ดูแบบคำตอบเดียว
  #10  
เก่า 07-02-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,107
Default


หลายคำถามกับปะการังฟอกขาว (2) .................. ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์




ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปะการังฟอกขาวอย่างต่อเนื่อง ทั้งการร่วมประชุมกับนักวิชาการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนการพูดคุยกับสื่อมวลชนและบุคลท่านต่างๆ ผมจึงรวบรวมคำถามและข้อมูลเหล่านั้นมาตอบไว้ในคอลัมน์นี้ เผื่อมีผู้สนใจอยากค้นคว้าอ้างอิงครับ

หลายคำถามตอบไปแล้วในสัปดาห์ก่อน แต่หนึ่งคำถามที่ยังไม่ได้ตอบชัดเจน ทั้งที่เป็นคำถามที่หลายคนอยากรู้ คือ สถานการณ์ปะการังฟอกขาวส่งผลกระทบขนาดไหน ? ปะการังตายที่ใดบ้าง ? ผมเพิ่งได้ข้อมูลล่าสุดที่สรุปโดยเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นข้อมูลที่ทำการสำรวจในเดือนธันวาคม ไม่ใช่ในช่วงปะการังฟอกขาว แต่เป็นช่วงที่ผลปรากฏชัดเจน ผมจึงจะไม่บอกว่าปะการังฟอกขาวแค่ไหน แต่จะบอกว่าปะการังตายแค่ไหน และปะการังเหลืออยู่เท่าไหร่ เช่น แนวปะการัง A 10% (50%) หมายความว่า แนวปะการัง A เดิมทีเคยมีปะการังปกคลุม 20% ปัจจุบันมีปะการังที่มีชีวิตปกคลุมพื้นที่ 10% ตัวเลขในวงเล็บ 50% คือปะการังที่ตายไปเพราะปะการังฟอกขาว

เน้นย้ำกันอีกครั้งว่านี่คือตัวเลขที่ผ่านการศึกษาและพิจารณาร่วมกันของเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลเรียบร้อยแล้ว เป็นวิธีการที่เป็นมาตรฐานเชื่อถือได้ และเป็นข้อมูลล่าสุดเท่าที่เรามี ตัวเลขเหล่านี้สามารถอ้างอิงได้ครับ

หมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา เกาะสต็อค 7.4% (78.9%) เกาะสุรินทร์เหนือ หน้าช่องขาด 3.2% (93.6%) อ่าวแม่ยายด้านเหนือ 0.1% (99.9%) อ่าวทรายแดง 8.4% (75.8%) อ่าวไม้งาม 12.5% (75%) เกาะสุรินทร์ใต้ อ่าวเต่า 11% (85%) เกาะปาชุมบา 1.1% (95%) เกาะตอรินลา 4.7% (79.1%)

หมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดพังงา เกาะสิมิลัน อ่าวประภาคาร 6.2% (89.3%) อ่าวเกือกหน้าหินใบ 11.1% (60.5%) เกาะบางู ด้านใต้ 6.5% (60.8%) เกาะปายู ตะวันออกเฉียงเหนือ 29.5% (25.9%) ปายู ตะวันตก 14.8% (49.5%) เกาะตาชัย ตะวันออก 8.6% (84%)

หมู่เกาะราชา จังหวัดภูเก็ต เกาะราชาใหญ่ ด้านเหนือ 1.4% (96.7%) ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ 20.5% (38.4%) ตะวันออก 17.5% (30.8%)

หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ อ่าวหยงกาเส็ม พีพีดอน 19.4% (51.5%) อ่าวลาน้ำ 12.7% (34.5%) แหลมตง 32.8% (36.6%) อ่าวต้นไทร 3.1% (94.9%) เกาะยูง 6.8% (88.5%) เกาะไผ่ ตะวันออก 22% (67.4%) ตะวันตก 14.9% (59.2%)

จากตัวเลขทั้งหมด จะเห็นว่าขาดไปบางพื้นที่ เช่น หมู่เกาะสิมิลัน มีรายงานจากนักดำน้ำว่าด้านตะวันตกของเกาะบอนก็ตายเยอะ และยังมีอีกหลายพื้นที่ หรือหมู่เกาะตะรุเตาตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง ? ข้อมูลที่ผมนำมาลงไว้เป็นข้อมูลล่าสุดในเดือนธันวาคม เครือข่ายนักวิจัยมีปัญญาลงไปทำแค่นี้ เพราะขาดงบประมาณในการสนับสนุน เพราะตอนนั้นกรณีปะการังฟอกขาวยังไม่เป็นข่าวให้ฮือฮา (ถึงตอนนี้เป็นข่าวก็ยังไม่มีตังค์อยู่ดี)

เรามาดูข้อมูลที่มีตัวเลขชัดเจนก่อน จะเห็นได้ทันทีว่า แนวปะการังแต่ละพื้นที่ได้รับผลกระทบไม่เท่ากัน แม้แต่แนวปะการังในเกาะเดียวกัน เช่น เกาะราชา บางแห่งก็ตายตั้ง 96% บางแห่งตายแค่ 30% เหตุผลสำคัญคือปะการังแต่ละกลุ่มทนต่อปะการังฟอกขาวไม่เท่ากัน ปะการังเขากวางจะเป็นกลุ่มที่ตายมากสุด ปะการังก้อนและปะการังเห็ดจะตายน้อยสุด แม้จะฟอกขาวแล้วแต่ก็ฟื้นกลับได้เยอะ หากแนวปะการังใดมีปะการังเขากวางเป็นปะการังกลุ่มหลัก ฟอกขาวตูมเดียวย่อมทำให้ตายเป็นเบือ หากแนวใดมีปะการังก้อนเยอะ แม้จะฟอกขาวเยอะ แต่ก็ฟื้นเยอะ เปอร์เซ็นต์ปะการังตายจึงต่ำ ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องจัดการกับแนวปะการังแต่ละแห่งแตกต่างกันไป ไม่ใช่เหมารวมปิดดะไปทุกจุด

ข้อมูลยังบอกว่า หมู่เกาะสุรินทร์คือพื้นที่ได้รับผลกระทบมากสุด ตัวเลขปะการังเกิน 75% ในทุกจุดศึกษา ถ้าดูตัวเลขปะการังที่เหลืออยู่ ยิ่งทำให้ใจสั่น ไม่มีที่ไหนมีปะการังเหลือเกิน 10% (เฉพาะจุดศึกษา) แถมหมู่เกาะสุรินทร์ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำตื้นสำคัญสุดของไทย ใครไปก็ล้วนแต่ประกอบกิจกรรมใส่ชูชีพใส่หน้ากากลอยตุ๊บป่องชมปะการัง การอนุรักษ์และการจัดการในอนาคตต้องให้ความสำคัญกับที่นี่เป็นอันดับแรก ระดมสมองและทุ่มทุกอย่างลงไป ผมเขียนได้แค่นี้น้ำตาก็พาลจะไหล เฮ้อ...

ผมดำน้ำที่นั่นเป็นครั้งแรกในพ.ศ.2524 จากนั้นก็ไปทำงานไม่รู้กี่ร้อยวันต่อเนื่องกันเกินยี่สิบปี ภาพดงปะการังเขากวางมหัศจรรย์ที่เกาะตอรินลา เกาะปาชุมบา และอีกหลายเกาะ ยังคงติดตา จึงอยากบอกชัดเจนว่า หากเป็นแนวคิดของผม ผมจะหยุดการพาคนขึ้นไปค้างบนเกาะชั่วคราว (บ้านพักของอุทยานทั้งหมด ผู้ประกอบการไม่เดือดร้อน) เปลี่ยนเป็นการท่องเที่ยวเดย์ทริป แต่ต้องควบคุมอย่างดีตามจุดที่กำหนด ตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งและขยะในพื้นที่หมู่บ้านชาวเล จัดตั้งคณะกรรมการหลายฝ่ายเพื่อช่วยกันดูแลหมู่เกาะสุรินทร์โดยเฉพาะ

มาถึงหมู่เกาะอื่นๆ ปัญหาไม่หนักหนาเท่าหมู่เกาะสุรินทร์ แต่เราก็ยังต้องมีการจัดการบางอย่างที่ต้องทำครับ เช่น การควบคุมถังเก็บน้ำทิ้งในเรือทัวร์ดำน้ำ (ขนาดใหญ่) การร่วมด้วยช่วยกันลดตะกอนและน้ำเสียจากชุมชนและรีสอร์ทบนหมู่เกาะบางแห่ง เช่น เกาะราชา พีพีดอน ฯลฯ

เรื่อยลงมาทางใต้ แม้ไม่มีข้อมูลตัวเลข แต่พอสรุปว่าสถานการณ์ปะการังตายไม่รุนแรงเหมือนทางเหนือ อย่างไรก็ตาม จะวางใจไม่ได้ โดยเฉพาะพื้นที่บางแห่งที่เคยเป็นแหล่งดำน้ำตื้นที่สำคัญ เช่น หาดทรายขาว เกาะราวี ถือเป็นจุดดำน้ำหลักในพื้นที่เลยก็ว่าได้ ในบริเวณนั้นปะการังตายค่อนข้างเยอะ แต่สำคัญกว่านั้นคือสาหร่ายที่ขึ้นมาคลุมแนวปะการังค่อนข้างมาก ควรต้องมีการระดมสมองหาทางร่วมกันเป็นพิเศษ นอกจากนี้ เราอาจช่วยกันตรวจสอบและดูแลบำบัดน้ำจากเกาะหลีเป๊ะที่อยู่นอกเขตอุทยาน ท้องถิ่นและผู้ประกอบการจะมีส่วนร่วมเป็นอย่างมากในกรณีนี้ เราคงยังต้องดูปัญหาเดียวกันในหมู่เกาะบุโหลน

ผมกล่าวถึงแนวปะการังเฉพาะเขตอันดามัน เพราะข้อมูลฝั่งอ่าวไทยยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ อีกทั้งยังพอมีเวลาในเรื่องการปรับตัวของผู้ประกอบการ เนื่องจากฤดูท่องเที่ยวในอ่าวไทยจะเริ่มต้นในเดือนพฤษภาคม (อ่าวไทยฝั่งตะวันตก) เมื่อไหร่ที่ได้ข้อมูลมา จะรีบอธิบายให้คุณทราบครับ

ท้ายสุดคือสรุปแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการกับสถานการณ์ปะการังฟอกขาว เพื่อเป็นตุ๊กตาให้พิจารณาครับ มิใช่ระดมสมองครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ไม่มีจุดเริ่มต้นสักที



(มีต่อ)

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม