ดูแบบคำตอบเดียว
  #7  
เก่า 21-07-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,234
Default

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


ขยะติดเชื้อ? แผลใหม่จากอุบัติโรคระบาด หรือแค่เปิดแผลเก่า? ............. ต่อ

ขยะติดเชื้อในไทยถูกกำจัดที่ไหน?

ขยะติดเชื้อจะถูกขนจากแหล่งกำเนิดทั่วประเทศไปแหล่งกำจัด ได้แก่ เตาเผา 10 แห่ง เตานึ่งฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำ (Autoclave) 6 แห่ง


*TDRI รายงานว่ามีเตาเผาอีก 67 แห่งที่เผากำจัดขยะในแหล่งกำเนิดเอง
Map: GreenNews Source: สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย



เพราะเรื่องขยะคือเรื่องเงิน

.อาจเป็นภาพสวยหรูที่อาจซุกซ่อนปัญหาไว้. ณัฐวุฒิ ผู้จัดการทั่วไปจากบริษัทจัดเก็บขยะติดเชื้อเอกชน ตั้งคำถามเกี่ยวกับแผนการรวมศูนย์ดังกล่าวว่า การจัดการขยะติดเชื้อไทยไม่สามารถปฏิรูปได้อย่างสิ้นเชิงด้วยแผนการนั้น เพราะเจ้าของเตาเผามีหลากหลาย บ้างเป็นหน่วยงานรัฐ บ้างเป็นเอกชนที่อาจมีการปิดกั้นไม่ให้บริษัทจัดเก็บส่งขยะไป อีกทั้งยังติดข้อกฎหมายต่างๆ ที่ไม่เอื้อ เช่น กฎหมายปัจจุบันอนุญาตให้เตาเผาแห่งเดียวที่สมุทรปราการ เผาขยะอันตรายทางการแพทย์ได้ แม้ว่าจะมีโรงผลิตปูนหลายแห่งที่มีเตาเผาศักยภาพเดียวกัน

เขาเชื่อว่า ยิ่งมีตัวเลือกหลายแห่ง ต้นทุนในการกำจัดขยะติดเชื้อจะยิ่งถูกลง ลดปัญหาที่สถานพยาบาลหรือบริษัทฯ ขนส่งขยะติดเชื้อแอบลักลอบทิ้งขยะติดเชื้อได้ ซึ่งพบเห็นข่าวบ่อย เช่น เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา พบถุงล้างไตจำนวนมากถูกทิ้งอยู่ข้างถนนที่นครศรีธรรมราช ทำให้คนในพื้นที่หวาดหวั่นว่าจะแพร่กระจายเชื้อโรคสู่สิ่งแวดล้อม

สำหรับกรณีโควิด-19 คราวนี้ ค่าใช้จ่ายจัดการขยะติดเชื้อจาก State Quarantine ราว 45,000 บาทต่อวัน กระทรวงกลาโหมเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย หากแต่ในขยะติดเชื้อในภาวะปกตินั้นยังเป็นต้นทุนราคาแพงที่สถานพยาบาลต้องแบกรับ

เขาชวนคิดว่า สังคมอาจมองขยะเป็นแค่ขยะ แต่จริงๆ แล้วเรื่องขยะคือเรื่องของเงิน ในทางหนึ่งมันอาจเป็นต้นทุนราคาสูงของสถานพยาบาล แต่ในอีกทางหนึ่งมันอาจเป็นช่องทางธุรกิจที่สร้างรายได้ หากบริษัทต่างๆ จะหันมาลงทุนเรื่องนี้ โดยแข่งกันที่มาตรฐานจัดการและเทคโนโลยี เช่น นำเทคโนโลยีเครื่องกำจัดขยะติดเชื้อด้วยความร้อนไมโครเวฟมาใช้ในไทย

.ผมอยากให้กฎหมายเปิดโอกาสให้เอกชนมีเตาเผาขยะติดเชื้อมากขึ้นและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ จากต่างประเทศเข้ามาใช้ได้ มันไม่ใช่การแข่งขันเรื่องเงินว่าใครเสนอราคาจัดการขยะติดเชื้อได้ถูกกว่าใคร แต่เป็นการแข่งขันเรื่องสิ่งแวดล้อม.


ขยะขวดน้ำเกลือและเข็มฉีดยาพบที่หาดในระยอง / สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม / ณิชา เวชพานิช


ขยะติดเชื้อ .. แผลใหม่จากอุบัติโรคระบาด หรือแค่เปิดแผลเก่า?

สำนักข่าว South China Morning Post รายงานว่าช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน เจอการแพร่ระบาดโควิด-19 หนัก ปริมาณขยะติดเชื้อแต่ละวันสูงถึง 2,000 กิโลกรัม ซึ่งมากกว่าศักยภาพที่เตาเผาขยะติดเชื้อที่มีอยู่รองรับได้ถึง 4 เท่าตัว ทำให้ขยะจำนวนมากไม่ได้ถูกกำจัดอย่างถูกวิธี เพิ่มความเสี่ยงทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

สำหรับประเทศไทย ปัญหาเรื่องขยะติดเชื้ออาจจะไม่ได้ระเบิดออกพร้อมกับวิกฤติโควิดเหมือนประเทศอื่น กระนั้น ขยะติดเชื้อนั้นมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (TDRI) ชี้ว่า โควิด-19 ทำให้คนหันมาใช้หน้ากากอนามัยเพิ่มขึ้นจาก 800,000 ชิ้น เป็นราว 1,500,000 ชิ้น ต่อวัน สอดคล้องกับข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งเผยเมื่อปี พ.ศ.2553 ว่า สถานบริการสาธารณสุขทั้งของรัฐและเอกชนมีปริมาณมูลฝอยติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่ปัจจุบันยังมีการจัดการไม่เพียงพอ จึงเป็นปัญหาสำคัญที่ทวีความรุนแรงและต้องจัดการเร่งด่วน

ขยะติดเชื้อจึงอาจไม่ใช่แผลใหม่จากอุบัติโรคระบาด แต่เป็นการเปิดแผลเก่าที่มีมานานแล้ว ว่าประเทศไทยมีศักยภาพเพียงพอจะดูแลสังคมให้ปลอดภัย ไร้โรคจากขยะติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นหรือไม่

รายงานพิเศษชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสนับสนุนสำนักข่าวขนาดย่อยในเอเชีย Splie Lights On สนับสนุนโดย Splice Media


https://greennews.agency/?p=21437

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม