ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 09-10-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is online now
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,115
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ปะการังมีอาวุธลับ ต่อกรสภาพอากาศร้อน


(ภาพ ปะการังเขากวาง Credit: Wikipedia)

ปะการังมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมาก เมื่อเผชิญการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยก็มีผลกระทบ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 1 องศาเซลเซียส เหนือกว่าอุณหภูมิสูงสุดในฤดูร้อนโดยเฉลี่ย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ปะการังเกิดการฟอกขาวและตายไป

ในขณะที่อุณหภูมิของมหาสมุทรที่สูงขึ้นและกำลังฆ่าแนวปะการัง นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนานาชาติฟลอริดา ในสหรัฐอเมริกา กลับค้นพบว่า ความลับฝังอยู่ในยีนของปะการัง ที่อาจช่วยให้พวกมันต่อสู้และรับมือกับการเปลี่ยน แปลงอุณหภูมิตามฤดูกาลได้ การศึกษานี้ใช้เวลากว่า 2 ปี ในการเก็บตัวอย่างจากแนวปะการังรอบเกาะคิวเลบรา ในเปอร์โตริโก มุ่งเน้นไปที่ชนิดปะการังเขากวางจำนวนมากกว่า 200 ตัวอย่าง ที่ใช้เรียนรู้เกี่ยวกับการตอบสนองของปะการังเขากวางต่อการโจมตีของพายุเฮอริเคนเออร์มาและมารีอา

ทีมวิจัยพบว่าปะการังจะปรับเปลี่ยนกิจกรรมของดีเอ็นเอเพื่อปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและเงื่อนไขอื่นๆ โดยขึ้นอยู่กับฤดูกาล ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอีพีเจเนติกส์ (epigenetic) หรือพันธุศาสตร์ด้านกระบวนการเหนือพันธุกรรมเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอ แต่อาจส่งผลต่อการแสดงออกของยีน ทีมเผยว่าปะการังใช้ประโยชน์จากการตอบสนองของอีพีเจเนติกส์ เพื่อป้องกันการฟอกขาวของปะการังภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั่นเอง.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1947360


*********************************************************************************************************************************************************


แอนตาร์กติกอบอุ่นสุด ในหลายรอบทศวรรษ



คาบสมุทรแอนตาร์กติกเป็นส่วนเหนือสุดของทวีปแอนตาร์กติกา มีฐานปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และฐานทางทหารจากหลายประเทศตั้งอยู่ ไม่ว่าจะเป็นอาร์เจนตินา ชิลี และสหราชอาณาจักร ซึ่งการวัดอุณหภูมิก็จะทำกันเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อเร็วๆนี้มีผลการศึกษาของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซันติอาโกในชิลี เปิดเผยว่า ปี พ.ศ.2563 กลายเป็นปีที่ร้อนที่สุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติกในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา

ด้านนักวิจัยจากฐานทัพอากาศชิลีบนเกาะคิงจอร์จ รายงานว่า ระหว่างเดือน ม.ค.-ส.ค.นั้น บนคาบสมุทรซึ่งอยู่ทางเหนือสุดของทวีปแอนตาร์กติกา จะมีอุณหภูมิสูงถึงระหว่าง 2-3 องศาเซลเซียส ทว่าทางตอนเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติกกลับมีอุณหภูมิสูงสุดในปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 0 องศา ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมา 31 ปีแล้ว นักวิจัยเรียกข้อเท็จจริงนี้ว่าเป็นเรื่องที่น่าตกใจ เนื่องจากสามารถบ่งชี้ได้ว่าอัตราการร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วของมหาสมุทรที่พบในพื้นที่ดังกล่าวเมื่อปลายศตวรรษที่ 20 กำลังจะกลับมาอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิในฤดูหนาวของซีกโลกใต้ที่สูงในทางตรงกันข้ามกับอุณหภูมิที่บันทึกไว้ระหว่างเดือน ส.ค. จนถึงเดือน ก.ย.นั้น สูงถึง -16.8 องศาเซลเซียส ถือว่าต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2513.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1947350

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม