ดูแบบคำตอบเดียว
  #6  
เก่า 30-05-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


#BetterNormal ร่วมสร้างอนาคตที่ปลอดมลพิษพลาสติกหลังจากวิกฤตโควิด-19 ดีขึ้น ..................... โดย พิชา รักรอด


เนื้อหาโดยสรุป

- ก่อนสถานการณ์ไวรัสโควิดระบาด ประเทศไทยตื่นตัวเรื่องปัญหาขยะพลาสติกอย่างมาก และกำลังขยายออกไปสู่ผู้คนในวงกว้าง หลังจากมี Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561-2573 ออกมา และมีแนวโน้มว่ากำลังมุ่งหน้าไปสู่ทิศทางที่ดีขึ้นในอนาคต

- การที่ประชาชนต้องกักตัวในบ้าน/ที่พักของตน ส่งผลให้เกิดการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งจำนวนมากขึ้น ยอดคำสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ในแอปพลิเคชันหนึ่งในบางหมวดหมู่เพิ่มขึ้นถึง 12 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว ในเมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งจะกลายเป็น ?วิกฤตแห่งความสะดวกสบาย? ดังนั้น รัฐบาลต้องทบทวน Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561-2573 ที่มุ่งไปสู่การลดปริมาณขยะพลาสติกใช้แล้วทิ้งให้เหลือศูนย์

- เราอาจต้องเริ่มตั้งคำถามกับพฤติกรรมการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งของเราในฐานะผู้บริโภคว่า เรากำลังตกหลุมพลางของความสะดวกสบายอย่างไร ความจำเป็นต้องใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งในช่วงวิกฤติโรคระบาดกลายเป็นพฤติกรรมใหม่ของเรา และเรายังคงเห็นดีเห็นงามกับการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งหรือไม่

- 'New Normal' นี้อาจก่อให้เกิดขยะพลาสติกใช้แล้วทิ้งในปริมาณมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม นี่คือพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งต้องการความตระหนักรู้และการควบคุมพฤติกรรมของเราเช่นเดียวกัน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ new normal ที่ว่านี้ทำลายโลกที่เราอาศัยอยู่ เราจะต้องตระหนักว่าสุขภาพของโลก = สุขภาพของเรา


การระบาดของไวรัสโควิดทำให้เกิด 'ความปกติใหม่ (new normal)' ในสังคมหลายด้าน หนึ่งในนั้นคือการใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้งของคนเมือง อันมีสาเหตุมาจากการต้องอาศัยอยู่เฉพาะในบ้านช่วงไวรัสกำลังแพร่ระบาดจึงต้องใช้บริการบริษัทจัดส่งอาหาร (Food delivery) จนปริมาณขยะพลาสติกพุ่งสูงขึ้นมาก การใช้บริการซื้ออาหารกลับบ้านเพราะไม่สามารถนั่งรับประทานอาหารที่ร้านได้ การซื้อสินค้าออนไลน์ที่ช่วยเพิ่มพูนขยะพลาสติกจากบริการส่งสินค้า นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้วัสดุเหลือใช้แล้วกลายเป็นขยะโดยสมบูรณ์ เพราะไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ คือ การไม่มีระบบแยกขยะที่มีประสิทธิภาพพอที่จะทำให้ผู้บริโภคซึ่งต้องอยู่บ้านมากขึ้น แยกขยะเศษอาหารออกจากขยะอื่น ๆ จนทำให้ขยะทั้งหมดปนรวมเป็นก้อนเดียวกัน เมื่อขยะอาหารถูกทิ้งปะปนกับขยะพลาสติกหรือขยะอื่นก็จะลดทอนความเป็นไปได้ในการรีไซเคิลลงอย่างมาก ทั้งหมดนี้ทำให้เราต้องตั้งคำถามกับ 'new normal' นี้ที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนของชีวิตและสุขภาพของเรา


มลพิษพลาสติกก่อนไวรัสโควิดระบาด

ก่อนสถานการณ์ไวรัสโควิดระบาด ประเทศไทยตื่นตัวเรื่องปัญหาขยะพลาสติกอย่างมาก หลังจากประเทศไทยติดอันดับ 6 ประเทศที่ทิ้งขยะลงสู่ทะเลมากที่สุด (ข้อมูลจากงานวิจัยของ JENNA R. JAMBECK ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยจอร์เจีย) เราเป็นประจักษ์พยานต่อการเสียชีวิตของสัตว์ทะเลและสัตว์บกขยะพลาสติกกันบ่อยครั้ง หลายองค์กรเริ่มออกมารณรงค์ลดใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งอย่างจริงจัง เราได้เห็นการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ จากองค์กรเอกชน นักศึกษา หรือภาคประชาชนต่างช่วยกันมองหาและพัฒนาทางเลือกอื่นที่มีตามธรรมชาติ เช่น กล่องข้าวกาบหมาก ใบบัว/ใบตองห่ออาหาร แก้วไม้ไผ่ใส่เครื่องดื่ม เป็นต้น แม้ว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การลดใช้พลาสติกข้างต้นจะยังจำกัดเฉพาะกลุ่มเล็ก ๆ แต่ก็กำลังขยายออกไปสู่ผู้คนในวงกว้าง


นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาสาสมัครกรีนพีซร่วมกันเก็บขยะบริเวณอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ทางขึ้นดอยสุเทพ ถนนศรีวิชัย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และสำรวจแบรนด์จากขยะพลาสติกที่พบ ? Baramee Temboonkiat / Greenpeace


จนโลกได้รู้จักกับ COVID-19

ไวรัสโควิดระบาดเริ่มแพร่ระบาดในเมืองอู่ฮั่น ที่จีน ในเดือนธันวาคม 2562 เชื้อไวรัสได้เริ่มแพร่ระบาดไปสู่ประเทศอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง จนในวันที่ 13 มกราคม ประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันโควิด-19 รายแรก หลังจากนั้น ภาครัฐเริ่มออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อจัดการและหยุดยั้งการแพร่ระบาด จนวันที่ 2 เมษายน มีการประกาศห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานทั่วราชอาณาจักร (เคอร์ฟิว) การประกาศปิดพื้นที่สาธารณะที่เป็นแหล่งรวมตัวของประชาชน หลายองค์กรออกมาตรการให้พนักงานทำงานที่บ้านมากขึ้น เป็นต้น รวมถึงการที่ร้านอาหาร/ร้านขายเครื่องดื่มบางแห่งงดรับภาชนะใช้ซ้ำ เนื่องจากกลัวการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส

การที่ประชาชนถูกขอความร่วมมือให้ต้องอาศัยอยู่เฉพาะในบ้าน/ที่พักของตนเองนั้น ส่งผลให้เกิดการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งจำนวนมากขึ้น มีข้อมูลระบุว่า ขยะจากบริการส่งอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จาก 1,500 ตันต่อวันเป็น 6,300 ตันต่อวัน ยอดคำสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ในแอปพลิเคชันหนึ่งในบางหมวดหมู่เพิ่มขึ้นถึง 12 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว ในสถานการณ์ปกติ ขยะที่นำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลมีเพียงร้อยละ 25 เท่านั้น จากขยะทั้งหมดทั่วประเทศกว่าปีละ 2 ล้านตัน ดังนั้น เราจึงอาจต้องจินตนาการถึงมลพิษพลาสติกที่เกิดขึ้นตอนนี้และกำลังจะเกิดในอนาคต รวมถึงยุทธศาสตร์การจัดการขยะในบริบทใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่พฤติกรรมการใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้งจะกลายเป็น 'new normal'


ฝูงนกกระยางบินเหนือภูเขาขยะ บริเวณหลุมฝังกลบ เมืองดูมาเกเต ฟิลิปปินส์ มีพลาสติกเพียง 9% เท่านั้นที่ถูกรีไซเคิลหลังจากการผลิตตั้งแต่ปีพ.ศ.2493 ส่วนพลาสติกที่เหลือจะไปจบลงที่หลุมฝังกลบเหมือนในภาพนี้


#BetterNormal โลกหลัง COVID-19 ที่เราอยากเห็น

เราอาจต้องเริ่มตั้งคำถามกับพฤติกรรมการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งของเราในฐานะผู้บริโภคว่า เรากำลังตกหลุมพลางของความสะดวกสบายอย่างไร ความจำเป็นต้องใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งในช่วงวิกฤติจะกลายเป็นพฤติกรรมใหม่ของเรา และเรายังคงเห็นดีเห็นงามกับการบริโภคพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งอย่างฟุ่มเฟือยหรือไม่ การเปลี่ยนแปลงอย่างเลี่ยงไม่ได้ที่เกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสนี้จำเป็นต้องมีการตั้งคำถามอีกครั้งหลังจากโควิด-19 ผ่านพ้นไป เพราะการที่เราคุ้นชินกับพฤติกรรมการบริโภคแบบใหม่ หมายถึงว่า เรากำลังสร้างโลกที่เต็มไปด้วยขยะพลาสติกและผู้ที่ต้องเผชิญหน้ากับมลพิษพลาสติกก็หนีไม่พ้นตัวเราเอง สัตว์และธรรมชาติ และนั่นคงไม่ใช่ New Normal ในแบบที่เราต้องการ

ในฐานะพลเมือง เราต้องช่วยกันตั้งข้อคำถามถึง Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561-2573 กว่า มันเพียงพอหรือไม่ที่จะจัดการไม่ให้เกิดขยะพลาสติกจำนวนมากในระบบและจัดการกับขยะพลาสติกที่มีอยู่ โดยตั้งเป้าหมาย ขยะเหลือศูนย์(zero waste) ซึ่งเน้นการลดขยะให้มากที่สุดและใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อให้เหลือวัสดุเหลือใช้จากการบริโภคไปสู่หลุมฝังกลบน้อยที่สุด มาเป็นแนวคิดหลักในการสร้างแผนงานที่เป็นรูปธรรมและดำเนินการทันทีอย่างจริงจัง ภาครัฐจำเป็นต้องทบทวน ยกระดับและปรับเปลี่ยน roadmap ให้เท่าทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการไม่สร้างขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการจัดการมลพิษพลาสติกที่ได้ผลดีที่สุดวิธีหนึ่ง


(มีต่อ)
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม