ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 03-09-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,115
Default

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


ส่องประเด็นขยะพลาสติกล้นเมืองช่วงโควิด ที่ Road map อาจไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหา? ............ ต่อ


สินค้าหลายๆชนิดในห้างสรรพสินค้ามักถูกห่อหุ้มด้วยพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ? Patrick Cho / Greenpeace

ต้องมองให้ไกลกว่าการผลิตสินค้าเพื่อนำมาวางขายบนชั้นวางของ ต้องมองให้ลึกว่าผลิตภัณฑ์นั้นส่งผลเสียต่อระบบนิเวศมากน้อยเพียงใด และในฐานะผู้ผลิตซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ต้นน้ำจะสามารถรับผิดชอบสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภคได้อย่างไรบ้าง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมบทบาทของผู้บริโภคตามหลัก 7R ได้แก่ Reduce (ลดการใช้พลาสติก) Reuse (ใช้ซ้ำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้) Refill (เลือกนำภาชนะส่วนตัวไปเติม ณ จุดเติมสินค้า) Return (เลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าที่มีระบบมัดจำสินค้า เช่น ซื้อเครื่องดื่มในขวดแก้วที่นำไปคืนร้านค้าเมื่อดื่มหมดแล้ว แล้วได้เงินคืน) Repair (ใช้อย่างทะนุถนอม ซ่อมแซมเท่าที่ทำได้) Replace (เลือกใช้สิ่งอื่นแทนพลาสติก) และ Recycle (แยกขยะให้เป็นนิสัย บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกที่รีไซเคิลได้จะได้เข้าสู่ระบบรีไซเคิล) จะเห็นได้ว่า แม้ว่าผู้บริโภคจะมีบทบาทในการลดใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง แต่ก็ยังต้องการความร่วมมือจากภาคธุรกิจด้วยเช่นกัน ในการสร้างระบบรองรับเพื่อให้การลดพลาสติกเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง

ในวันนี้เราอาจจะยังไม่รู้สึกว่าขยะพลาสติกนั้นเป็น "ผู้ร้าย" ที่ทำลายสิ่งแวดล้อม โลก ระบบนิเวศ และตัวเราเอง และอาจยังมองว่าเราไม่ใช่ "ตำรวจ" ที่จะต้องจับผู้ร้าย แต่แท้จริงแล้วการจับผู้ร้ายต้องเป็นหน้าที่ของตำรวจคนเดียวหรือไม่? เป็นบทบาทหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งจริง ๆ หรือว่าควรจะเป็นหน้าที่ของคนทุกคนในสังคม

ขอให้บทความนี้ทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงการมีอยู่ของพลาสติก เปิดพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็น จนนำไปสู่การถกเถียงถึงผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อมลพิษพลาสติก และร่วมส่งเสียงบอกผู้ผลิต ภาคเอกชน และภาครัฐให้หันมาจัดการปัญหาขยะพลาสติกพร้อมกันอย่างเป็นระบบ


https://www.greenpeace.org/thailand/...19-situations/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม