ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 21-04-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,253
Default

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


โลกร้อนยังกระหน่ำแรง มีนาคมปีนี้ ร้อนสุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์

NOAA เผย มีนาคมที่ผ่านมาร้อนสุดอันดับสองในรอบ 141 ปี ทำอุรหภูมิโลกสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยในศตวรรษที่ 20 ถึง 1.16 องศาเซลเซียส คืบเข้าใกล้เส่นตายข้อตกลงปารีสที่ 1.5 องศาเซลเซียส ผู้เชี่ยวชาญชี้ แนวปะการังใหญ่ที่สุดในโลกเสี่ยงฟอกขาวอีกครั้ง เตือนไทยเฝ้าระวังด้วย

วันที่ 13 เมษายน พ.ศ.2563 National Centers for Environmental Information (NOAA) ศูนย์วิจัยด้านสมุทรศาสตร์ ภูมิอากาศและภูมิศาสตร์สหรัฐฯ เผย เดือนมีนาคมที่ผ่านมานับเป็นเดือนมีนาคมที่อุณหภูมิโลกสูงสุดเป็นอันดับสองตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลมา 141 ปี


โลกร้อนอุณหภูมิเฉลี่ยในทวีปและมหาสมุทร มีนาคม พ.ศ.2563 // ขอบคุณภาพจาก: NOAA

อุณหภูมิพื้นผิวทั้งในแผ่นดินและมหาสมุทรเฉลี่ยสูงขึ้น 1.16 องศาเซลเซียส เทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ยช่วงศตวรรษที่ยี่สิบ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้รายงานข้อมูลที่ใกล้เคียงกัน พบว่าอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 1.04 องศาเซลเซียส แม้ว่าเดือนมีนาคมปีนี้จะไม่ได้เกิดปรากฏการณ์ เอลนิญโญ (El Ni?o) เหมือนกับปีพ.ศ. 2559 ที่ครองตำแหน่งเดือนมีนาคมซึ่งร้อนที่สุด อย่างไรก็ตาม มีนาคมปีนี้กลับร้อนน้อยกว่าปีที่เจอเอลนิญโญรุนแรงเพียง 0.15 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างชัดเจนในทวีปเอเชีย หลายพื้นที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างต่ำ 2.5 องศาเซลเซียส ขณะที่รัฐฟลอริดา ทางตะวันออกของสหรัฐและประเทศแถบอเมริกาใต้ประสบกับเดือนมีนาคมที่ร้อนที่สุดตั้งแต่มีการเก็บข้อมูล นอกจากนั้น ทะเลน้ำแข็งในอาร์กติก (Arctic sea ice extent) ช่วงเดือนดังกล่าวมีขนาดเล็กลง 650,087 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4.2 % จากค่าเฉลี่ยปีพ.ศ.2524 ? 2553 กล่าวได้ว่า มีขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ในรอบ 42 ปี ศตวรรษที่ 21 นี้ได้เปิดศักราชอุณหภูมิโลกสูงทุบสถิติ พบว่า เดือนมีนาคม 10 เดือนที่ร้อนที่สุดเท่าที่มีการบันทึกในประวัติศาสตร์เกิดขึ้นช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา


โลกร้อนความผันแปรของอุณหภูมิในทวีปและมหาสมุทร เดือนมีนาคม ในรอบ 40 ปี // ขอบคุณภาพจาก: NOAA

แม้อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย หากส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาล กรมอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย เผยน้ำทะเลอุณหภูมิสูงขึ้นที่ฝั่งตะวันออกของรัฐควีนส์แลนด์ช่วงกุมภาพันธ์และมีนาคมเป็นสาเหตุให้ แนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก "Great Barrier Reef" กำลังเผชิญสถานการณ์ฟอกขาวหมู่ขั้นรุนแรง นับว่าเป็นปรากฏการณ์ฟอกขาวครั้งที่ 3 ในรอบ 5 ปี ส่งผลต่อปะการัง กว่า 2,300 กิโลเมตร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารและที่พักพิงให้สัตว์น้ำ อันเป็นอู่อาหารของผู้คนหลายล้าน

อุณหภูมิมหาสมุทรที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปะการังอยู่ในภาวะเครียด และขับสาหร่ายที่เป็นแหล่งพลังงานและตัวสร้างสีสันออก การฟอกขาวไม่ได้ทำให้ปะการังตายทันที ทว่าหากอุณหภูมิน้ำทะเลยังคงสูงอย่างต่อเนื่องและเกิดถี่ยิ่งขึ้น โอกาสฟื้นฟูจึงมีน้อยลง


ปะการังฟอกขาวแนวโน้มอุณหภูมิทะเลเฉลี่ยรายเดือนบริเวณแหลมพันวา ภูเก็ต แสดงให้เห็นความเป็นไปได้ที่จะเกิดปะการังฟอกขาว // ขอบคุณภาพจาก: ดร.ลลิตา ปัจฉิม สถาบันวิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ด้านประเทศไทย NOAA ได้เตือนให้เฝ้าระวังปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาว ช่วงเดือนเมษายน ? กรกฎาคม เนื่องจากอุณหภูมิเฉลี่ยทะเลรายเดือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ใกล้เคียงกับปี พ.ศ. 2538 ซึ่งเกิดปะการังฟอกขาวระดับปานกลางในเดือนเมษายน สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จะทำการเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป


https://greennews.agency/?p=20907

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม