ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 16-05-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,116
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


"เกาะลิบง" ใช้บทเรียน "มาเรียม" วาง "เขตอภัยทาน" อนุรักษ์พะยูน


ภาพชาวบ้านจังหวัดกระบี่ให้การช่วยเหลือ มาเรียม พะยูนเคราะห์ร้ายพลัดหลงแม่เกยตื้น ก่อนนำไปปล่อยในทะเลตรัง กระทั่งสิ้นใจตายเพราะกินพลาสติก.


ยังจำกันได้ไหม...? ช่วงปลายเดือน เม.ย.62 ที่ผ่านมา

ปธน.บราซิลยันเตรียมคลายล็อกดาวน์โควิด แม้ยอดตายยังสูงจนโลงไม่พอ
'สมุย' เปิดเกาะ สนามบินกลับมาให้บริการ จัดเข้มจุดตรวจคัดกรอง
"สาธิต" ตรวจเยี่ยมภูเก็ต พบเป็นศูนย์ 13 วันแล้ว พร้อมเปิดเกาะรับ นทท.
ลูกพะยูนกำพร้าเพศเมียที่ชื่อว่า "น้องมาเรียม" วัย 7-8 เดือน พลัดหลงแม่เข้ามาเกยตื้นในพื้นที่ จ.กระบี่ ได้ครองใจผู้คนในโซเชียลเป็นอย่างมาก เพราะความน่ารักและเรื่องราวของความ สู้ชีวิต เพื่อความอยู่รอด

เจ้าหน้าที่นำไปเลี้ยงในพื้นที่ธรรมชาติเขาบาตู หมู่เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง มีชาวบ้านในพื้นที่ช่วยกันอนุบาลให้สามารถเติบโตและมีชีวิตรอดในท้องทะเล

จนเกิดเป็นเรื่องราวความผูกพันระหว่างมนุษย์และสัตว์ทะเลตัวหนึ่ง ส่งผลทำให้มีกำลังใจจากผู้คนส่งไปยัง ?มาเรียม? มากมาย มีการจัดโครงการเพื่อระดมทุนช่วยเหลือ

มีการนำเสนอข่าวพัฒนาการของเจ้ามาเรียมอย่างต่อเนื่อง จนผู้คนในสังคมรับรู้แนวคิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะทะเลไทย ผ่านการเฝ้ามองชีวิตของมาเรียมเป็นอย่างมาก


ป้ายที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จ.ตรัง สังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

แต่ความหวังของมนุษย์กลับมลายหายไป เมื่อ "มาเรียม" ต้องจากโลกนี้ไปอย่างน่าเสียดาย สร้างความสะเทือนใจให้กับผู้คนเป็นอย่างมาก ผลชันสูตรของทีมสัตวแพทย์ ลงความเห็น "มาเรียม" จากเราไปด้วยอาการช็อก

ที่สำคัญพบเศษพลาสติกเล็กๆหลายชิ้นขวางลำไส้ จนอุดตันบางส่วนและอักเสบ ทำให้มีแก๊สสะสมเต็มทางเดินอาหาร แถมติดเชื้อในกระแสเลือด และปอดเป็นหนองด้วย

การตายของ "น้องมาเรียม" ทำให้ผู้คนตระหนักว่า มนุษย์จะต้องเลือกใช้ชีวิตในแบบที่ไม่รบกวนสัตว์และธรรมชาติมากขึ้น รวมไปถึงกระตุ้นให้ภาครัฐเอาจริงกับการออกกฎหมายด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก

มาถึงวันนี้...วันเวลาผ่านไปครบขวบปีเศษ เรื่องราวสะเทือนใจเกี่ยวกับ ?น้องมาเรียม? ยังไม่จากหาย ประกอบกับมีวิกฤติเชื้อไวรัสโควิด-19 ระบาดจนต้องปิดเกาะ ส่งผลทำให้ทะเลตรังอุดมสมบูรณ์ น้ำใสทะเลสวย


เจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ภาคีเครือข่ายประมงพื้นบ้าน และชาวบ้านเกาะลิบง ร่วมกันวางทุ่นไข่ปลาระยะทาง 1 กม. บริเวณแหลมจุโหย.

เจ้าหน้าที่อุทยานฯพลิกวิกฤติเป็นโอกาส ถอดบทเรียน "น้องมาเรียม" จัดวางทุ่นไข่ปลายาว 1 กม.เนื้อที่กว่า 2,000 ไร่ บริเวณแหลมจุโหย ต.เกาะลิบง เป็นพื้นที่ที่มีแหล่งหญ้าทะเลใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

อีกทั้งพบว่ามีฝูงพะยูนอาศัยมากที่สุดในประเทศด้วย จึงได้กำหนด "เขตอภัยทาน" เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ และที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำหายาก

"สิ่งที่คาดหวังคือ...อยากให้ตรงนี้เป็นเขตที่เหล่าสัตว์น้ำได้อยู่อย่างสงบจริงๆ ทางเจ้าหน้าที่ได้ทำความเข้าใจกับพี่น้องชาวเกาะลิบงเรียบร้อยแล้ว ส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยที่ให้มีเขตอภัยทานขึ้น"

เป็นคำกล่าวของ นายชัยพฤกษ์ วีระวงศ์ หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ภายหลังนำเจ้าหน้าที่ร่วมกับตัวแทนประมงพื้นบ้าน และชาวบ้านเกาะลิบงร่วมกันวางทุ่นไข่ปลาบริเวณแหลมจุโหย หมู่ 1 ต.เกาะลิบง

เป้าหมายเพื่อกำหนดพื้นที่คุ้มครองแหล่งหญ้าทะเล พะยูน รวมถึงเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเลหายาก ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการทำประมง การท่องเที่ยว และการขนส่งสินค้าทางทะเล

พร้อมเดินหน้าบริหารจัดการคุ้มครองพื้นที่ให้เข้มข้นอย่างเป็นระบบและครอบคลุม เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรชายฝั่ง และสัตว์ทะเลหายากประเภทเต่าทะเล โลมา และพะยูน


นักท่องเที่ยวแห่ชมพะยูน บนยอดเขาโต๊ะเต๊ะ หมู่ 4 บ้านบาตูปูโต๊ะ ที่มองเห็นพะยูนว่ายน้ำเข้ามาหากินได้ชัดเจน.

"เป็นการร่วมมือกับพี่น้องชาวเกาะลิบง เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กำหนดเป็นเขตอภัยทาน ห้ามล่าหรือทำการประมง ขณะเดียวกันยังเป็นแหล่งที่พะยูนอยู่กันเป็นกลุ่ม 20-30 ตัว จึงต้องสงวนที่ตรงนี้พิเศษ" นายชัยพฤกษ์ กล่าวย้ำ

นายชัยพฤกษ์ กล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้มีการใช้โดรนบินสำรวจก็พบฝูงพะยูนประมาณ 10-20 ตัว กระจายตัวเป็นเดี่ยวและเป็นคู่บริเวณอ่าว ทุ่งจีน หน้าเขาบาตูปูเต๊ะ ตั้งแต่ต้นปีเจ้าหน้าที่พบเจอพะยูนคู่แม่ลูกทั้งหมด 15 คู่ เพิ่มมากกว่าปี 62

จะเห็นได้ว่าสถิติการเพิ่มประชากรของพะยูนมีมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะนี้จากข้อมูลมีประชากรพะยูนรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 250 ตัว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ทำให้ธรรมชาติสงบขึ้นมีเวลาพักฟื้นฟู

เพราะกิจกรรมของมนุษย์น้อยลงทำให้สัตว์ทะเลหายากต่างๆมีความสงบ ภัยคุกคามน้อยลง พะยูน เต่าทะเล ปลาโลมา ช่วงนี้จะเห็นบ่อยมากขึ้น

ส่วนแหล่งหญ้าทะเลที่มีเนื้อที่ประมาณ 18,000 ไร่ ตอนนี้ทางเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบงได้วางทุ่นไข่ปลาไปแล้ว 40-50 ลูก ตั้งแต่บริเวณทุ่งจีน หาดมดตะนอย หน้าแหลมจุโหย รวมทั้งหมด 7,000 ไร่

เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมกับพี่น้องชาวเกาะลิบง พลิกวิกฤติเป็นโอกาสได้อย่างเหมาะสมยิ่ง.


https://www.thairath.co.th/news/local/south/1845084

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม