ชื่อกระทู้: โลกร้อน (3)
ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 24-06-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default


ภาวะโลกร้อนกับภัยน้ำท่วม

ทุกวันนี้ใครๆ ก็รู้ว่า แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และบรรยากาศเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าจะถามว่าใครคือบุคคลแรกที่ได้ศึกษาเรื่องนี้ ประวัติวิทยาศาสตร์ก็ได้บันทึกว่า ในปี 2370 (รัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) Jean Baptiste Joseph Fourier คือนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ได้ทดลองพบว่าแสงเดินทางผ่านอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำได้ดีกว่าอากาศที่มีอุณหภูมิสูง อีก 35 ปีต่อมา John Tyndall ได้แสดงให้เห็นว่า ทั้งแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำต่างก็ดูดกลืนรังสีอินฟราเรดได้ดี


Svante Arrhenius (คนที่นั่งบนโต๊ะ) ภาพนี้ถ่ายในปี 2439

และเมื่อถึงปี 2440 Svante Arrhenius ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นหนึ่งที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์รู้เป็นครั้งแรกว่า อุณหภูมิของบรรยากาศโลกขึ้นกับปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่บรรยากาศมี ดังนั้นกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่ผลิตแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (เช่น การเผาป่า การเผาถ่านหิน การขับเคลื่อนยานยนต์ ฯลฯ) แล้วปล่อยออกสู่บรรยากาศ สามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์ เรือนกระจกที่โลกทุกวันนี้รู้จักในนาม ภาวะโลกร้อน หรือภาวะบรรยากาศเปลี่ยนแปลงได้

แต่ Arrhenius คำนวณผิด เขาจึงอ้างว่า ถ้าอัตราการเผาผลาญถ่านหินดำเนินไปในอัตราขณะนั้น โลกจะมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น 50% ในอีก 3,000 ปี และแก๊สที่เพิ่มนี้ จะทำให้โลกร้อนขึ้น 3.4 องศาเซลเซียส เพราะข้อสรุปของ Arrhenius ไม่น่ากลัว และถ้าเหตุการณ์โลกร้อนจะเกิดขึ้นจริง ก็อีกนาน 3,000 ปี ดังนั้น วงการวิชาการจึงไม่มีใครสนใจผลงานของ Arrhenius ชิ้นนี้ จนอีก 60 ปีต่อมา นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจึงเริ่มตระหนักว่า ภาวะโลกร้อนเป็นปรากฏการณ์ที่สามารถเกิดได้ในช่วงชีวิตของคนคนหนึ่ง และในที่สุดเหตุการณ์นี้ก็จะเป็นมหันตภัยต่อมนุษยชาติ

การศึกษาประวัติของปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอดีตเมื่อ 200 ปีก่อน แสดงว่า บรรยากาศโลกขณะนั้นมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 0.028% แต่ปัจจุบันปริมาณได้เพิ่มมากถึง 0.035% และนอกจากจะดูดกลืนความร้อนได้ดีแล้ว บรรยากาศที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ ยังกักเก็บความร้อนได้ดีมากด้วย

แต่ในความเป็นจริง CO2 มิได้เป็นปัจจัยเดียวที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เพราะนักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า ปัจจุบันอื่นๆ เช่น ความแปรปรวนของปริมาณแสงอาทิตย์ที่โลกได้รับ ปริมาณฝุ่นธุลีที่ภูเขาไฟระเบิดพ่นออกมา ลักษณะการไหลของกระแสน้ำในมหาสมุทร ทั่วโลก และปริมาณไอน้ำกับเมฆในท้องฟ้าก็มีบทบาทในการทำให้โลกร้อนขึ้นหรือเย็นลงได้เหมือนกัน แต่ถ้าจะเน้นปัจจัยหลัก แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ คือตัวการสำคัญที่สุด


น้ำแข็งที่ Greenland และ Antarctica

ทุกวันนี้การสำรวจและศึกษาสภาพในภูมิประเทศต่างๆ ทั่วโลก แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า โลกกำลังก้าวเข้าสู่ภาวะโลกร้อน เช่น ในแอฟริกา นักสำรวจได้พบว่า ธารน้ำแข็งบนยอดเขา Kilimanjaro ได้ลดขนาดลงทุกปี จนในอีก 20 ปี ธารน้ำแข็งนี้จะหายไปอย่างสมบูรณ์ ส่วนในยุโรป ธารน้ำแข็งบนยอดเขา Alps ก็ได้ลดขนาดลงตลอดเวลาและสำหรับสัตว์นั้น นักชีววิทยาก็ได้พบว่า สัตว์ในเขตร้อนหลายชนิดได้อพยพแหล่งอาศัยขึ้นไปทางเหนือที่มีอากาศหนาวกว่า ซึ่งตามปกติแล้ว สัตว์เหล่านั้นไม่น่าจะมีชีวิตอยู่ได้ เช่น ยุง ซึ่งเป็นพาหะของโรคหลายชนิด การอพยพของมันเข้ายุโรปจึงมีสิทธิ์ทำให้ชาวยุโรปมีโอกาสเป็นโรค มาลาเรีย และโรคไข้เลือดออกได้มากขึ้น เป็นต้น

สำหรับน้ำในมหาสมุทรนั้น ก็ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนเช่นกัน เพราะเมื่ออุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น นั่นก็หมายความว่า ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มด้วย การคำนวณโดยนักวิทยาศาสตร์บางกลุ่ม แสดงให้เห็นว่า ในอีก 90 ปี ระดับน้ำทะเลจะเพิ่ม 50 +25 เซนติเมตร และอีก 500 ปี ความเข้มข้นของ CO2 ในบรรยากาศโลกจะมากขึ้น 4 เท่า

ตัวเลขนี้ได้จากการพิจารณาการขยายตัวของน้ำเพียงอย่างเดียว หาได้คำนึงถึงการละลายของน้ำแข็งที่บริเวณขั้วโลกทั้งสองไม่ ซึ่งถ้าพิจารณาด้วย ระดับน้ำที่จะเพิ่ม ก็จะมีค่ามากขึ้นไปอีก เพราะพื้นที่ 2% ของทวีปต่างๆ อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล น้อยกว่า 10 เมตร และพื้นที่ริมทะเลเป็นที่อยู่อาศัยของคน 630 ล้านคน (ในอีก 500 ปี จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ริมทะเลจะสูงขึ้นไปอีก) ดังนั้นการเพิ่มระดับน้ำทะเลจะทำให้ New York, Mumbai, London, Shanghai และกรุงเทพฯ จมน้ำหมด ส่วนเกาะต่างๆ เช่น Maldives, Hawaii และ Caribbean พื้นที่ส่วนใหญ่ก็จะจมน้ำเช่นกัน



จาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 16 มิถุนายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม