ดูแบบคำตอบเดียว
  #8  
เก่า 05-03-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,310
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


เตือนภัย กทม. ปี 73 หากไม่ทำอะไร คาร์บอนพุ่ง 53 ล้านตัน สูงขึ้น 23% ............... โดย จุลวรรณ เกิดแย้ม


KEY POINTS

- พ.ศ.2561 กรุงเทพฯ มีการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก เท่ากับ 43.73 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

- กิจกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1.การขนส่งทางถนน 2. การใช้พลังงานในธุรกิจการค้าและหน่วยงานรัฐ 3. การใช้พลังงานในอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง 4.การใช้พลังงานในที่พักอาศัย 5.การจัดการของเสียที่เกิดในพื้นที่ด้วยวิธีฝังกลบ

- หากไม่มีการดำเนินการใดๆ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปี 2573 จะเท่ากับ 53,935,683 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า การเติบโตทางด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 23%




พ.ญ.วนัทนีย์ วัฒนะ ปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวในงาน เวทีผู้นำ "Climate Action Leaders Forum รุ่น 3" หรือ CAL Forum #3 ว่า สัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกรุงเทพฯ ใน พ.ศ.2561 ผลการรวบรวมข้อมูลกิจกรรม และประเมินข้อมูลก๊าซเรือนกระจกของกรุงเทพมหานครปี พ.ศ.2561 กรุงเทพฯ มีการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก เท่ากับ 43.73 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (MtCO2e) ซึ่งภาคพลังงาน (Stationary Energy) นั้นเป็นกลุ่มกิจกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด

โดยกิจกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด 5 อันดับแรก (96.66%) คือ 1.การขนส่งทางถนน 28.58% 2.การใช้พลังงานในธุรกิจการค้า และหน่วยงานรัฐ 25.65% 3.การใช้พลังงานในอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง 18.37% 4.การใช้พลังงานในที่พักอาศัย 13.98% 5.การจัดการของเสียที่เกิดในพื้นที่ด้วยวิธีฝังกลบ และเป็นกิจกรรมที่มีนัยสำคัญต่อการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกรุงเทพฯ ในอนาคต 10.08%

ทั้งนี้หากไม่มีการดำเนินการใดๆ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปี 2573 จะเท่ากับ 53,935,683 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า การเติบโตทางด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 23%

ทาง กทม. ได้มีแผนแม่บทว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ.2564 - 2573 โดยกรอบทำงานคือ การกำหนดดังนี้

วิสัยทัศน์กรุงเทพฯ และเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีระดับชาติ ระดับประเทศ และระดับเมือง โดยแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี รวมถึงแผนแม่บทกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นตัวกำหนดโดยระบุว่าภายในปี พ.ศ.2575 คุณภาพแหล่งน้ำธรรมชาติ ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีแนวโน้มคุณภาพดีขึ้น และ มีปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ (DO) ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตในน้ำ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ กรุงเทพมหานคร มีการบริหารจัดการมูลฝอยและของเสียอันตรายด้วยแนวคิดขยะเหลือศูนย์ (Zero waste management) โดยการนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle) และทำให้ขยะเหลือน้อยที่สุด และกำจัดที่เหลือ (residue) ด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิผล กรุงเทพมหานคร มีคุณภาพอากาศที่เหมาะสม ต่อการดำรงชีวิต มีฝุ่นละอองและสารเจือปน ไม่เกิน ค่ามาตรฐาน และระดับเสียงที่เกิดจากยานพาหนะ เครื่องจักรกล รวมถึงเสียงที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ใน ทุกพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ไม่เกินค่ามาตรฐาน

การรายงานข้อมูลก๊าซเรือนกระจกของกรุงเทพฯ และการคาดการณ์ จนถึงการประเมินความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปฏิบัติการด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยแผนแม่บทกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2564 - 2573 เป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก (GHG) 19 % ปีฐาน 2561ภายในปี 2573 จะเป็น Net Zero GHG Emission


มาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ในภาพรวม รายภาค และมาตรการที่ดำเนินการโดย กทม. โครงสร้างเชิงสถาบัน และการบริหารจัดการกลไกการกำกับ และขับเคลื่อนแผน 5 ภาคส่วน รวมถึงออกมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายภาค ดังนี้ ภาคพลังงานดำเนินการโดย กทม. 24 โครงการ ภาคการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 6 มาตรการ ภาคขนส่ง และจราจร 14 มาตรการ และภาคการจัดการขยะและน้ำเสีย 8 มาตรการ


กลไกการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน

ด้วยเป้าหมายการลดและดูดซับก๊าซเรือนกระจกใน พ.ศ.2573 จะลดคาร์บอน 10.15 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 19% แบ่งเป็น 1.ภาคจัดการขยะและน้ำเสีย 0.6 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 10% 2.ภาคขนส่งและจราจร 4.00 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 28% 3. ภาคพลังงาน 5.55 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 16% และ 4.ภาคการวางผังเมืองสีเขียว 0.01 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 16%

ทั้งหมดนี้เป็นแผน และมาตรการที่จะทำให้เมืองหลวงของประเทศเป็นเมืองที่น่าอยู่ ในด้านของสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน และก้าวขึ้นสู่การเป็น "มหานครแห่งเอเชีย" อย่างยั่งยืน


https://www.bangkokbiznews.com/environment/1115934

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม