ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 19-12-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,253
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ขุดพบซากมังกรทะเลชนิดใหม่ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ บนชายหาดดอร์เซ็ต


ภาพ Credit : Journals.plos.org

หนึ่งในชื่อแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในอังกฤษ ต้องมีชื่อของชายหาดดอร์เซ็ต ในเทศมณฑลดอร์เซ็ตอยู่ด้วยเสมอ เพราะนอกจากจะเคยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของคนโบราณ ที่นี่มักจะพบหลักฐานทางโบราณคดีหลากหลาย รวมถึงซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิสสัตว์โลกล้านปี ซึ่งเมื่อไม่นานนี้ ดร.สตีฟ เอ็ทช์ส นักล่าซากฟอสซิลมือสมัครเล่น ได้ขุดพบสัตว์ในวงศ์อิกทิโอซอร์ (Ichthyosaur) ชนิดใหม่บนชายหาดดอร์เซ็ต

อิกทิโอซอร์ที่พบใหม่มีความยาว 2 เมตร ถูกขนานนามว่า "Etches sea dragon" ตามชื่อ ดร.เอ็ทช์ส ผู้ที่พบว่าซากฟอสซิลของมันถูกฝังอยู่ในหินปูนใกล้อ่าวคิมเมอริดจ์ และที่เรียกว่าอิกทิโอซอร์ว่ามังกรทะเล (sea dragon) ก็เพราะว่าพวกมันมีฟันและดวงตาที่ใหญ่มาก ดร.เอ็ทช์สคิดว่าฟันของอิกทิโอซอร์ตัวนี้ผิดปกติ เขาจึงส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยพอร์ตสมัธนำไปศึกษาต่อเพื่อระบุว่ามันเป็นชนิดใดกันแน่ ล่าสุด นักวิจัยตรวจสอบจนระบุได้ว่ามันเป็นสกุลและสายพันธุ์ใหม่ได้รับการตั้งชื่อว่า Thalassodraco etchesi มีชีวิตอยู่เมื่อ 150 ล้านปีก่อน

นักวิจัยเผยว่า อิกทิโอซอร์ดังกล่าวถูกธรรมชาติอนุรักษ์ไว้อย่างสวยงามด้วยการถนอมเนื้อเยื่ออ่อนทำให้มันน่าสนใจยิ่งขึ้น ทั้งนี้ อิกทิโอซอร์จัดเป็นสัตว์นักล่าทางทะเลที่มีการดัดแปลงทางร่างกายอย่างมาก เพื่อให้คล่องตัวสำหรับการว่ายน้ำ ดวงตาขนาดใหญ่ทำให้มองเห็นดีขึ้น ส่วนกรามยาวเต็มไปด้วยฟันรูปกรวยหลายร้อยซี่ก็เหมาะต่อการจับเหยื่ออย่างปลาและปลาหมึก.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1996745


*********************************************************************************************************************************************************


อนุรักษ์ทะเลเพื่อชีวิต (Ocean for Life) เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ



นอกจาก บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. จะมีภารกิจหลักในการสำรวจ พัฒนา และผลิตปิโตรเลียม เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศไทยแล้ว ยังตั้งเป้าหมายในการดำเนินงานโครงการเพื่อสังคมภายใต้กลยุทธ์ "ทะเลเพื่อชีวิต" (Ocean for Life) ในแผนระยะยาว 10 ปี (ปี 2563-2573) เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งเสริมให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรท้องทะเลไทยอีกด้วยครับ

ผมศึกษากรอบการดำเนินงานของ ปตท.สผ.แล้ว เห็นว่าน่าสนใจมาก โดยเฉพาะกรอบการดำเนินงาน 3P ซึ่งประกอบด้วย PROTECT คือ การปกป้องท้องทะเล ด้วยการบริหารจัดการขยะทะเลเพื่อป้องกันมลภาวะจากบนบกลงสู่ทะเล PRESERVE คือ การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ให้สามารถคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ด้วยการปลูกป่าชายเลน และพัฒนาศูนย์เพาะพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจและการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก และ PROVIDE คือ การสร้างโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ด้วยการเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์อาหารทะเล เพื่อให้ชุมชนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลรอบอ่าวไทยมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นแค่แนวคิดนะครับ เพราะเขาลงมือปฏิบัติจริง ทำโครงการจริงๆ หลักๆที่ผมเห็น มีอยู่หลายโครงการครับ เช่น โครงการบริหารจัดการขยะทะเล (Ocean Waste Management) กำหนดเป้าหมายในการลดปริมาณขยะร้อยละ 50 ในปี 2573 อีกโครงการหนึ่ง คือ โครงการปลูกป่าชายเลน (Mangrove Forestation) มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และความสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเล (Biodiversity) ด้วยการฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนที่เสื่อมโทรมเพื่อเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำชายฝั่งของประเทศไทย โดยกำหนดเป้าหมายในการปลูกและบำรุงรักษาป่าชายเลน จำนวน 5,000 ไร่ ในพื้นที่ 3 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ให้กลับมาเป็นระบบนิเวศป่าชายเลนที่สมบูรณ์ โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักสัตว์น้ำเศรษฐกิจ (Aquatic Animal Hatchery Learning Center) มีเป้าหมายเพื่อสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเล และส่งเสริมวิถีการทำประมงอย่างยั่งยืนเพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ในพื้นที่ 17 จังหวัดรอบอ่าวไทย




นอกจากนี้ ยังมี โครงการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล (Turtle Conservation) นอกจากนี้ ยังมี โครงการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล, โครงการจัดทำแนวเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลและบ้านปลา (Coastal Conservation Area and Fish Home), โครงการเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์อาหารทะเล (Seafood Product Value Enhancement), โครงการตรวจติดตามสุขภาพของมหาสมุทรและความหลากหลายทางชีวภาพ (Ocean Health & Biodiversity Monitoring)

ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อสร้างประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งระดับชาติและนานาชาติ ตามเป้าหมายการพัฒนายั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ เป้าหมายที่ 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล (Life below water) และยังช่วยขับเคลื่อนดัชนีสุขภาพของมหาสมุทร (Ocean Health Index) ของประเทศไทยและของโลกในภาพรวมอีกด้วยครับ.


https://www.thairath.co.th/news/local/south/1997341
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม