ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 20-07-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


UNODC เผยรายงานใหม่ ชี้การล่าค้าสัตว์พืชหายากยังหนัก ก่อโรคร้าย ปัญหาสิ่งแวดล้อม

สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) เปิดเผย ขบวนการลักลอบล่า-ค้าสัตว์ป่าข้ามชาติยังคงเป็นภัยคุกคามใหญ่ต่อความอยู่รอดของสัตว์และพืชหายากหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวลิ่น ชิ้นส่วนเสือ และไม้พะยูง ทั้งยังก่อปัญหาความรุนแรง และเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคระบาดใหม่ ย้ำทุกประเทศต้องยกระดับกระบวนการยุติธรรมให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อร่วมกันปราบปรามเครือข่ายอาชญากรรมค้าสัตว์ป่าข้ามชาติ

เมื่อวันที่ 10 กรกฏาคม พ.ศ. 2563 UNODC เปิดตัวรายงานอาชญากรรมลักลอบค้าสัตว์ป่าทั่วโลก (The World Wildlife Crime Report 2020) ซึ่งได้เผยว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 ? พ.ศ.2562 มีการตรวจยึดซากและชิ้นส่วนสัตว์และพืชหายากราว 6,000 ชนิดพันธุ์ รวมกว่า 180,000 รายการ ที่ถูกลักลอบล่าค้าโดยเครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติที่โยงใยกว่า 150 ประเทศทั่วโลก


นอแรดชิ้นส่วนนอแรดที่ถูกตรวจยึดได้ //ภาพจาก: wikimedia

UNODC ย้ำว่า ข้อมูลจากรายงานดังกล่าว นอกจากจะชี้ให้เห็นถึงความร้ายแรงของปัญหาการลักลอบล่าค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ที่ส่งผลกระทบต่อทุกๆ ประเทศ ทั้งทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ความมั่งคง และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ยังสร้างความเสี่ยงโรคระบาดอุบัติใหม่ที่เกิดจากการเกิดการกระโดดข้ามของโรคระบาดจากสัตว์ป่าสู่มนุษย์ ดังเช่นการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลกในปี้นี้

โดยรายงานฉบับนี้ได้ชี้ว่า การลักลอบค้าตัวลิ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในสัตว์ต้องสงสัยว่าเป็นพาหะของโคโรนาไวรัส ต้นตอการระบาด COVID-19 ทั่วโลก ได้เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าระหว่างช่วงปี พ.ศ.2554 ? พ.ศ.2561 และขึ้นแท่นเป็นสัตว์ที่ถูกลักลอบล่าค้ามากที่สุดในโลก ดังนั้นการยุติการค้าสัตว์ป่าจึงเป็นก้าวสำคัญในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้คนทั่วโลก

"ในขณะที่เครือข่ายอาชญากรรมค้าสัตว์ป่าข้ามชาติกำลังกอบโกยผลกำไรมหาศาลจากการลักลอบล่าค้าสัตว์และพืชหายาก คนยากจนท้องถิ่นต้องทนทุกข์กับผลกระทบจากอาชญากรรมของคนเหล่านี้" Ghada Waly ผู้อำนวยการ UNODC กล่าว

"ดังนั้นเพื่อที่จะคุ้มครองผู้คนและโลกใบนี้ภายใต้วิถีการพัฒนาที่ยั่งยืน และสร้างอนาคตที่เข้มแข็งกว่าเดิมหลังวิกฤต COVID-19 เราจึงไม่อาจมองข้ามปัญหาอาชญากรรมลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายได้"

Waly กล่าวว่า เธอหวังว่ารายงานอาชญากรรมลักลอบค้าสัตว์ป่าทั่วโลกฉบับนี้ จะทำให้ประชาคมโลกตระหนักถึงความจำเป็นในการเร่งยกระดับมาตรการทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมในการยุติปัญหาการลักลอบล่าค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายข้ามชาติ

รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมาย โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) Arnold Kreilhuber ระบุว่า การปราบปรามขบวนการลักลอบค้าสัตว์ป่าข้ามชาติมีความสำคัญอย่างยิ่งในการผดุงความสงบเรียบร้อย ปกป้องประชาชน และรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ เพราะว่าเครือข่ายเหล่านี้มักประกอบอาชญากรรมอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การตั้งตัวเป็นแก๊งค์ผู้มีอิทธิพล ฟอกเงิน เลี่ยงภาษี และคอรัปชัน

Kreilhuber กล่าวว่า ปัญหาหลักในการปราบปรามเครือข่ายลักลอบค้าสัตว์ป่าข้ามชาติ คือการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องข้ามประเทศ เช่น ระหว่างสำนักงานศุลกากร หรือสำนักอัยการของแต่ละประเทศ ในขณะที่ความท้าทายอีกข้อหนึ่งก็คือกฎหมายและระบบตรวจสอบเฝ้าระวังการลักลอบค้าสัตว์ป่าของหลายๆ ประเทศยังคงอ่อนแอเกินกว่าที่จะป้องกันปราบปรามการล่าค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ รายงานของ UNODC เปิดเผยว่า เครือข่ายลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายได้อาศัยโลกออนไลน์เป็นช่องทางในการซื้อขายสัตว์ป่ามากขึ้น อีกทั้งยังใช้เทคโนโลยีเช่น การใช้แอปส่งข้อความเข้ารหัส ทำให้การตรวจสอบการกระทำผิดเป็นไปได้ยากลำบากขึ้น


งาช้างงาช้างที่ชุดปฏิบัติการพิเศษเหยี่ยวดงตรวจยึดได้ //ขอบคุณภาพจาก: ชุดปฏิบัติการพิเศษเหยี่ยวดง

รายงานฉบับดังกล่าว ยังได้เปิดเผยสถานการณ์ตลาดการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายล่าสุด โดยระบุว่า แนวโน้มการลักลอบล่าช้างและแรดเพื่อเอางาและนอแรดมีแนวโน้มดีขึ้น จากความต้องการงาช้างแอฟริกาและนอแรดที่ลดลง ทำให้ขณะนี้ตลาดค้างาช้างและนอแรดเถื่อนเล็กลงตามไปด้วย โดยพบว่ารายได้ที่มาจากการค้างาช้างและนอแรดที่ผิดกฏหมายลดลงจาก 2 ปีที่แล้ว กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2559 มีมูลค่า 12,000 ล้านบาท แต่ในปี พ.ศ. 2561 มีมูลค่าลดลงเหลือเพียง 7,200 ล้านบาท

ในขณะที่รายงานได้เผยว่า ความต้องการไม้พะยูงที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดขบวนการมอดไม้พะยูงแอฟริกาเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด เช่นเดียวกับการลักลอบค้าชิ้นส่วนเสือที่พบว่ามีการตรวจจับได้มากขึ้นในช่วงทีผ่านมา

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) แสดงความเห็นเกี่ยวกับรายงานข้างต้นว่า การที่ UNODC รายงานว่า การค้างาช้างและนอแรดเถื่อนมี 'แนวโน้มลดลง' นั้นเป็น 'การด่วนสรุปและก่อให้เกิดความเข้าใจผิด'

Mary Rice กรรมการบริหารของ EIA กล่าวว่า ในขณะที่พวกเราดีใจกับก้าวสำคัญในเรื่องของการค้าผิดกฏหมาย แต่พวกเราก็เกิดข้อกังวลว่ารัฐบาลจะอ้างข้อสรุปนี้ในการลดระดับการปกป้องช้างและสัตว์ป่าอื่นๆ

"ด้วยเหตุนี้เราจึงขอส่งเสริมวิธีการป้องกัน ให้เกิดการจัดการกับปัญหาด้านธรรมาภิบาลและการคอรัปชั่นซึ่งอาจเป็นตัวกระตุ้นการลักลอบล่าและค้าช้าง" Rice กล่าว

EIA ได้อ้างอิงถึงรายงานจาก Scientific Reports ที่เผยแพร่เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา พบว่า อัตราการรุกล้ำช้างในแอฟริกาไม่ได้ลดลง ซ้ำยังสูงขึ้นในแอฟริกาตะวันตก กลาง และใต้ ในขณะที่รายงานของ UNODC ระบุว่า แนวโน้มจำนวนและตลาดของแรดแอฟริกาใต้ลดลง แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า แอฟริกาใต้เองไม่ได้เปิดเผยประชากรแรดประจำปีใน 2-3 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะตัดสินว่าอัตราการรุกล้ำของแรดประจำปีในประเทศนั้นลดลง

ยิ่งไปกว่านั้นในปี พ.ศ.2561 แรดอย่างน้อย 58 ตัวจากประมาณ 502 ตัวที่อาศัยอยู่ในบอตสวานาถูกล่า และหากการรุกล้ำยังคงดำเนินต่อไปในอัตราปัจจุบัน บอตสวานาอาจเสี่ยงต่อการสูญเสียประชากรแรดดำทั้งหมดภายในสิ้นปี


เสือเสือโคร่งในฟาร์มเสือมีความเสี่ยงที่จะถูกเลี้ยงเพื่อเอาหนังและชิ้นส่วนไปขายในตลาดมืด //ขอบคุณภาพจาก: EIA

นอกจากนี้ Debbie Banks หัวหน้าฝ่ายรณรงค์อาชญากรรมสัตว์ป่าและเสือของ EIA ยังวิพากษ์รายงานของ UNODC ว่า ไม่กล้าที่จะเปิดเผยตัวผู้กระทำ ทั้งยังเปิดช่องให้รัฐบาลอนุญาตให้ประกอบกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการก่ออาชญากรรมต่อสัตว์ป่า เช่น การผสมในที่กักขัง (Captive breeding) ได้

"น่าเสียดายว่าข้อมูลสหประชาชาติในส่วนของ เสือในตระกูลแมวใหญ่ ถูกจำกัด มันจะถูกรายงานว่าเป็นกระดูกเสือเนื่องจากการให้ข้อมูลโดยรัฐบาล แต่ข้อมูลที่รวบรวมโดย NGO ต่าง ๆ พบว่าการค้าหนังเสือในตระกูลแมวใหญ่ นั้นแพร่ขยายมากกว่าที่รายงานระบุไว้" เขากล่าว


http://www.saveoursea.net/forums/new...uote=1&p=60168

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม