ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 13-10-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,234
Default

ขอบคุณข่าวจาก โพสต์ทูเดย์


โครงการสะพานไทย 9.9 แสนล้านบาท....โจทย์คืออะไร ...................... คอลัมน์ 'เศรษฐกิจรอบทิศ'



ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศมีท่าทีจะถดถอยและหรือชะลดตัวต่อเนื่องไปอย่างน้อย 2-3 ปี การลงทุนของภาคเอกชนหดตัวสะท้อนจากการลงทุนทางตรงผ่านการยื่นขอส่งเสริมการลงทุนช่วง 8 เดือนที่ผ่านมามีมูลค่า 6.2 หมื่นล้านบาท ขณะที่การลงทุนของภาครัฐในโครงการขนาดใหญ่ต่าง ๆ โดยเฉพาะรถไฟฟ้าในพื้นที่กทม.และเชื่อมโยงปริมณฑลในช่วงคสช.ต่อเนื่องมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบันมีนับเป็นสิบสายจนไม่รู้จะทำที่ไหนอีกแล้ว มีการฟื้นโครงการในอดีตแต่เล็ก ๆ ไม่ทำปรับใหม่เป็นอภิมหาโปรเจคเริ่มจากการผลักดันของรมว.คมนาคมเดือนกันยายนเสนอสร้างโครงการสะพานเศรษฐกิจภาคใต้หรือ "Southern Land Bridge" เป็นการสร้างถนนมอเตอร์เวย์และทางรถไฟฟ้าระยะทางประมาณ 120 ก.ม. เชื่อมสองฝั่งทะเลเพื่อให้เรือสินค้าขนาดใหญ่ที่มาจากยุโรปไม่ต้องผ่านช่องแคบมะละกาหรือแวะจอดท่าเรือสิงคโปร์

โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกระนองที่สร้างมานานแล้วแต่ไม่ค่อยคุ้มค่าเพราะเรือมาเทียบน้อยให้กลายเป็นท่าเรือระดับโลก ขณะเดียวกันจะสร้างท่าเรือที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพรให้เป็นท่าเรือน้ำลึกฝั่งอ่าวไทย โดยจะมีระบบเปลี่ยนถ่ายตู้สินค้าคอนเทนเนอร์จากเรือลงรถบรรทุกหรือรถไฟไปขึ้นอีกท่าเรือหนึ่งเพื่อเปลี่ยนเรือที่เรียกว่า "Inter Model Transhipment" โครงการนี้ใช้เงินประมาณ 6-7 หมื่นล้านบาทซึ่งครม.มีมติให้งบประมาณไปศึกษา ต่อมาช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมาคุณสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงานฯ ออกมาเปิดตัวโครงการศึกษาสะพานไทยเป็นโครงการภายใต้ "อีอีซี" ด้วยการสร้างสะพานข้ามอ่าวไทยจากจังหวัดชลบุรีเชื่อมจังหวัดเพชรบุรีระยะทาง 80-100 กิโลเมตรจากนั้นมีโครงการสร้างสะพานเลาะชายฝั่งทะเลผ่านจังหวัดต่าง ๆ ตามโครงการที่ออกมาระบุว่าจะไปเชื่อมกับท่าเรือชุมพรซึ่งจะไปรับกับ "Southern Land Bridge" เชื่อมโยงกับท่าเรือระนองโครงการนี้มีมูลค่า 9.9 แสนล้านบาทเป็นโครงการที่ใช้งบประมาณมากสุดเท่าที่เคยมีในประเทศไทย

เหตุผลของการลงทุนครั้งนี้ระบุว่าจะเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าจากแหลมฉบังเชื่อมต่อกับท่าเรือระนองเพื่อให้เป็นทำให้เป็นทางเลือกในการนำเข้า-ส่งออกที่ค้าขายกับประเทศที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกที่เรือจะต้องอ้อมแหลมมะละกาและมาเปลี่ยนถ่ายเรือที่ท่าเรือสิงคโปร์ให้กลับมาใช้ท่าเรือระนองแล้วขนถ่ายขึ้นบกไปส่งมอบสินค้าตามจุดหมายปลายทางในประเทศ หากจะไปต่อเรือก็สามารถเชื่อมโยงกับท่าเรือแหลมฉบังโดยหวังว่าจะเป็นการกระจายความมั่งคั่งจากอีอีซีไปสู่ภาคใต้ตอนบนและจะมีอุตสาหกรรมไปลงทุนในพื้นที่ ขณะเดียวกันจะเป็นการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากพัทยาให้มาเที่ยวทั้งจังหวัดเพชรบุรี หัวหิน จังหวัดชุมพร จนไปถึงระนองเป็นการกระจายความเจริญจากภาคตะวันออกมาเชื่อมกับชายฝั่งทะเลภาคใต้ทั้งอ่าวไทยและอันดามัน โครงการนี้ไม่ใช่พูดกันเล่น ๆ เพราะนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้มีการศึกษาความเป็นไปได้และมีการจัดสรรงบประมาณให้ทำการศึกษาและให้เป็นโครงการอยู่ภายใต้อีอีซี

ประเด็นคือโครงการสะพานไทยกับ "Southern Land Bridge" จะเชื่อมต่อกันหรือไม่ เพราะออกมาคนละเวทีแต่ดูเหมือนว่าจะมีการให้เชื่อมโยงกัน โครงการนี้ใช้เงินเกือบหนึ่งล้านล้านบาทเป็นการลงทุนระยะยาวเฉพาะเป็นระยะเวลาก่อสร้างมากกว่า 10 ปี โจทย์ต้องชัดเจนว่าสร้างเพื่ออะไร ผลลัพธ์อยู่ตรงไหน ความคุ้มค่าของการลงทุนและปัจจัยความเสี่ยงมีอะไรบ้าง การกล่าวว่าจะเป็นคอนเทนต์ของคนไทยจะช่วยโรงปูนโรงเหล็กเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจคิดแค่นี้คงไม่ใช่เพราะอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์ล้วนเป็นอุตสาหกรรมกึ่งผูกขาดขนาดใหญ่แต่ SMEs และชาวบ้านไม่ได้อะไรหรือได้ก็แค่จิ๊บจ๊อย หากต้องการลดต้นทุนโลจิสติกส์การขนส่งในประเทศและหรือส่งเสริมการท่องเที่ยวแค่สร้างสะพานเชื่อมพัทยากับหัวหินซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของสองฝั่งอ่าวไทยก็น่าจะพอเพียงแล้วและลดระยะทางได้ไม่น้อยกว่า 400 กิโลเมตรขณะเดียวกันสะพานไทยก็จะกลายเป็น "Landmark" ของประเทศ


https://www.posttoday.com/economy/columnist/635275


*********************************************************************************************************************************************************


นี่ไม่ใช่หิมะแต่คือมลภาวะในแม่น้ำยมุนา

ภาพมลภาวะที่เกิดขึ้นกับแม่น้ำที่ครั้งหนึ่งเคยมีสีฟ้าใสแต่กลายเป็นที่ทิ้งขยะจากเมืองหลวงของอินเดีย



ภาพเหล่านี้ไม่ใช่หิมะสีขาวสะอาดตาแต่เป็นฟองที่เกิดจากมลภาวะในแม่น้ำยมุนาช่วงที่ไหลผ่านกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย นอกจากฟองที่ลอยฟ่องไปทั่วแม่น้ำแล้วริมตลิ่งยังเต็มไปด้วยขยะมากมาย

ในปีพ. ศ. 2452 น่านน้ำของแม่น้ำยมุนามีสีฟ้าใส แต่เพราะการเติบโตของประชากรที่หนาแน่นและการขยายตัวทางอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ยมุนาจึงกลายเป็นแม่น้ำที่มีมลพิษมากที่สุดแห่งหนึ่งในอินเดียและในโลก และแม่น้ำยมุนาเป็นแหล่งมลพิษทางปลายน้ำของนิวเดลีซึ่งทิ้งของเสียประมาณ 58% ลงในแม่น้ำ



โดยรวมแล้วแม่น้ำยมุนารับน้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัด 800 ล้านลิตรและน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมอีก 44 ล้านลิตรในแต่ละวัน

แม่น้ำยมุนามีมลภาวะที่น่าวิตก เจ้าหน้าที่อินเดียระบุว่าแม่น้ำแห่งนี้มีสภาพเป็น "ท่อระบายน้ำเสีย" ที่มีค่าความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี (BOD) หรือค่าที่บอกคุณภาพของน้ำ ตั้งแต่ 14 ถึง 28 มก. / ล. ซึ่งค่าบีโอดีสูง แสดงว่าน้ำมีคุณภาพไม่ดี นอกจากนี้แม่น้ำยมุนายังมีปริมาณโคลิฟอร์มสูงด้วย



ทั้งนี้ เป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศอินเดีย ได้ชื่อว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู มีต้นกำเนิดทางภาคเหนือของอินเดียบริเวณเทือกเขาหิมาลัย ไหลขนานกับแม่น้ำคงคาไปทางตะวันออกเฉียงใต้ และไปรวมกันที่เมืองอัลลอฮาบาดในอินเดีย แม่น้ำยมุนาแห่งอินเดียมีความยาวประมาณ 1,376 กิโลเมตร


https://www.posttoday.com/world/635239

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม