ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 29-01-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,253
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


บ้านสาหร่ายทะเล เทคโนโลยี 300 ปี ของชาวชายฝั่งซานตง


บังกะโลสาหร่ายทะเล ซึ่งที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองอันไม่เหมือนใคร ในหรงเฉิงเวยไห่ มณฑลซานตงทางตะวันออกของจีน (ภาพซินหัว)

ซินหัว (28 ม.ค.) - ชมภาพบังกะโลสาหร่ายทะเล ซึ่งที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองอันไม่เหมือนใคร ในหรงเฉิงเวยไห่ มณฑลซานตงทางตะวันออกของจีน

บ้านสาหร่ายทะเลที่เก่าแก่ที่สุดนั้น มีอายุย้อนไปกว่า 300 ปี โดยทำจากสาหร่ายทะเลแห้งที่เติบโตในน้ำตื้นตามชายฝั่งของคาบสมุทรเจียวตง



ภูมิปัญญาในการสร้างบ้านโดยใช้ส่วนประกอบต่าง ๆ จากธรรมชาติ เป็นความรู้ที่สืบทอดกันมานาน การสร้างหลังคาบ้านด้วยสาหร่ายธรรมชาติก็เป็นหนึ่งในลักษณะพิเศษของบ้านชายฝั่ง (พบเห็นได้ในหลาย ๆ ที่ของโลก รวมถึง เกาะแลร์เซอ ประเทศเดนมาร์ก) เนื่องจากสาหร่ายมีเกลือ หลังคาจึงไม่ผุพังง่ายและสามารถอยู่ได้นานหลายร้อยปี เมื่อหลังคามีอายุมากขึ้นจะแข็งตัวเป็นมวลแข็งก้อนเดียวที่ไม่เพียงแต่กันน้ำ แต่ยังกันไฟได้อีกด้วย มีความแข็งแรงสามารถเหยียบทับได้โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย

ผู้เชี่ยวชาญฯ กล่าวว่า ศิลปะการมุงหลังคาจากสาหร่ายทะเลประมาณการว่าต้องใช้สาหร่าย 300 กิโลกรัมในการมุงหลังคาเพียงหนึ่งตารางเมตร


https://mgronline.com/china/detail/9640000008728


*********************************************************************************************************************************************************


คึกคัก! ชาวท้ายเหมือง จ.พังงา แห่จับ "จักจั่นทะเล" นำมาประกอบเมนูเด็ด

พังงา - ชาวบ้านแห่จับ "จักจั่นทะเล" ที่หาดท้ายเหมือง จ.พังงา คักคัก! นำมาประกอบเมนูเด็ด ขายร้านอาหาร ทำรายได้งาม



หาดท้ายเหมือง อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา กลับมาคึกคักและมีชีวิตชีวาอีกครั้ง หลังพบว่ามีชาวบ้านจำนวนมากออกมาเล่นน้ำ และจับสัตว์ทะเลที่เรียกกันว่า "จักจั่นทะเล" เพื่อนำไปประกอบอาหารและขายเป็นรายได้เสริม หลังจากก่อนหน้านี้ ชายหาดดังกล่าวเงียบเหงาไร้เงานักท่องเที่ยวเนื่องจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระบาด

โดยชาวบ้านจะออกไปยืนเรียงหน้าที่ริมทะเลหันหน้าขึ้นหาชายหาดรอจังหวะคลื่นซัดน้ำทะเลขึ้นมาและม้วนกลับลงไป ก็มีการใช้มือคุ้ยลงไปในผืนทรายเพื่อจับ "จักจั่นทะเล" ที่ถูกคลื่นซัดขึ้นมาบนชายหาด โดยจักจั่นทะเล มีรูปร่างคล้ายปูและกุ้ง นับเป็นสัตว์ทะเลเฉพาะถิ่นมีมากในพื้นที่จังหวัดพังงา ภูเก็ต ช่วงที่คลื่นซัดน้ำทะเลขึ้นมาจักจั่นจะออกจากผืนทรายหากินสาหร่ายและแพลงก์ตอน เมื่อคลื่นม้วนกลับก็จะรีบมุดลงไปซ่อนตัวในผืนทรายทันที คนที่จับจะต้องอาศัยความชำนาญจึงจะจับได้ม ซึ่งช่วงนี้กำลังเป็นฤดูกาลที่จักจั่นทะเลขึ้นมาวางไข่และหากินตามริมชายหาดเป็นจำนวนมาก ทำให้ในแต่ละวันจะมีชาวบ้านในพื้นที่และใกล้เคียงมาจับจักจั่นทะเลเพื่อนำไปประกอบอาหารกินนเอง และนำไปจำหน่ายเป็นอาชีพเสริมกันเป็นจำนวนมาก โดยเมนูเด็ดที่นำไปประกอบอาหารคือ เมนูจักจั่นทะเลชุบแป้งทอด ซึ่งจะนำตัวจักจั่นไปล้างด้วยน้ำจืด จากนั้นก็แกะกระดองออกนำไปชุบแป้งลงทอดในน้ำมันร้อนๆ แล้วนำมาจิ้มกับน้ำจิ้มซีฟูด

นายรวยชัย กิตติพรหมวงศ์ ชาวอำเภอท้ายเหมือง กล่าวว่า จักจั่นทะเลเป็นสัตว์ทะเลประจำถิ่น พบได้มากในพื้นที่ชายหาดท้ายเหมือง จ.พังงา และหาดไม้ขาว จ.ภูเก็ต ในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ของทุกปี จะเป็นช่วงที่จักจั่นขึ้นมาริมทะเลเป็นจำนวนมาก จึงมีชาวบ้านในพื้นที่ชักชวนกันออกมาจับจักจั่นทะเลไปประกอบอาหาร บางคนก็ทำเป็นอาชีพ โดยนำไปขายให้แก่ร้านอาหารได้ตัวละ 1 บาท ส่วนในร้านอาหารได้ซื้อตัวสดไปทำเป็นเมนูเด็ดประจำร้านกันเกือบทุกร้าน

นายรวยชัย กล่าวว่า การที่มีตัวจักจั่นขึ้นมามากนั้นบ่งชี้ถึงความอุดสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ของหาดท้ายเหมือง จึงอยากจะวิงวอนให้ ช่วยกันอนุรักษ์ไว้อย่านำเครื่องมือที่สามารถจับจักจั่นได้ครั้งละมากๆ มาใช้ สำหรับตัวจักจั่นทะเลเป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ในวงศ์ของปู โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hippoidea มีรูปร่างคล้ายจักจั่นที่เป็นแมลงบนบก มีขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือ มีกระดองไม่แข็งมากคล้ายปู มีขาทั้งหมด 10 ขา แบ่งเป็น 5 คู่ ขาทั้งหมดไม่ได้ใช้ในการว่ายน้ำเนื่องจากจักจั่นทะเลจะอยู่ในทรายที่มีน้ำขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา ขาจึงใช้ในการขุดคุ้ยทรายเพื่อพยุงตัวหรือมุดลงไปซ่อนตัวในทราย หัวมีกรีแต่ไม่แหลมและแข็งเหมือนกุ้ง ไม่มีก้ามหนีบเหมือนปู เป็นสัตว์ที่กินแพลงก์ตอน สัตว์น้ำขนาดเล็ก และพืชน้ำจำพวกสาหร่ายที่ลอยมากับกระแสน้ำเป็นอาหาร


https://mgronline.com/south/detail/9640000008901

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม