ดูแบบคำตอบเดียว
  #17  
เก่า 21-08-2009
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,158
Default

เดลินิวส์


กรมประมงคุมเข้มการนำเข้าสัตว์น้ำต่างถิ่น

สิ่งมีชีวิตประเภทหนึ่ง อาจเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตธรรมดา ๆ ที่ไม่อาจรุกรานใครได้ แต่เมื่อย้ายถิ่นฐานไปยังถิ่นอื่น จะเบียด บังสิ่งมีชีวิตอื่นที่อาศัยอยู่ก่อนแล้ว จนต้องถอย ร่นให้กับผู้มาใหม่ที่รุกราน สิ่งมีชีวิตประเภทนี้เรียกว่า “เอเลี่ยนสปีชีส์”

ภาวะคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพของโลก ประเด็นหนึ่ง คือ การนำเข้าและการแพร่ระบาดของชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นรุกราน สำหรับประเทศไทยได้มีการนำเข้าชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นจากต่างประเทศมาก มายหลาย สายพันธุ์ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันโดยอาจนำมาเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์น้ำสวยงาม จำหน่าย หรือนำมาพัฒนาปรับปรุงพันธุ์เพื่อการบริโภค กิจกรรมมากมายของมนุษย์ได้ชักนำให้ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นเข้าสู่ พื้นที่ใหม่ที่ไม่อาจไปถึงได้โดยวิถีทางธรรมชาติ ซึ่งการแพร่ระบาดของสัตว์น้ำต่างถิ่นรุกรานก่อให้เกิดการสูญเสียต่อความหลาก หลายทางชีวภาพ โดยเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศและทำให้ชนิดพันธุ์ท้องถิ่นสูญพันธุ์และยังมีผล กระทบเชื่อมโยงไป ถึงด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสุข อนามัย

เมื่อสัตว์น้ำต่างถิ่นหลุดรอดลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติแล้วจะสามารถ ปรับตัวและเจริญเติบโตหรือแทนที่ชนิดพันธุ์พื้นเมืองที่อยู่อาศัยในพื้นที่ ได้ดี บางชนิดสามารถแพร่พันธุ์เพิ่มจำนวนได้รวดเร็วและแพร่กระจายไปได้ทั่ว อาจก่อให้เกิดผลกระทบในภาพรวม อาทิ การล่าปลาพื้นเมืองกินเป็นอาหาร เป็นตัวแก่งแย่งถิ่นที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร แหล่งวางไข่ของปลาพื้นเมืองเดิม และอาจนำโรคหรือปรสิตมาสู่คนได้

สำหรับสัตว์น้ำต่างถิ่นที่รุกรานแล้ว ตามทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ควรป้องกัน ควบคุม และกำจัดของไทย ได้แก่ ปลาช่อนอเมซอน หอยเชอรี่ ปลาซัคเกอร์ ปลาดุกแอฟริกัน ปลาหมอเทศ เต่าญี่ปุ่น ตะพาบไต้หวัน และสัตว์น้ำต่างถิ่นที่มีแนวโน้มรุกราน ได้แก่ ปลาหมอสียักษ์ ปลาจะละเม็ดน้ำจืด ปลาคู้ดำ ปลาแกมบูเซีย ปลากดหลวง ปลาเรนโบว์เทร้าท์ ปลาหางนกยูง ปลามอลลี่ ปลาเซลฟิน กบ บลูฟร็อก และกุ้งเครย์ฟิช

ทั้งนี้ กรมประมงได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว ในส่วนของการควบคุมและกำกับดูแลได้ดำเนินการปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาห้ามมิให้ นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาฯ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2547 และมีผลบังคับใช้แล้ว นอกจากนี้ ยังได้มีคณะกรรมการระดับสถาบันด้านความปลอดภัย และความหลากหลายทางชีวภาพของกรม ประมงคอยกำกับดูแลและพิจารณาอนุมัติการนำเข้าสัตว์น้ำต่างถิ่นที่ผู้นำเข้า เสนอขออนุญาตต่อกรมประมงอีกทางหนึ่ง เพื่อจะได้ควบคุมการนำเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่นมิให้มีผลกระทบต่อทรัพยากร ชีวภาพสัตว์น้ำของชาติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่การปฏิบัติอย่างได้ผลคงจะต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทั้งผู้นำ เข้า ผู้เลี้ยง ตลอดจนประชาชนทั่วไป

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการช่วยกันเฝ้าระวังการเพิ่มจำนวนของสัตว์น้ำต่างถิ่นในแหล่ง น้ำธรรมชาติ ทางกรมประมงแจ้งมาว่าอยาก ให้ผู้ที่มีสัตว์น้ำต่างถิ่นในครอบครอง ไม่ปล่อย สัตว์น้ำดังกล่าวลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติโดยเด็ดขาด เพื่อรักษาระบบนิเวศให้คงอยู่ตลอดไป ในกรณีที่ไม่สามารถเลี้ยงและดูแลต่อไปได้ เช่น มีขนาดใหญ่กว่าภาชนะที่เลี้ยง หรือมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ควรส่งมอบให้กับกรมประมงเพื่อดำเนินการบริหารจัดการต่อไป.


วันที่ 21 สิงหาคม 2552

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม