ดูแบบคำตอบเดียว
  #108  
เก่า 17-11-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,326
Default


ธรรมชาติของไฟฟ้า รู้ไว้ไม่ตาย



ในภาวะน้ำท่วมอันตรายหนึ่งที่มองไม่เห็นและอาจนำไปสู่การเสียชีวิตคือ อันตรายจากไฟฟ้าโดยเฉพาะไฟฟ้าที่รั่วไหลอยู่ใต้ผิวน้ำ

ในภาวะน้ำท่วมอันตรายหนึ่งที่มองไม่เห็นและอาจนำไปสู่การเสียชีวิตคือ อันตรายจากไฟฟ้าโดยเฉพาะไฟฟ้าที่รั่วไหลอยู่ใต้ผิวน้ำ

รายงานการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพจากน้ำท่วมของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ระบุว่าสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ในภาวะน้ำท่วมของคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมาจากไฟฟ้าดูด ซึ่งต่างจากต่างจังหวัดที่เสียชีวิตจากการจมน้ำ

ผศ.พงษ์ ทรงพงษ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า แต่ละคนมีการตอบสนองต่อกระแสไฟฟ้าต่างกัน ขึ้นกับสาเหตุหลายอย่าง เช่น เพศ วัยการฝึกฝน และประสบการณ์ที่เคยได้รับ อย่างไรก็ตาม เราอาจกำหนดเป็นช่วงของความรู้สึกได้โดยประมาณดังนี้

1 มิลลิแอมป์ (1 ใน 1000 แอมแปร์) เริ่มรู้สึก อาจรู้สึกจั๊กจี้ หรือรู้สึกเหมือนโดนเข็มเล็กๆ สะกิด โดยทั่วไปไม่เป็นอันตราย ยกเว้นคนที่มีภาวะหัวใจผิดปกติอยู่แล้ว

5 มิลลิแอมป์ เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นกระแสที่ยังปลอดภัยอยู่ หากสูงกว่านี้จะเริ่มอันตราย แทบทุกคนจะรู้สึกอย่างชัดเจนว่ามีกระแสไฟ อาจรู้สึกชาๆ แต่ยังคงควบคุมอวัยวะได้

10-20 มิลลิแอมป์ กล้ามเนื้อที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน จะเกิดการหดตัวแบบควบคุมไม่ได้ นั่นคือถ้ากำมือจับวัตถุที่ไฟรั่ว ก็จะไม่สามารถปล่อยมือได้นั่นเอง

100-300 มิลลิแอมป์ กล้ามเนื้อจะหดตัวอย่างแรงถึงฉีกขาดได้ ถ้าอยู่ในภาวะนี้นานจะเป็นอันตรายถึงชีวิต

6 แอมแปร์ กล้ามเนื้อจะหดตัวสุด หากสัมผัสชั่วขณะจะกลับสู่สภาพเดิม เหมือนถูก reset จึงใช้ในการกระตุ้นหัวใจให้กลับมาเต้นอีกครั้งในคนไข้ที่หัวใจหยุดเต้น

"หากใช้กระแสไฟฟ้าขนาดนี้กับคนใกล้ตายหัวใจหยุดเต้น ก็อาจปลุกให้ฟื้นได้ หรือในทางกลับกัน หากใช้กับคนที่ปกติ ก็อาจจะทำให้ตายได้นั่นเอง" ผศ.พงษ์ อธิบายเพิ่ม

สิ่งที่ทำให้เกิดโศกนาฏกรรมเกี่ยวกับไฟฟ้าคือตัวกระแสไฟฟ้า จึงควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดกระแสไฟฟ้าผ่านร่างกาย ดังนี้

1. สังเกตบริเวณที่จะเข้าไป ว่ามีสายไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าจมน้ำอยู่หรือไม่ ถ้ามีหรือไม่แน่ใจให้ตัดกระแสไฟบริเวณนั้น แต่มีข้อสังเกตว่า ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่รั่วในน้ำ หรือที่ทำอันตรายต่อร่างกายได้นั้นเป็นปริมาณที่ไม่มากเลย ดังนั้น เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าทั่วไปที่ไม่ใช่เครื่องตัดไฟรั่วจะไม่ตัดกระแสโดยอัตโนมัติ จึงอย่าหวังว่าเครื่องตัดไฟจะทำงาน ให้ตัดด้วยมือเพื่อความแน่ใจเสมอ

2. ถ้าไม่แน่ใจ ให้ทดสอบด้วยเครื่องตรวจวัดไฟรั่ว ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะ คือตรวจวัดแบบทุ่นลอยน้ำ และตรวจโดยใช้ไม้แหย่ เครื่องตรวจที่เป็นแบบทุ่นลอยน้ำจะสามารถตรวจไฟรั่วจากสายไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่แช่อยู่ในน้ำได้ แต่ถ้าขั้วไฟฟ้าที่รั่วจมอยู่ลึกๆ เช่น ปลั๊กตัวเมียที่จมอยู่ในน้ำ อาจไม่สามารถตรวจได้ เพราะกระแสไฟฟ้าที่รั่วจะวนอยู่รอบๆขั้วเท่านั้น ต้องใช้แบบไม้แหย่

ถ้าเป็นไม้ที่สร้างจากไขควงวัดไฟ ต้องระวังว่าไฟอาจไม่สว่างเพราะบริเวณที่เป็นอันตรายจะอยู่ใกล้ๆขั้วไฟฟ้าเท่านั้น ประกอบกับมีน้ำล้อมรอบ อาจจะทำให้ไขควงสว่างได้ยาก

3. กรณีที่เครื่องใช้ไฟฟ้าจมน้ำ และต้องการทดสอบว่าไฟรั่วหรือไม่ ไขควงวัดไฟเป็นตัวเลือกที่ดี และถ้าพบว่ามีไฟรั่ว ควรติดป้ายเตือนและหลีกเลี่ยงบริเวณรอบๆ

4. ถ้าน้ำไม่ลึกมาก รองเท้าบูตยางจะช่วยได้มาก เพราะยางเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี ไฟฟ้าผ่านได้ยาก การนั่งเรือที่เป็นฉนวน เช่น เรือไฟเบอร์หรือเรือไม้ก็ช่วยได้มากเช่นกัน ตรงข้ามกับเรือที่เป็นโลหะก็ปลอดภัยสำหรับคนที่อยู่บนเรือ แต่ไม่ปลอดภัยสำหรับคนที่อยู่ในน้ำและจับหรือเข็นเรืออยู่

5. ถ้าต้องการสัมผัสโลหะที่แช่น้ำอยู่ แต่กลัวว่าจะมีไฟรั่วโดยที่มองไม่เห็นหรือตรวจไม่พบ เช่น ลูกบิดประตูที่เป็นโลหะ หรือกรอบประตูหน้าต่างอะลูมิเนียม ให้ใช้หลังมือสัมผัสก่อน เพราะตามธรรมชาติเมื่อกล้ามเนื้อได้รับกระแสไฟฟ้า จะเกิดการหดตัว เมื่อเราใช้หลังมือสัมผัสและเกิดไฟฟ้ารั่วผ่าน ก็จะเป็นการชักมือหนีออกจากแหล่งที่ไฟรั่วนั้น แต่หากใช้ด้านหน้ามือไปสัมผัส เมื่อกล้ามเนื้อมือหดตัวก็จะกำแน่นขึ้น และอาจทำให้เสียชีวิตได้

ถึงแม้ว่าจะมีเครื่องตรวจวัดไฟรั่วหลายแบบที่นำมาแจกจ่าย แต่เครื่องวัดทุกแบบก็มีข้อจำกัด ควรทำความเข้าใจการใช้งานก่อน และใช้ด้วยความระมัดระวัง

ขอให้ทุกท่านโชคดี และขอเป็นกำลังใจให้ผ่านพ้นภัยจากไฟฟ้าและน้ำท่วมไปโดยเร็ว




จาก ....................... กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์สุขภาพ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม