ชื่อกระทู้: โลกร้อน (3)
ดูแบบคำตอบเดียว
  #17  
เก่า 04-10-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default


ภาวะโลกร้อน...หนุนพายุเขตร้อนแรงและถี่



ส่งผลคนจนเอเชียขาดแคลนอาหาร

อิทธิพลของไต้ฝุ่น “กิสนา” ที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้ฟิลิป ปินส์กลายเป็นเมืองบาดาลโดยฉับพลันมีผู้เสียชีวิตเกือบ 300 คน ก่อนที่จะเคลื่อนตัวมาที่เวียดนามซึ่งคร่าชีวิตผู้คนนับ 100 และลาวนับเป็นเรื่องโชคดีว่าก่อนจะเข้าประเทศไทย กิสนาแปรสภาพเป็นพายุดีเปรสชันไปแล้ว คนไทยได้รับผลกระทบน้อยลงไป ยังไม่ถึงขั้นต้องเสียชีวิต เพียงแต่ทำให้บ้านเรือนและระบบสาธารณูปโภคเสียหาย

แต่ยังไม่ทันที่จะแก้ไขความเสียหายและเยียวยาจิตใจของผู้คน ล่าสุดทางการฟิลิปปินส์ออกประกาศเตือนในวันศุกร์ที่ผ่านมาให้เตรียมรับมือ กับพายุไต้ฝุ่นลูกใหม่ “ป้าหม่า” คาดว่าก่อให้เกิดปริมาณฝนตกน้อยกว่าครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับพายุไต้ฝุ่น “กิสนา” นอกจากนี้ในบ้านเรามีคำเตือนให้ระวังพายุฝนจากมหาสมุทรอิน เดียอ่าวเบงกอล จะเป็นพายุไซ โคลน ซึ่งจะพัดเข้าทางภาคใต้ของไทย บริเวณสตูล ภูเก็ต พังงา ระนอง ในระยะ 2-3 วันนี้

จะว่าไปปรากฏการณ์ของพายุต่าง ๆ เป็นไปตามธรรมชาติของฤดูฝนในประเทศที่อยู่แนวเส้นศูนย์สูตร เรียกว่าพายุหมุนเขตร้อน เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งอยู่แถวฟิลิป ปินส์ ที่มีระดับอ่อนสุดคือดีเปรสชันไปจนถึงไต้ฝุ่น กล่าวคือ ความแรงลมความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางจะก่อให้เกิดดีเปรสชันมีค่าไม่เกิน 33 นอตต่อชั่วโมง พายุโซนร้อนความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางมีค่าระหว่าง 34-63 นอตต่อชั่วโมง และกลายมาเป็นพายุไต้ฝุ่นอยู่ที่ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางมีค่าตั้งแต่ 64 นอตขึ้นไป

อย่างไรก็ตาม มีการกำหนดว่าพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก และมีความแรงของลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางพายุมากกว่า 33 นอต จะเริ่มเรียกชื่อพายุ โดยกรมอุตุนิยมวิทยาโลก ได้จัดรายชื่อเรียกพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกไว้เป็นสากล ตามลำดับเพื่อง่ายในการเก็บบันทึก

ดร.จิรพล สินธุนาวา อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การเกิดขึ้นของพายุในมหาสมุทรแปซิฟิก ถือเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติปกติ เป็นพายุตามฤดูกาลของช่วงปลายฤดูฝน แต่นับจากนี้ไปพายุดังกล่าวจะมีความรุนแรงและเกิดถี่ขึ้น อันเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน ถึงเวลาที่ประเทศในแถบภูมิภาคนี้ต้องเตรียมรับมือและป้องกัน ต้องติดตั้งสัญญาณเตือนให้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ยง แต่ที่ผ่านมาแนวทางการเตรียมรับมือในบ้านเราทำกันเป็นฤดูกาลเหมือนกับปัญหา หมอกควันที่จะออกมาแก้ปัญหาในช่วงเกิดเหตุ 1-2 เดือนแล้วหายไป

“ภาวะโลกร้อนทำให้อากาศแปรปรวนเกิดพายุดีเปรสชันไต้ฝุ่นในหลายประเทศเตรียม รับมือแล้ว ในบังกลาเทศมีการฝึกเด็กเป็นแสนคนให้ว่ายน้ำ หากเกิดน้ำท่วมประชากรในประเทศจะได้รอดตาย”

อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยา กรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวอีกว่าในกลุ่มประเทศที่เป็นหมู่เกาะอย่างมัลดีฟส์ และฟิจิมีแผนที่จะรับมือกับการเกิดน้ำท่วมแผ่นดินหายด้วยการระดมนักวิชาการ จากทั่วโลกไปร่วมวางแผน รวมทั้งได้เชิญตนในฐานะคนไทยไปร่วมวางแผนป้องกันน้ำท่วมแผ่นดินหายอันเกิด จากภาวะโลกร้อนแล้ว

ระหว่างเกิดพายุกิสนาในฟิลิปินส์ ธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ เอดีบี ซึ่งมีสำนักงานในกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ได้เปิดเผยผลการศึกษา เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นรากฐานของภัยคุกคามต่อความมั่นคงทาง ด้านอาหารและพลังงานของเอเชีย” จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผลกระทบจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ในเอเซีย จะมีผลกระทบต่อประเทศที่ยากจนในภูมิภาค โดยเฉพาะสตรีที่อยู่ในชนบทของประเทศกำลังพัฒนา จะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากสุด เนื่องจากต้องพึ่งพาพืชผลเพื่อการยังชีพ การเข้าถึงทรัพยากรมีอย่างจำกัด และการขาดซึ่งอำนาจในการตัดสินใจ และมีแนวโน้มว่ากลุ่มประชากรเหล่านี้จะอพยพโยกย้าย เพื่อหาความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน

นางเออซูลา พรูส รองประธานเอดีบี กล่าวว่า ความั่นคงทางอาหารและพลังงานของทุกประเทศในเอเชียถูกคุกคามโดยการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ มากกว่าครึ่งของประชากรทั้งหมดในเอเชียมีชีวิตความเป็นอยู่ต่ำกว่าเส้นความ ยากจนที่ 2 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน และประชากรกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อาศัยฝนในการทำเกษตร และอาศัยในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อภูมิอากาศที่ไม่แน่นอนและเปลี่ยนแปลง

ทั้งนี้ประชากรในเอเชีย 2.2 พันล้านคน พึ่งพาเกษตรกรรมในการหาเลี้ยงชีพ ปัจจุบันมีผลผลิตตกต่ำลง อันมีสาเหตุมาจากน้ำท่วม ความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล

นอกจากนี้จากการวิจัยด้านพลังงาน พบว่าการเข้าถึงพลังงานที่สามารถซื้อได้อยู่ในภาวะเสี่ยงมากขึ้น การผลักดันให้เกิดการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างกว้างขวางในภูมิภาคจะช่วยลด ความเสี่ยงลงได้ หากมีนโยบายทางการเงินต่าง ๆ ที่จะมาเร่งให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น พลังงานและแสงอาทิตย์ขนาดเล็ก สำหรับคนยากจน

ความรุนแรงของพายุตามฤดูกาลที่ถี่และแรงขึ้น นำมาซึ่งผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนในเอเชียในระยะยาว จนยากจะแก้ไขแน่นอนในอนาคต.



จาก : เดลินิวส์ วันที่ 4 ตุลาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม