ดูแบบคำตอบเดียว
  #7  
เก่า 15-12-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,355
Default

ขอบคุณข่าวจาก คม ชัด ลึก


อีก 20 ปี WHO ระบุ 'การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ' ทำคนตายทะลุ 2.5 แสนราย



WHO ระบุ 'การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ' ภาวะอากาศสุดขั้วจะทำคนตายมากถึง 2.5 แสนคนในอีก 20 ปีข้างหน้า อากาศที่ร้อนขึ้นเพิ่มจำนวนแมลงที่เป็นพาหะนำโรคติดต่อให้มากขึ้น ผู้คนขาดแคลนอาหาร

องค์การอนามัยโลก (WHO)เผยแพร่บทความผลกระทบจากภาวะ "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ที่มีผลต่อมนุษยชาติ ธรรมชาติ รวมไปถึงอาหาร และระบบสาธารณะสุข โดยระบุว่า "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" กลายเป็นภัยคุกคามขั้นพื้นฐานต่อ ที่่ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ทั้งทางด้านสภาพแวดล้อม และด้านกายภาพ รวมไปถึงสภาพสังคม เศรษฐกิจและการทำงานของระบบบสุขภาพ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศจะส่งผลต่อสภาพอากาศ การเกิดพายุบ่อยและรุนแรงมากขึ้น และสภาพอากาศที่ร้อนจัด น้ำท่วม ความแห้งแล้งและไฟป่า เหล่านี้จะกลับมาทำลายสุขภาพของประชากรมากเป็นทวีคูณ เพราะผลกระทบทั้งหมดที่มาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีผลทั้งทางและทางอ้อม ที่จะช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต การเกิดโรคไม่ติดต่อ การแพร่กระจายของเชื้อโรคติดต่อ ส่งผลให้เกิดภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ

นอกจากนี้ยังมีผลต่อระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพ บุคคลกร ทำให้ความสามารถในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าลดลง (UHC) โดยพื้นฐานแล้ว "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม สุขภาพกายเท่านั้น แต่ปัญหาที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอาาศที่ส่งผลกระทบไปถึงความสะอาดของอากาศ น้ำ ดิน ระบบอาหาร และวิถีชีวิตของผู้คน ยังมีผลทำให้มีความเครียดเพิ่มขึ้น และกระทบต่อสุขภาพจิตด้วย ทั้งนี้ความล่าช้าในการจัดการปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เนินนานกว่าทศวรรษ รวมทั้งการฝ่าฝืนคำมั่นสัญญานานาประเทศให้ร่วมกันรับรองสิทธิมนุษยชนด้านสุขภาพ จะยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพของทุกคนมากยิ่งขึ้น


"การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร

งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้คน 3.6 พันล้านคนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงต่อ "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ระหว่างปี 2573-2593 มีความเสี่ยงที่จะมีคนล้มตายมากกว่า 250,000 รายต่อปี จากภาวะเผชิญกับภาวะโภชนาการไม่เพียงพอ มาลาเรีย ท้องร่วง และความเครียดจากอากาศที่ร้อนจัด

นอกจากนี้รายงานการประเมินจาคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) สรุปเอาไว้ว่า ความเสี่ยงและผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงกว่าที่มีการคาดการไว้ ผู้คนจะปรับตัวได้ยากขึ้นเมื่ออุณหภูมิโลกร้อนขึ้น

รายงานยังระบุอีกว่าผู้คนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยโดยเฉพาะในประเทศรายได้น้อยและประเทศกำลังพัฒนา พื้นที่ที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ซึ่งนับว่าเป็นพื้นที่ที่เปราะบางมาก แม้ว่าจะมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณน้อย ก็พื้นที่เหล่านี้ก็มีอัตราการเสียชีวิตจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วสูงกว่าประเทศที่เปราะบางน้อยกว่ามากถึง 15 เท่า

"การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" แบบสุดขั้วนำไปสู่การเจ็บป่วย เสียชีวิต บ่อยครั้งที่การเกิดคลื่นความร้อน พายุ น้ำท่วม ส่งผให้ระบบอาหารชะงักลง นอกจากนี้ยังส่งผลไปถึงการเพิ่มขึ้นของสัตว์ที่กลายเป็นพาหะนำโรค โดยพบว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นช่วยเพิ่มจำนวนแมลงซึ่งเป็นพาหะนำโรคได้มากยิ่งขึ้น โรคติดต่อและปัญหาสุขภาพจิตในทันที เช่นความวิตกกังวลและความเครียดต่อเหตการณ์สะเทือนใจและความผิดปกติระยะยาวอันเนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการผลัดถิ่น การทำงานร่วมกันทางสังคมที่จะต้องหยุดชะงักชั่วคราว

นอกจากนี้ "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ยังมีผลต่อสังคมในหลายประการ เช่น การดำรงชีวิต ความเท่าเทียมกัน การเข้าถึงระบบการดูแลสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคม ความเสี่ยงด้านสุขภาวะที่ไวต่อสภาพอากาศ โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง ผู้ด้อนโอกาส เด็ก ผู้หญิง ชนกลุ่มน้อย ชุมชนยากจน ผู้อพยพหรือพลัดถิ่น ผู้สูงวัย และคนทั่วไปที่มีสุขภาพปกติด้วย แม้ว่าผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศต่อมนุษย์จะยังไม่ชัดเจน และความแม่นยำในการทำนายด้านระบบสุขภาพยังคงเป็นเรื่องท้าทาย แต่ความหน้าทางวิทยาศาสตร์จะช่วยให้เราระบุ อัตราการเสียชีวิตแลเจ็บป่วยจากภาวะโลกร้อน ระบุความเสี่ยงและขนาดของภัยคุกคามด้านสุขภาพเหล่านี้ได้แม่นยำมากขึ้น

ข้อมูลของ WHO ระบุว่า ผู้คนกว่า 2,000 ล้านคนขาดแคลนน้ำดื่มที่สะอาด และกว่า 600 ล้านคนต้องทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยเพราะอาหารทุกปี เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เสียชีวิตจากอาหารมากถึง 30% สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มความเสี่ยงของโรคที่เกิดจากน้ำและอาหาร โดยในปี 2020ผู้คนจำนวน 770 ล้านคน ต้องเผชิญกับความหิวโหย โดยเฉพาะในพื้นที่แอฟริกาและเอเชียที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อวิกฤตการณ์ด้านอาหารและโภชนาการที่รุนแรงมากขึ้น

WHO คาดการณ์อย่างระมัดระวังว่าจะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 250,000 รายต่อปีภายในช่วงปี 2030 เนื่องจาก "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ส่งผลกระทบต่อโรคต่างๆ เช่น มาลาเรีย และน้ำท่วมชายฝั่ง อย่างไรก็ตามความท้าทายในการสร้างแบบจำลองยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจับความเสี่ยง เช่น ความแห้งแล้งและความกดดันในการอพยพ

อย่างไรก็ตาม WHO แนะนำว่า เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบด้านสุขภาพ การป้องกันอัตราการเสียชีวิตนับล้านรายที่มีแนวโนมจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต เราทุกคนจะต้องกดอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นไว้ที่ 1.5 องศา โดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพราะในอดีตเราพบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอดีตทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นระดับหนึ่ง ทั้งนี้การเพิ่มระดับความร้อนทุกๆ 10 องศามีผลร้ายแรงต่อชีวิตและสุขภาพของคนเช่นกัน

ที่มา: https://www.who.int/news-room/fact-s...nge-and-health


https://www.komchadluek.net/quality-...ronment/565400

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม