ดูแบบคำตอบเดียว
  #6  
เก่า 24-06-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


ครั้งแรกของโลก! นิติวิทยาศาสตร์พิสูจน์อัตลักษณ์สัตว์ทะเลตาย

ครั้งแรกของโลก! กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) จับมือจุฬาฯ และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ พิสูจน์อัตลักษณ์สัตว์ทะเลหายาก โดยใช้รูปแบบ "สืบจากศพ" มาสู่สัตว์ทะเลหายากที่ตายแบบมีเงื่อนงำ หลังพบ 2 ปีเกยตื้นตาย 970 ตัว ช่วยชีวิตกลับทะเล 200 ตัว



วันนี้ (23 มิ.ย.2563) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) การลงนามความร่วมมือด้านวิชาการกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อชันสูตรการตายของสัตว์ทะเลหายาก ซึ่งอาจจะเป็นครั้งแรกของโลกที่มนุษย์จะศึกษาเพื่อหาความยุติธรรมให้แก่สัตว์ทะเล

ไทยพีบีเอสออนไลน์ สัมภาษณ์นายโสภณ ทองดี อธิบดีทช.กล่าวว่า จากสถิติสัตว์ทะเลหายากที่พบการเกยตื้น ช่วงปี 2562?2563 พบสัตว์ทะเลหายากจำพวกเต่าทะเล พะยูน โลมาและวาฬ เกยตื้นชนิดพบเป็นซากสะสมกว่า 970 ตัว สามารถช่วยรอดชีวิตกว่า 473 ตัว และสามารถปล่อยกลับลงสู่ทะเลกว่า 200 ตัว ที่ผ่านมา สาเหตุการตายหรือการเกยตื้นส่วนใหญ่ก็มีสาเหตุจากกิจกรรมมนุษย์ ทั้งจากเครื่องมือประมง กลืนกินขยะทะเล ปัญหามลพิษปนเปื้อนในน้ำทะเล การเสียชีวิตเนื่องจากโรคตามธรรมชาติ แต่หลายกรณียังไม่รู้สาเหตุการตายที่แน่ชัด เช่น พะยูนโดนตัดหัว ตัดเขี้ยว เป็นการตายแบบผิดธรรมชาติหรือไม่


ภาพ:กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง


สืบจากศพสัตว์ทะเลหายากตายปริศนา

นายโสภณ กล่าวว่า ที่ผ่านมา แม่ว่า ทช.จะมีสัตวแพทย์ในการตรวจพิสูจน์ชิ้นเนื้อ และหาร่องรอยสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นตายได้แล้ว แต่ยังไม่เพียงพอในบางกรณีที่พบสัตว์ทะเลหายากตายแบบปริศนา ดังนั้นจึงร่วมกับทางจุฬาฯ และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ใช้เทคนิคการพิสูจน์อัตลักษณ์จากศพคน มาสู่การพิสูจน์ในสัตว์ทะเลหายาก เพื่อหาคำตอบตาย

"จะใช้เทคนิคตรวจร่องรอยการตาย และสืบจากศพที่ทำกับมนุษย์มาใช้กับสัตว์ทะเลที่ตาย เช่น หากเจอซากพะยูนหัวขาด จะใช้นิติวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ว่าตายจากคมมีด ตายแบบไหนเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเอาผิด"

อธิบดีทช.กล่าวว่า กระบวนการพิสูจน์สัตว์ทะเลหายากตาย ในเคสที่ไม่สามารถยืนยันได้ สัตวแพทย์จะส่งให้ทางนิติวิทยาศาสตร์ และจุฬาฯ ร่วมตรวจสอบทันที ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เราจะใช้มิติทางวิทยาศาสตร์ และนิติวิทยาศาสตร์สืบศพสัตว์ทะเลตาย เพื่อทวงความยุติธรรมให้กับสัตว์ทะเลที่ตาย


ภาพ:กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

นายโสภณ กล่าวว่า นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดทส. ได้มีนโยบายในการศึกษาและสืบหาสาเหตุการตายของสัตว์ทะเลหายากต่าง ๆ เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการในการรักษา คุ้มครอง ฟื้นฟูสัตว์ทะเลหายากที่นับวันจะลดจำนวนลง

"ช่วง COVID-19 มีการปิดอุทยาน 140 แห่ง มนุษย์ได้อยู่ห่างจากธรรมชาติ ปล่อยให้ธรรมชาติได้ฟื้นตัว มีการรายงานการพบสัตว์ทะเลหายากบ่อยครั้งในหลายๆ แต่พื้นที่ในเดือนก.ค.นี้จะเริ่มเปิดแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล จึงอยากให้การท่องเที่ยวอย่างมีจิตสำนึก"


ครั้งแรกของโลกสืบหาความยุติธรรมให้สัตว์ทะเล

ด้านพ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า กระทรวงยุติธรรม โดยสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เป็นหน่วยงานที่จะดำเนินการใดๆ เพื่อความยุติธรรม ไม่ใช่เฉพาะต่อมนุษย์ แต่ยังคำนึงถึงความยุติธรรมต่อสัตว์ที่อยู่ร่วมโลก

"อาจจะเป็นครั้งแรกของโลกที่จะใช้นิติวิทยาศาสตร์กับสัตว์ พิสูจน์และชันสูตรหาสาเหตุการตายของสัตว์ทะเลหายาก เพื่อการศึกษาวิจัยและสืบหาความยุติธรรมให้แก่สัตว์ทะเลหายาก"

ศ.น.สพ.ดร. รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในด้านวิชาการจะยึดหลัก Prevention better than cure หรือการป้องกันดีกว่าการรักษา ซึ่งทช. เป็นหน่วยงานที่มีฐานข้อมูลที่สำคัญจำเป็น การพิสูจน์สาเหตุการตายหรือการเกยตื้น จะเป็นประโยชน์สำคัญอย่างยิ่งในอนาคต ทางทีมสัตวแพทย์ จะใช้องค์ความรู้ทางวิชาการเพื่อช่วยลดโอกาสการเกยตื้นและการตาย ในทางกลับกันทางทีมสัตวแพทย์ก็ยังได้ศึกษาวิจัย และเรียนรู้เพิ่มเติมจากความร่วมมือนี้


https://news.thaipbs.or.th/content/293934

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม