวลา

นักวิจัยที่รณรงค์ในเรื่องนี้ระบุว่า ความหลากหลายทางชีวภาพเหล่านี้เป็นสมบัติที่แท้จริงของใต้ทะเลลึก และเตือนว่าการทำเหมืองจะเป็นภัยคุกคามสำคัญ โดยเฉพาะจะรบกวนตะกอนจำนวนมากที่เคยอยู่อย่างสงบ ขณะที่ "ตุ่มก้อน" ที่เชื่อว่าเป็นแหล่งแร่นั้น น่าจะเป็นที่อยู่อาศัยเฉพาะตัวของสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อนก็เป็นได้.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2715182


******************************************************************************************************


ไทยเดินหน้า "เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชชายเลน" ใกล้สูญพันธุ์ สู่การอนุรักษ์อย่างยั่งยืน



องค์การสหประชาชาติ ได้ออกเตือนการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศบนโลก ขณะที่อุณหภูมิมหาสมุทรสูงสุดเป็นประวัติการณ์จากผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้น้ำทะเล ร้อนขึ้นและกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล

ขณะที่ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ หรือไอยูซีเอ็น (IUCN) ได้ประกาศพืชป่าชายเลนที่มีความเสี่ยงในการสูญพันธุ์หรือ IUCN Red List จำนวน 16 ชนิด คือ หงอนไก่ใบเล็ก พังกา-ถั่วขาว ใบพาย โปรงขาว ลำแพน หลุมพอทะเล โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ตะบูนขาว ตะบูนดำ ถั่วขาว ถั่วดำ โปรงแดง ฝาดดอกแดง พังกาหัวสุมดอกแดง และลำแพนหิน

ด้วยเหตุนี้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ (NBT) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโน โลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) จึงร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ดำเนินโครงการการศึกษาชีพลักษณ์และการเก็บอนุรักษ์พันธุกรรมพืชป่า ชายเลนของไทยในสภาพปลอดเชื้อ เพื่อมุ่งพัฒนาวิธีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชป่าชายเลนแบบระยะยาว เพื่อเป็นคลังความหลากหลายทางชีวภาพของป่าชายเลนในประเทศ

โดยในเฟสแรก สวทช. และ ทช. ได้คัดเลือกพันธุ์พืชป่าชายเลนมาศึกษากระบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อ จำนวน 16 ชนิดที่มีความเสี่ยงตามประกาศของ IUCN Red List

"การสูญพันธุ์ของพืชในธรรมชาติมีค่อนข้างสูงจากสถานการณ์โลกร้อน ภัยแล้ง น้ำท่วม ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลที่ยากแก่การวางแผนรับมือ ทีมวิจัยจึงใช้วิธีเพราะพันธุ์กล้าไม้ป่าชายเลนด้วยการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมพืชชายเลนด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแทนการอนุรักษ์พันธุ์พืชป่าชายเลนด้วยการจัดทำศูนย์รวบรวมพันธุ์ทั้งแบบอนุรักษ์ในพื้นที่และแบบนอกพื้นที่ ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ยากแก่การวางแผนรับมือล่วงหน้า ทำให้ส่งผลโดยตรงต่อการกระจายพันธุ์ของพืชบางชนิด ทำให้การเก็บรักษาต้นกล้าด้วยวิธีการดังกล่าวมีความเสี่ยงที่จะไม่สำเร็จในระยะยาว ขณะที่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นวิธีการเพิ่มจำนวนต้นพืชแบบไม่อาศัยเพศในสภาพปลอดเชื้อ เหมาะแก่การผลิตต้นพันธุ์ปลอดโรคที่มีคุณลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกประการ สามารถเพิ่มปริมาณได้รวดเร็วในพื้นที่ขนาดจำกัด อีกทั้งยังเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสำหรับจัดเก็บเชื้อพันธุกรรมพืชที่มีเมล็ดแบบ Recalcitrant หรือเมล็ดชนิดที่ไม่สามารถลดความชื้นเพื่อการเก็บรักษาระยะยาวในสภาวะ เยือกแข็ง (อุณหภูมิ-20 องศาเซล เซียส) ได้ ซึ่งเมล็ดชนิดนี้พบมากในพืชพรรณที่เติบโตในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งร้อน" ดร.ปัญญาวุฒิ อัมพุชินทร์ นักวิจัยธนาคารพืช NBT ไบโอเทค สวทช.กล่าวถึงโครงการเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชชายเลน

ทั้งนี้ กระบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อถือเป็นหนึ่งในแนว ทางการอนุรักษ์พืชป่าชายเลนที่มีประสิทธิภาพ แต่ปัญหาสำคัญคือพืชป่าชายเลนที่เก็บตัวอย่างจากธรรมชาติมีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์สูง โดยเฉพาะเชื้อในกลุ่ม Endophytic microbial หรือจุลินทรีย์ที่อาศัยในชิ้นส่วนพืช ซึ่งไม่สามารถทำให้ตายผ่านการฆ่าเชื้อที่พื้นผิวตามปกติ ทีมวิจัยจึงได้นำต้นกล้าที่จัดเก็บตัวอย่างจากป่าชายเลนมาปลูกในโรงเรือนที่มีความชื้นน้อยกว่าธรรมชาติเพื่อลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ ก่อนฆ่าเชื้อด้วยรูปแบบและวิธีการที่ปรับให้เหมาะสม จนทำให้ต้นพันธุ์ปลอดเชื้อได้สำเร็จเรียบร้อยแล้วและอยู่ในขั้นตอนการวิจัยสูตรอาหารเพื่อเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชพันธุ์ต่างๆต่อไป

"ความยากของการวิจัยคือต้องค้นหาวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่เหมาะสมแบบจำเพาะเนื่องจากพืชแต่ละชนิดต้องการอาหารและสภาพ แวดล้อมในการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน อีกทั้งพืชป่าชายเลนบางชนิดยังมีอัตราการเจริญเติบโตช้า ทำให้การวิจัยแต่ละขั้นตอนต้องใช้เวลานานหลักปี ซึ่งหากไม่ประสบความสำเร็จจะต้องเริ่มต้นกระบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อใหม่ตั้งแต่ขั้นตอนแรก แต่โชคดีที่ทีมวิจัยทำสำเร็จตัวชี้วัดความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อประกอบ ด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกคือการทำให้ชิ้นส่วนพืชปลอดเชื้อและเจริญเติบโตต่อบนอาหารสังเคราะห์ภายหลังการฟอกฆ่าเชื้อได้สำเร็จ ส่วนที่สองคือยอดใหม่ของพืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีแม้ผ่านการสับเปลี่ยนอาหารแล้ว 2 ครั้ง หลังจากผ่านทั้งสองขั้นตอนที่สำคัญแล้ว จึงจะมั่นใจได้ว่ากระบวนการเตรียมตัวอย่างพืชและสูตรอาหารมีความเหมาะสมต่อการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมชนิดนั้นๆในระยะยาว" ดร.ปัญญาวุฒิ กล่าว

แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ ทีมวิจัยยังได้วิจัยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพรที่พบบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ป่าชายเลน เพื่อประโยชน์ด้านการอนุรักษ์คู่ขนานกันไปด้วย ปัจจุบันประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงแล้ว 6 ชนิดพันธุ์ คือ ผักเบี้ยทะเล ผักหวานทะเล ขลู่ เทพี สำง้ำ และ สำมะงา

"NBT ยังมีการวิจัยเพื่อการอนุรักษ์พรรณพืชป่าชายเลนอีกหลายด้าน เช่น การศึกษาลักษณะเรณูหรือละอองเกสรเพื่อการระบุชนิดพันธุ์ของพืช เพราะปริมาณและความหลากหลายของเรณูที่ตรวจพบบ่งชี้ถึงความสามารถด้านการกระจายพันธุ์ของพืชในบริเวณนั้นได้ อีกตัวอย่างคือการศึกษา DNA barcode หรือรหัสพันธุกรรมตำแหน่งสำคัญที่บ่งชี้ถึงชนิดพันธุ์พืช เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงที่สำคัญสำหรับการระบุชนิดพันธุ์ ซึ่งการตรวจสอบชนิดพันธุ์พืชผ่านรูปแบบ DNA barcode เป็นวิธีการที่มีความแม่นยำสูง ตรวจสอบง่าย และไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงนักอนุกรมวิธานในการวิเคราะห์ผล" ดร.ปัญญาวุฒิ กล่าวปิดท้าย

"ทีมข่าวสิ่งแวดล้อม" มองว่าโครงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชชายเลนน่าจะเป็นตัวช่วยหลักในการสนับสนุนการอนุรักษ์ป่าชายเลน ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อคนและสัตว์เพื่อเดินสู่เป้าหมายใหญ่คือฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนของประเทศและการรักษาความหลาก หลายทางชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน.


https://www.thairath.co.th/news/local/2715413

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม