ดูแบบคำตอบเดียว
  #18  
เก่า 13-09-2010
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default


ภัยธรรมชาติที่พึงระวัง


ปรากฏการณ์ภัยธรรมชาติของประเทศไทย ไม่ได้อยู่แค่ฝนแล้งขาดแคลนน้ำ กับน้ำท่วมเท่านั้น หากยังมีภัยธรรมชาติหลากหลายรูปแบบที่ประทุในประเทศอื่น และอาจขยายผลเกิดขึ้นในประเทศไทย

แต่ก่อนคนไทยไม่รู้จักคลื่นยักษ์สึนามิ อย่างเก่งเคยอ่าน เคยได้ยินคนอื่นพูด แล้วคนไทยก็ประจักษ์สึนามิของจริงในบริเวณชายหาดทะเลอันดามันภาคใต้เมื่อร่วม 7 ปีก่อน ยังความวิบัติมหาศาล เพราะเราไม่เคยรู้จักมัน ไม่รู้จักพิษสง และไม่มีการเตรียมตัวรับมือ

แผ่นดินถล่มเป็นภัยธรรมชาติที่เริ่มปรากฏชัดขึ้นในต่างประเทศเพื่อนบ้านแถบเอเชียของไทยและในประเทศไทยเอง แม้จะมีปรากฏการณ์นี้บ้าง แต่ยังเป็นแค่กระสาย อย่างเก่งดินภูเขาค่อยๆสไลด์เคลื่อนตัวลงมาปิดกั้นถนน เส้นทางสัญจร โดยที่ผู้คนยังปลอดภัย

แต่สถานการณ์เริ่มเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะทางกายภาพ พื้นที่ภูเขาในเขตภาคเหนือ กระทั่งภาคใต้ที่มีการรุกขึ้นทำกินอย่างมโหฬาร ดินเหล่านี้มีขีดความสามารถจำกัดในการอุ้มน้ำ ลำพังฝนธรรมดาไม่เป็นไร เจอฝนโปรโมชั่นตกหนัก แถมตกไม่หยุดสะสมยาวนาน เมื่อนั้นดินก็พร้อมจะถล่มลงมา

อย่าไปนึกแค่ว่าก้อนดินธรรมดา จงนึกถึงดินบนภูเขาสูงที่โล่งเตียน ปราศจากไม้ใหญ่ อาการถล่มนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว รุนแรง พร้อมที่จะเล่นงานสิ่งที่ขวางหน้าราวกับพิโรธโกรธเกรี้ยวมานาน

ที่น่าห่วง ประเทศไทยไม่มีประสบการณ์ช่วยเหลือกู้ภัยผู้ประสบภัยธรรมชาติในลักษณะนี้ ประสบการณ์ที่บ้านกระทูน จ.นครศรีธรรมราช กับ ห้วยน้ำริน จ. เพชรบูรณ์ ยังคงตรึงตาตรึงใจอยู่ไม่หาย แต่มีใครบ้างคิดว่า หากมันจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต เราจะทำประการใด

ทุกวันนี้ทุกภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น คนที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างทันท่วงทีกลับเป็นองค์กรเอกชน อย่างมูลนิธิป่อเต๊กตึ้ง มูลนิธิร่วมกตัญญู และมูลนิธิในจังหวัดต่างๆ ซึ่งพอมีกำลังคนบ้าง แต่อุปกรณ์เครื่องมือก็เป็นอุปกรณ์พื้นฐาน และไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของเขาอยู่แล้ว ทุกวันนี้ที่เขาทำอยู่ก็ต้องขอแสดงความนับถืออย่างมากมา ณ ที่นี้

จะไปพึ่งกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ผมคิดว่า พอพึ่งได้น้อยนิด จนแทบลืมไปได้เลย ตรงข้ามก่อนถึงปัญหาที่จะเกิด หากเราสามารถเตือนภัยให้ประชาชนในพื้นที่ได้พึงรู้จะทำได้ประการใด

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกข่าวเตือนให้เห็นบ่อยครั้ง แต่เป็นไปอย่างกว้างๆ ชาวบ้านฟังแล้วก็ไม่รู้จะสังเกตอย่างไร หน่วยงานที่น่าจะทำหน้าที่ได้ดีควรจะเป็นกรมพัฒนาที่ดิน ค่าที่รู้จักดินทุกตารางนิ้วในประเทศไทย รู้จักคุณสมบัติดิน ปัญหาดิน การทำลายดิน และฯลฯ

น่าจะทำหน้าที่เฝ้าเตือนให้ระมัดระวังในพื้นที่ใดบ้าง วิธีการสังเกตอาการของดินถล่ม และประสานข้อมูลกับกรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน และกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย

ผมเขียนเรื่องนี้ไม่ได้ต้องการให้มีการลุกขึ้นมาซื้อเครื่องมือนะครับ ไปๆมาๆเครื่องมือกลายเป็นเรื่องการผลาญงบประมาณเหมือนที่เราเห็นได้ในหลายพื้นที่ มีอยู่จริง แต่ใช้การไม่ได้ ไม่ว่าเครื่องวัดระดับน้ำฝนเตือนภัยที่ไม่เคยส่งเสียงเตือน กระทั่งกล้องวงจรปิดที่ทำงานได้บางจุด และหลายจุดไม่ทำงาน กระทั่งต้องขอยืมดูในกล้องของหน่วยงานเอกชน หรือเรือเหาะ และฯลฯ

สุดท้าย อุปกรณ์บุโรทั่งเหล่านี้ กลับมาเล่นงานประชาชนผู้เสียภาษีให้ช้ำหัวใจเล่นซะงั้น




จาก ......... คอลัมน์เกษตรสร้างสรรค์ แนวหน้า วันที่ 13 กันยายน 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม