ดูแบบคำตอบเดียว
  #7  
เก่า 12-03-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,336
Default

ขอบคุณข่าวจาก มติชน


วิกฤตหนัก! พะยูนตรัง ประชากรลดฮวบ พบแม่ลูกเพียง 1 คู่ เหตุ โลกร้อน-หญ้าทะเลเสื่อมโทรม



ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดตรังว่า จากกรณีวิกฤตหญ้าทะเลตรัง เสื่อมโทรมตายลงเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อแหล่งอาหารของพะยูนฝูงสุดท้ายของประเทศไทย รวมทั้งสัตว์ทะเลหายากอื่นๆ สาเหตุหลักจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โลกร้อน น้ำมะเลมีอุณภูมิสูงขึ้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) ได้ระดมทีมนักวิทยาศาสตร์ระดับหัวกระทิของประเทศลงพื้นที่สำรวจหาสาเหตุ พบว่าเกิดจาดภาวะโลกร้อนทำให้ระดับน้ำทะเลลดต่ำลงมากขึ้นและนานกว่าปกติ ทำให้หญ้าผึ่งแดดนานขึ้น ขณะที่ชาวบ้านชายฝั่งในพื้นที่รวมทั้งเครือข่ายอนุรักษ์ ระบุอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญ คือการทับถมของตะกอนทรายจากการขุดลอกร่องน้ำกันตังโดยกรมเจ้าท่าเพื่อการเดินเรือ แม้จะหยุดขุดไปแล้ว แต่ผลกระทบยังคงมีมาต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าขณะนี้สถานการณ์หญ้าทะเลอยู่ในขั้นวิกฤต ส่งผลให้พะยูนเสี่ยงสูญพันธุ์ หรือย้ายถิ่นฐานออกนอกพื้นที่เขตอนุรักษ์ และเพิ่มปัจจัยเสี่ยงการตายจากอุบัติเหตุ และภัยคุกคามอื่นๆได้

ล่าสุด ระหว่างวันที่ 5-11 มีนาคม 2567 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง (ศวอล.) ได้ปฏิบัติภารกิจออกปฏิบัติงานสำรวจการแพร่กระจายสัตว์ทะเลหายาก บริเวณพื้นที่จังหวัดตรัง โดยวิธีการบินสำรวจ (Aerial Survey) โดยใช้เครื่องบินปีกตรึง 2 ที่นั่ง สำรวจแบบ Line transect และ Hot spot ร่วมกับนักบินอาสาสมัคร นาย Eduardo Angelo Loigorri และวิธีการสำรวจทางเรือ บริเวณเกาะลิบง เกาะมุกด์ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง และบริเวณแนวหญ้าทะเลใกล้เคียง ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดตรัง ผลการสำรวจโดยประมาณในเบื้องต้นพบพะยูน 36 ตัว พบพะยูนคู่แม่-ลูก จำนวน 1 คู่ พบโลมาหลังโหนก 6 ตัว พบโลมาคู่แม่-ลูก 2 คู่ และเต่าทะเล 38 ตัว ผลการตรวจสุขภาพประเมินสุขภาพจากการสังเกตด้วยสายตา พบว่าพะยูนแสดงพฤติกรรมว่ายน้ำหาอาหารบนแนวหญ้าทะเล นอกจากนี้ยังพบพะยูนคู่แม่-ลูก ซึ่งแสดงถึงความสมบูรณ์เพศของตัวสัตว์ โดยโลมาหลังโหนกพบว่าสุขภาพโดยรวมสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีบาดแผลหรือร่องรอยที่เกิดจากการถูกเครื่องมือประมงหรือขยะทะเลพันรัด รวมถึงเต่าทะเล สุขภาพโดยรวมไม่พบพฤติกรรมที่แสดงความผิดปกติ ส่วนข้อมูลและภาพถ่ายจากการสำรวจครั้งนี้ จะใช้คำนวณหาจำนวนประชากรที่แท้จริงของสัตว์ทะเลหายากในบริเวณพื้นที่จังหวัดตรังต่อไป

รายงานข่าวแจ้งว่า พื้นที่จังหวัดตรัง เป็นพื้นที่ที่มีพะยูนมากที่สุดในประเทศไทย และจากการสำรวจในปี2567นี้ พบตัวเลขที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง นั่นคือ เมื่อปี 2566 สำรวจพบ 194 ตัว แต่ล่าสุดสรุปสถานการณ์การสำรวจระหว่างวันที่ 5-11 มีนาคม ทั้งทางอากาศและทางเรือ พบเหลือเพียง 36 ตัวเท่านั้น แม้จะพบพะยูาคู่แม่ลูก 1 คู่ แต่อยู่ในภาวะเสี่ยงเรื่องขาดแคลนอาหาร สาเหตุหลักคือ หญ้าทะเลตาย พะยูนไม่มีอาหารกิน ทำให้ป่วย และอดตาย สาเหตุที่ทำให้หญ้าทะเลตาย หลักๆ คือ ปรากฏการณ์โลกร้อน ซึ่งจนถึงขณะนี้งยังไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้


https://www.matichon.co.th/region/news_4466707

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม