ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 11-03-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,310
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


ส่องร่าง พ.ร.บ.โลกร้อน ดีต่อคนไทยและโลกมากขึ้นตรงไหน?



เมื่อประเทศไทยขยับเข้าใกล้ที่จะออกกฎหมายโลกร้อน หรือ "พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" เป็นฉบับแรกภายในปีนี้ค่อนข้างแน่ สาระในกฎหมายที่สำคัญนั้นคือการควบคุมไม่ให้เกิดกิจกรรมหรือการทำธุรกิจที่สร้างมลภาวะและปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่มากอย่างจริงจัง โดยมีบทลงโทษที่ค่อนข้างหนักหนาเอาการ

ล่าสุดกำลังเดินหน้าตามโปรแกรมเชิญชวนประชาชนทั้ง 6 ภาคเข้าร่วมประชุมรับฟังและร่วมแสดงความคิดเห็น (public opinion ) ซึ่งต่อจากนั้น กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (สส.) กระทรวงทรัพย์ฯ (ทส.) จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ทันภายในกลางปี 2567

สำหรับขั้นตอนเชิญชวนประชาชนทุกภาคส่วนเข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ..... ได้แบ่งออกเป็น 6 ภาค ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคกลางที่กรุงเทพฯ

มาถึงตอนนี้ (10 มี.ค.67) ดำเนินการไปแล้ว 3 ภาค ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดขอนแก่น (14 ก.พ.67) ณ โรงแรมอวาธานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ ภาคตะวันออก ที่จังหวัดชลบุรี (1 มี.ค.67) ภาคตะวันตก ที่จังหวัดราชบุรี (8 มี.ค.67)

ต่อจากนั้นก็จะไป ภาคใต้ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 13 มีนาคม 2567 ภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 21 มีนาคม 2567 และภาคกลาง ที่กรุงเทพมหานคร วันที่ 26 มีนาคม 2567 ทั้งนี้ เมื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะครบทั้ง 6 ภาค เรียบร้อยแล้ว จะดำเนินการในขั้นตอนต่อไป คือ การนำเสนอ ร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. .... ต่อคณะรัฐมนตรีให้ทันภายในกลางปี 2567 นี้


ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่าการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. .... จะมีส่วนช่วยส่งเสริมการพัฒนามาตรการและกลไกคาร์บอนเครดิต และเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบยั่งยืนและคาร์บอนต่ำ และการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับพื้นที่ ผ่านศูนย์ประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพระดับจังหวัด ซึ่งปัจจุบันมีการจัดตั้งศูนย์ฯ แล้วจำนวน 65 จังหวัดทั่วประเทศ

"ประเทศไทยต้องเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนครับ"

ทั้งนี้ทิศทางการดำเนินงานและภารกิจเร่งด่วนของกรมฯ มุ่งนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งนอกจากการเร่งจัดทำร่างพ.ร.บ.โลกร้อน ยังมีประเด็นที่สำคัญ อาทิ เร่งจัดทำแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจก (NDC action plan) พ.ศ. 2564-2573 ที่สอดคล้องกับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์และกลไกการบริหารจัดการของประเทศ เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution: NDC) การจัดทำแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (Thailand?s National Adaptation Plan: NAP) เพื่อมุ่งสู่การมีภูมิคุ้มกัน และสามารถปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปเป็นแนวทางในการบูรณาการประเด็นด้านการปรับตัวฯ ตามแผนและยุทธศาสตร์รายสาขาและในเชิงพื้นที่

อย่างที่ทราบดี ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดการปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย อันนำไปสู่การป้องกันและลดความรุนแรงของปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกผ่านการดำเนินงานร่วมกับนานาประเทศ เพื่อรักษาไว้ซึ่งคุณภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย และความปลอดภัยในชีวิตและคุณภาพชีวิต

โดยรายละเอียดหลักๆ ใน "พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" จะเน้นไปที่การลดการปล่อยก๊าซ และการปรับตัว รวมไปถึงการพิจารณาถึงมาตรการทางการเงินเพื่อนำเงินที่ได้จากการที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือเงินค่าปรับไปช่วยเหลือผู้ประกอบการรายเล็กให้มีความสามารถในการจัดทำรายงานคาร์บอน และการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ว่าจะสามารถดำเนินการว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ซึ่งในข้อดังกล่าวยังคงมีรายละเอียดค่อนข้างมากที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ

ร่าง "พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" หรือ พ.ร.บ.โลกร้อน ฉบับแรกของประเทศไทยภายหลังการจัดตั้ง กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ?กรมโลกร้อน? ในช่วงที่ผ่านมามีการศึกษายกร่าง "พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" เริ่มกระบวนการมาตั้งแต่ต้นปี 2566 และได้หรือกับภาครัฐ กฤษฎีกาก่อน เนื่องจากเป็น พ.ร.บ.ที่มีความเกี่ยวข้องด้านการเงิน ภาษี ซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง การเปิดเผยข้อมูล มาตราต่างๆที่ปรากฎ มีเชิงบริหารไม่ว่าจะเป็นการให้อำนาจกับคณะกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีรายละเอียดที่ต้องทำยุทธศาสตร์แผนงาน การลดก๊าซเรือนกระจก ลดผลกระทบทางการเงิน

"พ.ร.บ.นี้เป็นกฎหมายฉบับแรกของประเทศไทย ที่มีความกว้างขวางมากกว่า พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม ฯ โดยเฉพาะในเรื่องของการเงิน โดยเฉพาะ Emission Screem ที่เกินมาจะต้องชดเชยเป็นเงิน และนำไปสนับสนุนรายเล็ก ในการปรับตัวรับมือ และเตรียมความพร้อมทำข้อมูลด้านคาร์บอน" นายปวิช รองอธิบดีกรมโลกร้อน กล่าว

รายละเอียดหลักๆ ใน "พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" จึงเน้นไปที่การลดการปล่อยก๊าซ และการปรับตัว รวมไปถึงการพิจารณาถึงมาตรการทางการเงินเพื่อนำเงินที่ได้จากการที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเงินค่าปรับไปช่วยเหลือผู้ประกอบการรายเล็กให้มีความสามารถในการจัดทำรายงานคาร์บอน และการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ว่าจะสามารถดำเนินการว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ซึ่งในข้อดังกล่าวยังคงมีรายละเอียดค่อนข้างมากที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ


บทกำหนดโทษ (ตามร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ อัพเดต 1 มี.ค.2567)

??ผู้ใดไม่จัดเก็บหรือรายงานข้อมูลกิจกรรมภายในระยะเวลาที่กำหนดในหนังสือแจ้งเตือนโดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องชำระค่าระวางโทษปรับทางปกครองตั้งแต่หนึ่งหมื่นถึงหนึ่งแสนบาท และปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

??ผู้ใดจงใจรายงานข้อมูลอันเป็นเท็จหรือปกปดข้อมูลอันพึงรายงาน เพื่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้หนึ่งผู้ใดต้องชำระค่าระวางโทษปรับทางปกครองตั้งแต่ สามหมื่นถึงสามแสนบาทและปรับอีกวันละไม่เกินสามพันบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติถูกต้อง

??บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการพิจารณาค่าปรับทางปกครอง มีอำนาจออกคำสั่งลงโทษปรับทางปกครองตามอัตรา หลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

???? ดาวน์โหลดร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. .... : https://shorturl.at/oBDKZ

อ้างอิง https://www.facebook.com/dcceth/?locale=th_TH


https://mgronline.com/greeninnovatio.../9670000021441

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม