ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 13-05-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


เริ่มต้น! บอร์ด กทช.ให้ศึกษา "โลมาอิรวดี" ขึ้นเป็นสัตว์สงวน

ข่าวดี! "อาจารย์ธรณ์" โพสต์เฟชบุ๊ก บอร์ดกทช.ไฟเขียว "โลมาอิรวดี" เป็นสัตว์สงวนตัวใหม่ หลังเสี่ยงสูญพันธุ์ ระบุเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีแต่ขั้นตอนไม่ง่าย ยังต้องมีการศึกษา และนำเสนอตามขั้นตอนของกฎหมาย



วันนี้ (12 พ.ค.2565) ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ (มก.) โพสต์เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ระบุว่า น้องโลมายิ้มหวานคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ (กทช.) รับข้อเสนอ โลมาอิรวดีเป็นสัตว์สงวน

ทั้งนี้อาจารย์ธรณ์ ระบุว่า วันนี้มีการประชุมคณะกรรมการทะเลชาติ (กทช.) ที่มีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณื รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พร้อมด้วยนายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นรองประธาน

"ผมเสนอให้โลมาอิรวดีเป็นสัตว์สงวน ที่ประชุมเห็นชอบ"

การเป็นสัตว์สงวนมีประโยชน์อย่างไร เรื่องนี้ตอบได้ตั้งแต่เต่ามะเฟือง ฉลามวาฬ วาฬบรูด้า โอมูระ

กฎหมายชัดเจน ความสนใจเพิ่มมากขึ้น งบประมาณ และการดูแลอนุรักษ์ยกระดับไปอีกขั้น แต่การผลักดันให้สัตว์สักชนิดเป็นสัตว์สงวน ต้องดูทุกด้านให้ครบ โดยเฉพาะสถานภาพและการถูกคุกคาม

"กรณีโลมาอิรวดี ที่ถูกจัดสถานภาพ endangered เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในระดับโลก (IUCN)ยังรวมถึง 14 สุดท้ายที่เหลืออยู่ในทะเลสาบสงขลา ที่เสี่ยงมากๆ ต่อการสูญพันธุ์ จากพื้นที่น้ำจืด 1 ใน 5 ของโลก"

ไม่ง่าย! เปิดขั้นตอนก่อนจะขึ้นเป็นสัตว์สงวนตัวใหม่

อาจารย์ธรณ์ ระบุอีกว่า การผลักดันให้เกิดเป็นผลต้องอาศัยกลไก และต้นเรื่อง ตอนเสนอ 4 สัตว์สงวนก็ผ่านกลไกของกรรมการทะเลชาติ จนประสบความสำเร็จ แต่ไม่ใช่นึกจะเสนอก็เสนอ นอกจากข้อมูลครบ ปัญหาชัดเจน ยังต้องมีกระแสสังคมช่วยสนับสนุน นั่นคือเรื่องยากสุด แต่ครั้งก่อนทั้ง 4 ชนิดผ่านมา และโลมาอิรวดีในครั้งนี้ เพื่อนธรณ์มีส่วนสำคัญยิ่ง เพราะทุกไลค์ ทุกแชร์ทุกความคิดเห็น ทำให้โลมาอิรวดี กลายเป็นประเด็นที่ทุกคนอยากช่วย

นอกจากนี้ ยังขอบคุณทุกสื่อที่ติดตาม โดยเฉพาะ ThaiWhales ที่ทำให้เกิดการมาพูดคุยจนกลายเป็นประเด็นขอบคุณท่านรัฐมนตรีที่เห็นความสำคัญอย่างมาก ทำให้มีการประชุมเร่งด่วนในวันที่ 9 พ.ค.ที่ผ่านมา ก่อนเข้ามาในกรรมการทะเลชาติ

"ขั้นตอนต่อจากนี้ จะเป็นการดำเนินงานของกรมทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อนำเสนอเรื่องอีกครั้ง ผ่านคณะกรรมการ ก่อนเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.)ไปคณะกรรมการกฤษฎีกา"

แน่นอนว่าคงไม่เร็ว แต่เมื่อเทียบกับความพยายามที่ผ่านมา มาถึงจุดเดินหน้าได้แล้วในระหว่างนี้ต้องช่วย 14 โลมาแห่งทะเลสาบสงขลาไปด้วย เป็นการทำงานคู่ขนาน หากได้เป็นสัตว์สงวน ยังมีผลถึงโลมาอิรวดีในทะเลที่อื่นๆ เช่น ดอนสัก อ่าวขนอม อ่าวไทยตอนใน ตรัง กระบี่

ไทยพีบีเอสออนไลน์ สอบถามข้อมูลแหล่งข่าวระบุว่า ในบอร์ด กทช.ไม่ได้มีการบรรจุวาระพิจารณาโลมาอิรวดี เข้าเสนอในที่ประชุม กทช. แต่มีหารหยิบยกขึ้นมานำเสนอในการพิจารณาสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทั้งป่าชายเลน และทรัพยากรอื่นๆ โดยได้รับข้อสังเกตเรื่องความเสี่ยงของ โลมาอิรวดี

"อย่างไรก็ตาม ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่ยอมรับว่าขั้นตอนการขึ้นบัญชีสัตว์สงวนแต่ละชนิด ใช้ระยะเวลา โดยต้องนำเข้าคณะอนุกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองตามขั้นตอน"


https://news.thaipbs.or.th/content/315445

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม