ชื่อกระทู้: โลกร้อน (3)
ดูแบบคำตอบเดียว
  #33  
เก่า 07-04-2010
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,116
Default


สำรวจธรณีฟิสิกส์ทางทะเล กรมทรัพยากรธรณีรับมือ 'Climate Change'

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change ) หรือโลกร้อน เห็นได้จัดชัดเจนยิ่งขึ้นในปัจจุบันภัยพิบัติทางธรรมชาติและธรณีพิบัติภัยอันสืบเนื่องมาจากภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ทวีความรุนแรงและมีความถี่มากขึ้นทั่วโลก สำหรับประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเกี่ยวเนื่องกับธรณีวิทยาที่สำคัญ คือ การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ซึ่งอาจทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งมะเลมากขึ้นส่งผลต่อระบบนิเวศน์ชายฝั่งทะเลและการตั้งถิ่นฐานของชุมชนชายฝั่งการเกิดพายุรุนแรงและสภาพอากาศแปรปรวนบ่อยครั้งขึ้น ทำให้เกิดอุทกภัย น้ำบ่าไหลหลาก ดินถล่ม ดินไหล บ่อยครั้งขึ้น

นายอดิศักดิ์ ทองไข่มุกต์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณีกล่าวว่า กรมทรัพยากรธรณีในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการสำรวจ ศึกษา บริหารจัดการธรณีวิทยา และธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมของประเทศ ตลอดจนเสนอแนะมาตรการแนวทางแก้ไขปัญหาบริหารจัดการด้านธรณีพิบัติภัยของประเทศ จึงได้ดำเนินโครงการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและธรณีวิทยา เพื่อศึกษาวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพถูมิอากาศที่อาจจะส่งผลทำให้เกิดธรณีพิบัติภัยและกำหนดแนวทางหรือมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบทางธรณีวิทยาให้แก่ทุกภาคส่วน ซึ่งจะก่อให้เกิดการเตรียมความพร้อมในการรับมือและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้โดยมุ่งเน้นการศึกษาวิจัยใน 2 แนวหลัก แนวทางแรก คือ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลอย่างเป็นระบบ และแนวทางที่2คือการศึกษาการเปลี่ยนแปลงธรณีสัณฐานชายทะเล

ทั้งนี้โดยล่าสุดกรมทรัพยากรธรณี ได้นำสื่อมวลชนกว่า 20 ชีวิต เดินทางไปดูการศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่ตั้งมาตรวัดระดับน้ำทะเล การศึกษาการทรุดตัวของพื้นดิน การศึกษาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของชั้นดิน ร่วมทั้งการศึกษาผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลต่อพื้นที่ชายฝั่งทะเล รวมทั้งการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลอย่างเป็นระบบด้วยการศึกษาอัตราการเคลื่อนตัวของแผ่นดินบริเวณที่ตั้งของมาตรวัดะดับน้ำทะเล ศึกษาการทรุดตัวของพื้นดิน ศึกษาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของชั้นดิน และการศึกษาผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลต่อพื้นที่ชายฝั่งทะเลและการศึกษาการเปลี่ยนแปลงธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล ประกอบด้วยการศึกษาการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล การศึกษาธรณีสัณฐานชายฝั่ง การศึกษาธรณีวิทยาพื้นท้องทะเลและสมุทรศาสตร์ การสำรวจโครงสร้างทางวิศวกรรมชายทะเล และการศึกษาวิจัย เพื่อหาแนวทางการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงธรณีสัณฐานชายฝั่งทะเล ในพื้นที่ประปัญหาวิกฤติระดับน้ำทะเลอย่างเป็นระบบที่ชายฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดเพชรบุรี

สำหรับการสำรวจธรณีฟิสิกส์ทางทะเลนั้น กรมทรัพยากรธรณีได้ส่งทีมงานลงไปดำเนินการสำรวจในพื้นที่ มีนักธรณีวิทยาชำนาญการพิเศษพร้อมเครื่องมือเครื่องมือกว่า 10 ล้านบาท เช่น อุปกรณ์สำรวจที่มีระบบบันทึกและประมวลผล(Sediment Echo Sounder: SES) ใช้ร่วมกับการบันทึกภาพพื้นทะเลด้วยโซนาร์ เป็นการสำรวจความลึกน้ำและทำการบันทึกภาพหน้าตัดข้างคลื่นไหวสะเทือนแบบสะท้อนกลับระดับตื้น การวัดความเร็วและทิศทางกระแสน้ำชายฝั่ง โดยใช้เครื่องมือแบบ Acoustic Doppler Current Profile : ADCP การควบคุมเส้นทางเดินเรือสำรวจ โดยใช้เครื่องมือหาพิกัดทางภูมิศาสตร์บนพื้นโลกด้วยระบบดาวเทียม Global Positioning system : GPS และการเก็บตัวอย่างตะกอนพื้นทะเล เพื่อตรวจสอบชนิดและการกระจายตัวของตะกอนบนพื้นทะเล หลังจากได้ข้อมูลทั้งหมดแล้วจะมีการแปรข้อมูลอ่านค่าและทำรายงานเสนอเพื่อให้เป็นหลักฐานทางวิชาการต่อไป

นอกจากนี้ กรมทัพยากรธรณียังได้มุ่งเน้นการส่งเสริมความรู้ด้านธรณีวิทยาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัหวัดชายทะเล ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและธรณีวิทยา ให้มีความรู้ความเข้าใจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เพื่อติดตามเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ชายฝั่งทะเลและสร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องต่อการจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเล โดยได้จัดทำโครงการฝึกอบรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัหงวัดชายฝั่งทะเลด้านการอนุรักษ์และป้องกันพื้นที่ชายฝั่งทะเลและกิจกรรมปลูกป่าชายเลนในครั้งนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมให้คนพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจสภาพแวดล้อม ที่อาศัยอยู่ และพร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยได้ดำเนินการไปแล้วในพื้นที่จ.เพชรบุรี และจ.ประจวบคีรีขันธ์ และมีโครงการที่จะดำเนินการให้ครบทุกจังหวัดพื้นที่มีพื้นที่ชายฝั่งทะเล ทั้ง 23 จังหวัดต่อไป

จากการเดินทางไปร่วมสื่อมวลชนสัญจรและโครงการฝึกอบรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชายฝั่งทะเลด้านการอนุรักษ์และป้องกันพื้ที่ชายฝั่งทะเลแล้ว พบว่าความพยามที่จะใช้หลักวิชาการทางวิทยาศาสตร์และฐานข้อมูล หลักฐานทางธรรณีวิทยา การศึกษาสภาภูมิอากาศในอดีต มาอธิบายเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ผ่านมาและการเปลี่ยนแปลงที่เป็นอยู่ในปัจจุบันรวมถึงการพยากรณ์สภาพภูมิอากาศในอนาคต จะต้องใช้ขอมูลหลักฐานที่เป็นวิทยาศาตร์มาอธิบาย เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องลงทุนลงแรงอย่างมาก ต้องได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน การที่กรมทรัพยากรธรณีได้จัดโครงการนี้ขึ้นมาถือว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องและน่าสนับสนุนเป็นอย่างมาก



จาก : แนวหน้า รายงานพิเศษ วันที่ 7 เมษายน 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม