ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 23-03-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


สถานการณ์นำ้ในวิกฤตโลกร้อน ............... โดย ธารา บัวคำศรี

วันน้ำโลกในปี พ.ศ.2563 นี้ยกประเด็น น้ำในวิกฤตโลกร้อน เป็นเรื่องสำคัญ สหประชาชาติระบุว่า การรับมือกับวิกฤตน้ำจากผลกระทบที่เป็นหายนะของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะช่วยปกป้องสุขภาพและช่วยชีวิตผู้คน การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและกู้วิกฤตโลกร้อน


วิกฤตนำ้ทั่วโลก

- แหล่งน้ำจืดของโลกร้อยละ 70 ใช้ในการเพาะปลูกพืชในระบบชลประทาน และการผลิตอาหารเลี้ยงประชากร ร้อยละ 22 ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตและพลังงาน(น้ำหล่อเย็นในโรงไฟฟ้าและเขื่อนผลิตไฟฟ้า) ขณะที่ร้อยละ 8 ใช้เพื่อบริโภค การสุขาภิบาล และนันทนาการในภาคครัวเรือนและธุรกิจ

- ความต้องการใช้น้ำทั่วโลกเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี นับตั้งแต่คริสตทศวรรษ 1980s(พ.ศ.2523-2532) และภายในปี พ.ศ.2593 จะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 20-30 ของระดับการใช้น้ำในปัจจุบัน

- โดยเฉลี่ย ในจำนวนประชากร 10 คน จะมี 3 คน ที่เข้าไปถึงน้ำดื่มที่สะอาด

- มี 17 ประเทศซึ่งมีประชากรรวมกัน 1 ใน 4 ของประชากรโลก กำลังเผชิญกับวิกฤตน้ำที่รุนแรงอย่างยิ่งยวด

- ร้อยละ 25 ของประชากรโลกประสบกับวิกฤตน้ำแล้ว และจะเพิ่มเป็นร้อยละ 60 ภายในปี พ.ศ. 2568

- มากกว่า 2 พันล้านคน อาศัยอยู่ในประเทศที่ประสบกับวิกฤตน้ำในระดับสูง

- ประชากรราว 4 พันล้านคนทั่วโลกเผชิญกับการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงอย่างน้อยที่สุด 1 เดือนต่อปี คาดว่าจำนวนนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 4.8 ถึง 5.7 พันล้านคนภายในปี พ.ศ. 2593 ก่อให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรระหว่างผู้ใช้น้ำ โดยที่น้ำจืดร้อยละ 60 มาจากลุ่มน้ำที่มีแม่น้ำไหลผ่านหลายประเทศ

- ภายในปี พ.ศ.2583 เด็กอายุต่ำกว่า 18 ราว 600 ล้านคน จะมี 1 ใน 4 อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีวิกฤตน้ำรุนแรงอย่างยิ่ง

- สตรีและเด็กหญิงในทุกๆ 8 ครัวเรือนจาก 10 ครัวเรือนต้องแบกภาระในการออกไปหาน้ำจากพื้นที่ไกลออกไป

- มากกว่า 68 ล้านคน ทั่วโลก(ในปี พ.ศ.2560) ต้องอพยพโยกย้ายถิ่นฐานจากการที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำในการอุปโภคและบริโภคได้

- คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงรายงานว่า ภายในปี พ.ศ.2583 ร้อยละ 97 ของการไหลของตะกอนไปยังสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงอาจถูกดักไว้ หากโครงการสร้างเขื่อนทั้งหมดที่วางแผนไว้ถูกสร้างขึ้น


ถ่านหินใช้น้ำและก่อมลพิษต่อแหล่งน้ำของเราอย่างไร

น้ำสะอาด ราคาที่เหมาะสมและเข้าถึงได้ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ขาดแคลนที่สุดในโลกของเรายังถูกคุกคามโดยอุตสาหกรรมถ่านหิน น้ำจืดปริมาณมหาศาลถูกนํามาใช้และปนเปื้อนมลพิษจากการทําเหมืองถ่านหิน รวมถึงการขนส่งและการผลิตไฟฟ้า


ที่มา : https://www.greenpeace.org/thailand/...tiable-thirst/

โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 1,000 เมกะวัตต์หนึ่งแห่งในอินเดียใช้น้ำพอๆ กับความต้องการพื้นฐานของคนเกือบ 700,000 คน โดยทั่วไป โรงไฟฟ้าถ่านหินใช้น้ำประมาณร้อยละ 8 จากความต้องการน้ำทั้งหมด แต่ความต้องการน้ำอันไร้ขีดจํากัดของอุตสาหกรรมถ่านหินซ้ำเติมวิกฤตน้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินเดีย จีน ออสเตรเลีย และแอฟริกาใต้

มลพิษเกิดขึ้นในทุกกระบวนการในวัฐจักรถ่านหิน ทำให้น้ำปนเปื้อนด้วยโลหะหนักและสารพิษในระดับที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ป่าอย่างมีนัยสำคัญ การได้รับพิษนี้จะเพิ่มโอกาสความพิการแต่กำเนิด ความเจ็บป่วย และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การปนเปื้อนมลพิษจากถ่านหินคือภัยคุกคามที่มองไม่เห็นต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม


ที่มา : https://www.greenpeace.org/thailand/...tiable-thirst/

การทำเหมืองถ่านหิน การชะล้างและการเผาไหม้ได้ปล่อยสารเคมีที่เป็นพิษและโลหะหนักออกสู่สิ่งแวดล้อม สำหรับการขุดถ่านหินทุก ๆ 1 ตัน น้ำใต้ดินราว 1 ถึง 2.5 ลูกบาศก์เมตร จะไม่สามารถนำไปใช้อุปโภคและบริโภคได้ กลุ่มเหมืองถ่านหินขนาดยักษ์ในออสเตรเลีย (Galilee Basin) จะต้องสูบน้ําทิ้งมากถึง 1.3 พันล้านลิตร ซึ่งเป็นปริมาณท่ีมากกว่าน้ําในอ่าวซิดนีย์ถึง 2.5 เท่า การสูบน้ำออกนี้จะทําให้ระดับน้ำใต้ดินลดลงอย่างมาก ผลคือบ่อน้ําชุมชนโดยรอบใช้การไม่ได้และยังส่งผลกระทบต่อแม่น้ําในบริเวณใกล้เคียง


วิกฤตน้ำ 2020 ในประเทศไทย

ประเทศไทยกำลังเจอกับความแห้งแล้งครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบสี่ทศวรรษ ราวครึ่งหนึ่งของบรรดาอ่างเก็บน้ำในประเทศมีน้ำต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของศักยภาพที่กักเก็บน้ำไว้ได้ น้ำในแม่น้ำต่ำในระดับที่ทำให้น้ำเค็มจากทะเลรุกเข้ามาถึงพื้นที่ตอนบนของแม่น้ำและส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำบริโภค


แผนที่ด้านบนแสดงความผิดปกติของความชื้นในดิน(soil moisture anomalies) ซึ่งเป็นดัชนีที่ระบุว่าน้ำในผิวดินมีค่าสูงหรือต่ำกว่าปกติในพื้นที่แถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์2563 โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมจากปฏิบัติการ Soil Moisture Active Passive (SMAP) ซึ่งเป็นดาวเทียมขององค์การนาซาดวงแรกที่ใช้วัดปริมาณน้ำในผิวดิน เครื่องมือวัด Radiometer บนดาวเทียมทำการตรวจจับปริมาณน้ำลึก 2 นิ้วจากผิวดิน นักวิทยาศาสตร์ใช้ข้อมูลดังกล่าวนี้ในแบบจำลองอุทกศาสตร์ซึ่งมีความสำคัญสำหรับภาคเกษตรกรรมเพื่อประเมินว่ามีปริมาณน้ำในชั้นดินที่ลึกลงไปอยู่มากน้อยเท่าไร (ที่มา:ที่มา : NASA Earth Observatory image by Lauren Dauphin using soil moisture data from NASA-USDA and the SMAP Science Team)

การที่ประเทศไทยมีปริมาณน้ำจืดต่อหัวน้อยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากต้องเผชิญกับการขาดแคลนน้ำมากขึ้นแล้ว ทรัพยากรน้ำของประเทศไทยกำลังถูกครอบงำโดยกลุ่มผลประโยชน์อุตสาหกรรมจากการกำหนดนโยบายของรัฐซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งเหนือทรัพยากรน้ำระหว่างภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและเมืองที่ตึงเครียดขึ้นทุกขณะ ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่ว่าเรามีน้ำเพียงพอหรือไม่ แต่รากเหง้าคือวิธีการจัดการทรัพยากรน้ำและการกระจายน้ำอย่างเท่าเทียมกัน

ในยุคที่สภาพภูมิอากาศมีความสมดุล เป็นช่วงเวลาที่เราสามารถวางแผนล่วงหน้า สร้างบ้านแปงเมือง และทำการเพาะปลูกตามสภาพดินฟ้าอากาศและน้ำ แต่การแทรกแซงธรรมชาติทำให้ช่วงเวลาเหล่านั้นกำลังหมดลง จากนี้ไปสภาพภูมิอากาศจะโหดร้ายทารุณ วิกฤตน้ำจะรุนแรงขึ้นภายใต้สภาพภูมิอากาศที่โหดร้ายขึ้น

น้ำกำหนดชะตากรรมของเรา และเรากำหนดชะตากรรมของน้ำ


https://www.greenpeace.org/thailand/...ater-day-2020/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม