ดูแบบคำตอบเดียว
  #5  
เก่า 19-05-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,392
Default

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


หรือโลกกำลังเผชิญการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่อีกครั้ง เมื่อสัตว์ทะเลอพยพออกจากเส้นศูนย์สูตร .................... The Conversation

มหาสมุทรในเขตร้อนบริเวณเส้นศูนย์สูตรนั้นเป็นพื้นที่ที่มีสายพันธุ์สัตว์ทะเลหลากหลายมากที่สุดในโลก เต็มไปด้วยแนวปะการังสีสวยสดใส ฝูงปลาทูน่าจำนวนมาก เต่าทะเล กระเบนราหู ฉลามวาฬ และสายพันธุ์สัตว์ชนิดอื่นๆ มากมายจนนับไม่ถ้วน แต่ยิ่งเข้าใกล้ขั้วโลกมากเท่าไร สัตว์น้ำเหล่านี้จะมีจำนวนน้อยลง

นักนิเวศวิทยาสันนิษฐานว่าหลายศตวรรษที่ผ่านมารูปแบบการใช้ชีวิตของสัตว์ทะเลจะคงเสถียรภาพแบบนี้ จนกระทั่งปัจจุบัน มีงานวิจัยที่ระบุว่ามหาสมุทรบริเวณรอบ ๆ เส้นศูนย์สูตรเริ่ม 'ร้อน' เกินไปสำหรับสัตว์ทะเลหลายชนิด พวกมันจะไม่รอดหากอาศัยอยู่ในน้ำทะเลที่มีอุณหภูมิสูงเกินไป ซึ่งตัวการสำคัญของเหตุการณ์นี้คือ 'ภาวะโลกร้อน'

หรือสามารถอธิบายได้ว่าตอนนี้สภาพของโลกกำลังเปลี่ยนแปลง สัตว์หลายสายพันธุ์กำลังอพยพไปอาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำเย็นขึ้น ใกล้กับขั้วโลกมากขึ้น สถานการณ์นี้มีแนวโน้มว่าจะกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลและวิถีชีวิตมนุษย์ ย้อนกลับไปเมื่อ 250 ล้านปีก่อนได้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น และในตอนนั้นมีสัตว์ทะเลกว่า 90% จากสายพันธุ์ทั้งหมดตายลง


ภาพวาฬหลังค่อมถูกถ่ายได้บริเวณเกรทแบริเออร์รีฟ ? Paul Hilton / Greenpeace


สถิติและกราฟบ่งบอกถึงภาวะอันตราย

โดยปกติแล้ว โลกจะมีสายพันธุ์สัตว์เกิดขึ้นไกลจากขั้วโลก และมีจำนวนมากบริเวณเส้นศูนย์สูตร ซึ่งเป็นสถานที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสายพันธุ์สัตว์หลากหลาย หากเราย้อนกลับไปดูสถิติการบันทึกสายพันธุ์สัตว์ทะเลที่บันทึกได้กว่า 50,000 สายพันธุ์ตั้งแต่ ปี 2498 ซึ่งพบว่าสถิติเหล่านี้เมื่อแปลงเป็นกราฟแล้ว กราฟพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ



ผู้เขียนรายงาน แอนโทนี่ ริชาร์ดสัน อธิบายว่า ถ้าลองวิเคราะห์จากกราฟข้างบน เราจะเห็นได้ว่าในช่วงปี ค.ศ.1955 ? 1974 (พ.ศ.2498-2517) ความหลากหลายของสายพันธุ์สัตว์ทะเลลดลงเล็กน้อย แต่ในหลายทศวรรศหลังจากนั้น กราฟแสดงให้เห็นว่าสัตว์น้ำใกล้เส้นศูนย์สูตรลดลงไปอย่างมาก

ดังนั้น เมื่อมหาสมุทรของเราอุ่นขึ้น สัตว์ทะเลทั้งหลายจึงจำเป็นต้องอพยพเพื่อหาแหล่งที่อยู่อาศัยที่มีอุณหภูมิเหมาะสมกับการใช้ชีวิต พวกมันเริ่มย้ายขึ้นมาใกล้กับขั้วโลกมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าภายใน 50 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิทะเลบริเวณเส้น 0.6 จะสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับอุณหภูมิที่เส้นละติจูดที่เพิ่มสูงกว่า แต่สัตว์ทะเลเหล่านี้ต้องอพยพอยู่ดี เพราะการจำกัดความร้อนในร่างกายยังจำกัดเมื่อเทียบกับสายพันธุ์สัตว์จากแหล่งอื่นๆ

มหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นั่นทำให้จำนวนสัตว์ที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรลดลงไปอีก จากที่เราเคยคาดการณ์ประมาณ 5 ปีก่อนโดยใช้แบบจำลองมาช่วยคำนวน ในตอนนี้สิ่งที่คาดไว้กลายเป็นที่ประจักษ์แล้ว

สัตว์ 10 สายพันธุ์หลักๆที่เราศึกษา เช่น ปลาทะเล ปลาในแนวปะการัง และหอย พบว่า หากอุณหภูมิผิวน้ำเปลี่ยนแปลงไปมากกว่า 20 องศาเซลเซียส ก็จะส่งผลให้สิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาจต้องหมดไปหรือลดจำนวนลง ปัจจุบัน ซีกโลกเหนือเส้นศูนย์สูตรมีสายพันธุ์สัตว์ทะเลที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุด โดยอยู่ที่เส้นละติจูดที่ 30 (ทางตอนใต้ของจีนและเม็กซิโก) และเส้นละติจูดที่ 20ตอนใต้ (ทางตอนใต้ของออสเตรเลียและบราซิลใต้)


ภาพกระเบนว่ายอยู่บนอ่าวปะการัง Raja Ampat ในปาปัว อินโดนีเซีย ? Paul Hilton / Greenpeace


เหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ปรากฎการณ์ดังกล่าวไม่ใช่เรื่องใหม่ หากพิจารณาว่าสิ่งมีชีวิตทั่วโลกมีการปรับตัวอย่างรวดเร็วกับภาวะโลกร้อนมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อกว่า 252 ล้านปีก่อน โดยในช่วง 252 ล้านปีที่แล้วที่มีเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ซึ่งเป็นยุคสิ้นสุดยุคเพอร์เมียน ในตอนนั้นอุณหภูมิโลกสูงขึ้น 10 องศาเซลเซียสในช่วง 30,000-60,000 ปี เนื่องจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภูเขาไฟระเบิดในดินแดนที่คาดว่าเป็นไซบีเรียในปัจจุบัน

นอกจากนี้งานวิจัยในปี 2563 เกี่ยวกับฟอสซิล แสดงให้เห็นว่าจุดสูงสุดของความหลากหลายของสายพันธุ์สัตว์มียอดกราฟค่อนข้างแบนและกระจายตัว ซึ่งในช่วงเวลานั้น ช้างแมมมอธ เป็นตัวแปรสำคัญในการมีอยู่ของสายพันธุ์สัตว์ ตอนนั้นมีสายพันธุ์สัตว์ทะเลตายไปกว่า 90%

และหากเราถอยหลังไปอีก 125,000 ปีก่อน

ทั้งนี้ พบว่าวิจัยในปี 2555 ระบุว่าก่อนหน้านี้ในช่วงที่ 125,000 ปีก่อน โลกร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดปรากฎการณ์ที่ปะการังย้ายแหล่งกำเนิดออกจากเขตร้อน ตามบันทึกเกี่ยวกับสถิติปริมาณฟอสซิล และผลที่ได้คือรูปแบบที่คล้ายกันเหมือนตัวอย่างที่เราได้อธิบายไป แม้ว่าจะไม่เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ก็ตาม ผู้เขียนรายงานแนะนำว่าสิ่งที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากปัญหาภาวะโลกร้อนที่เราเผชิญอยู่ อาจเรียกได้ว่าการที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ปรับตัวเพื่อเอาชีวิตรอดโดยการอพยพออกจากเส้นศูนย์สูตรเป็นสัญญาณเตือนถึงการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ในช่วงยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุด ซึ่งยุคนี้ยุติลงเมื่อ 15,000 ปีก่อน ความอุดมสมบูรณ์ของโปรโตซัว หรือ สัตว์เปลือกแข็ง มีเซลล์เดียว หรือที่เราเรียกว่าแพลงก์ตอน เพิ่มสูงที่สุดบริเวณเขตร้อนชื้นและค่อยๆลดลงตั้งแต่นั้น แพลงก์ตอนนี้เองคือสายพันธุ์ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในห่วงโซ่อาหาร นอกจากนี้งานวิจัยยังระบุอีกว่าความอุดมสมบูรณ์ของแพลงก์ตอนลดลงเชื่อมโยงกับยุคที่มนุษย์เริ่มทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง


ผลกระทบที่ร้ายแรง

เมื่อระบบนิเวศบริเวณเขตร้อนชื้นสูญเสียสายพันธุ์สัตว์ทะเล นั่นหมายถึงความสามารถในการฟื้นตัวจากการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศลดลง และลดความต้านทานในการปรับตัวของระบบนิเวศนั้นๆ เมื่อเป็นแบบนี้ในระบบนิเวศระดับย่อย ๆ ของเขตร้อนชื้นอาจไม่สมดุล สายพันธุ์สัตว์อุดมสมบูรณ์ขึ้นหมายถึงจำนวนสายพันธุ์สัตว์บางประเภทอาจมีจำนวนมากเกินไป ยกตัวอย่างเช่นหลังจากนี้ สัตว์ที่ถูกล่าอาจมีจำนวนมากเกินไปสำหรับผู้ล่า รวมทั้งความสัมพันธ์ในห่วงโซ่อาหารอาจเปลี่ยนแปลง เช่น ปลาเขตร้อน อพยพไปยังอ่าวซิดนีย์และกลายเป็นคู่แข่งกับปลาท้องถิ่นอื่น ๆ ที่อาศัยและหาอาหารอยู่ที่นั่นก่อนแล้ว

ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นนี้อาจนำไปสู่ความล้มเหลวของระบบนิเวศ เหมือนกับช่วงรอยต่อของยุคเพอร์เมียนและยุคไทรแอสซิก ซึ่งมีสัตว์หลายชนิดสูญพันธุ์และแหล่งอาหารสำหรับระบบนิเวศได้เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล

การเปลี่ยนแปลงข้างต้นที่เราอธิบายจะยังส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อวิถีชีวิตของมนุษย์เรา กล่าวคือประเทศที่เป็นหมู่เกาะต่าง ๆ ในบริเวณเขตร้อนมักพึ่งพาอาชีพประมง พวกเขามีรายได้จากการจับปลา เช่น ปลาทูน่า จากการได้รับอนุญาตให้ประมงในน่านน้ำที่เป็นเขตของตนเอง แต่ปลาทูน่าเป็นปลาที่เคลื่อนย้ายฝูงอย่างรวดเร็ว และพวกมันก็มีแนวโน้มจะเคลื่อนที่อพยพไปยังพื้นที่กึ่งเขตร้อนชื้น และนั่นอาจทำให้มันอพยพไปยังน่านน้ำที่อยู่เหนือประเทศหมู่เกาะเหล่านี้


ฝูงทูน่าสคิปแจ๊ค ว่ายอยู่รอบๆช่ายภาพยนตร์และนักวิทยาศาสตร์ Stefan Andrews. St Francis ? Great Australian Bight. ? Michaela Skovranova / Greenpeace

นอกจากนี้ สายพันธุ์ปะการังสำคัญกับชาวประมงพื้นบ้าน ปะการังดึงดูดสัตว์ขนาดใหญ่เช่นฉลามวาฬ กระเบน และเต่าทะเล ที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ก็ยังจะอพยพออกไปยังเขตกึ่งร้อนชื้น การเคลื่อนย้ายของสัตว์น้ำที่กล่าวไปจะทำให้ประเทศในเขตร้อนไม่สามารถทำตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ UN ที่เกี่ยวกับการลดความอดอยากและการปกป้องสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทร


เพื่อไม่ให้สัญญาณเตือนเกิดขึ้นจริง เราทำอะไรได้บ้าง

หนึ่งในทางออกนั้นคือ "ความตกลงปารีส" (the Paris Climate Accords) และทั่วโลกต้องรีบออกมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจังและเร่งด่วน นอกจากทางเลือกนี้ โอกาสอื่น ๆ ที่จะช่วยปกป้องระบบนิเวศทางทะเลเหล่านี้เอาไว้คือการปกป้องระบบนิเวศในมหาสมุทรเพื่อไม่ให้เกิดการอพยพออกจากเส้นศูนย์สูตรหรือเกิดน้อยที่สุด ในตอนนี้มีพื้นที่ของมหาสมุทรประมาณ 2.7% เท่านั้นที่ได้รับการคุ้มครอง เป็นเขตคุ้มครองทางทะเลและมหาสมุทรอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งในการประชุมเรื่องความหลากหลายของระบบนิเวศโดย UN นั้น มีข้อตกลงว่าจะต้องปกป้องพื้นที่เพิ่มเป็น 10% ภายใน พ.ศ. 2563

อย่างไรก็ตาม ตอนนี้มีกลุ่มประเทศ 41 กลุ่มที่กำลังผลักดันให้มหาสมุทรได้รับการคุ้มครองไปถึง 30% จากพื้นที่ทั้งหมดภายในปี พ.ศ.2573

เป้าหมาย 30?30 จะช่วยให้อุตสาหกรรมทุกรูปเข้าไปทำลายมหาสมุทรเพื่อทรัพยากรไม่ได้ พวกเขาไม่สามารถเข้าไปจับปลาจำนวนมหาศาลหรือเข้าไปขุดเหมืองใต้ทะเลเพื่อเอาแร่ได้ เพราะแม้กระทั่งการทำลายหน้าดินในพื้นมหาสมุทรที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ก็เป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเดินทางโดยเครื่องบินจากสนามบินทั่วโลก เป้าหมาย 30?30 จะช่วยให้ระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตในห่วงโซ่อาหารปรับตัวและอยู่รอดได้

หากเราออกแบบการจัดการสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ เราจะสามารถปกป้องระบบนิเวศจากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การวางแผนปกป้องสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรสามารถปกป้องพวกมันจากการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่ ในขณะเดียวกันก็เป็นการปกป้องสภาพภูมิอากาศให้คงสเถียรภาพในอนาคตอันใกล้

ตอนนี้เรารู้ดีว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อโลกและเราอย่างไร หลักฐานอ้างอิงเหล่านี้เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่บอกเราว่าเราต้องปกป้องระบบนิเวศ และเราไม่ควรผลัดวันประกันพรุ่งกับปัญหาระดับโลกนี้อีกต่อไป


https://www.greenpeace.org/thailand/...cooler-waters/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม