ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 03-02-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


ร้อนสุดๆ ฉุดไม่อยู่ เมื่อปี 2562 ทุบสถิติร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึก (อีกครั้ง) ................ โดย Supang Chatuchinda


ชาวบ้านถือร่มจับจ่ายวัตถุดิบและอาหารในตลาดนัมแดมุน โดยถือร่มเพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดดและอากาศที่ร้อนจัดจากอุณหภูมิที่ร้อนทุบสถิติในเกาหลีใต้ ? Soojung Do / Greenpeace

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เราได้เผชิญกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้วบ่อยครั้งและทวีความรุนแรงมากขึ้น ความจริงก็คือ เราเพิ่งจะผ่านปี 2562 ซึ่งเป็นปีที่ร้อนที่สุดครั้งที่ 2 เท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ โดยอ้างอิงข้อมูลจากสถาบันวิจัยด้านสภาพภูมิอากาศ Copernicus Climate Change Service ขององค์กร the European Union?s flagship climate monitoring organization ซึ่งแม้ว่าในปี 2559 จะยังคงเป็นปีที่ร้อนที่สุดอันดับ 1 แต่ก็มีความแตกต่างเพียงเล็กน้องจากปี 2562 เท่านั้น ซึ่งอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นนี้กำลังส่งผลกระทบต่อเราอย่างมหาศาล


เนื้อหาย่อๆ

- "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้ว" หรือ Extreme Weather Event มีแนวโน้มจะเกิดบ่อยขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่มนุษย์เป็นผู้ก่อขึ้น

- คณะกรรมการ ระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(IPCC) คาดว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 เป็นต้นมา เกิดการละลายของน้ำแข็งในทวีปกรีนแลนด์ครั้งใหญ่ถึง 7 ครั้ง คุกคามอีกหลายพันล้านชีวิต

- สิ่งที่เราทำได้ในตอนนี้ก็คือ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อชะลอไม่ให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นไปมากกว่านี้

- การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ การลดการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณ์นมเชิงอุตสาหกรรม และการปกป้องผืนป่าเพื่อดูดซับคาร์บอน จะเป็นวิธีการที่จะช่วยให้เราชะลอวิกฤตสภาพภูมิอากาศได้

อุณหภูมิโลกยิ่งสูง ยิ่งเสี่ยงต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ (Climate Crisis)
"สภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้ว" หรือ Extreme Weather Event ฟังแล้วเราอาจจะไม่คุ้นหูมากนัก คำนี้เกิดขึ้นใหม่เพื่อแสดงให้เห็นถึงภัยทางธรรมชาติที่ส่งผลรุนแรงและบ่อยขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เช่น คลื่นความร้อน ภัยแล้ง พายุฝน เหล่านี้มีแนวโน้มจะเกิดบ่อยขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มนุษย์เป็นผู้ก่อขึ้น ประโยคนี้เป็นใจความของรายงานในการประชุมของสหภาพธรณีวิทยาอเมริกา (the American Geophysical Union) ในซานฟรานซิสโก

ยกตัวอย่างเช่น ภัยแล้งและพายุฝนที่ดูเป็นภัยที่เป็นคู่ตรงข้ามกัน แต่กลับมีความเชื่อมโยงกันอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะเมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกสูงขึ้นจากกิจกรรมการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของมนุษย์ ก็ทำให้น้ำมีแนวโน้มที่น้ำจะระเหยไปในอากาศมากขึ้น จึงเกิดฝนบ่อยขึ้นนั่นเอง

อุณหภูมิที่สูงขึ้นยังทำให้ภัยแล้งรุนแรงมากกว่าเดิม โดยข้อมูลจาก Center for Climate and Energy Solutions (CCES.) ระบุว่าเมื่อน้ำระเหยขึ้นไปในอากาศในปริมาณที่มากขึ้นก็เป็นสาเหตุที่น้ำในดินหายไปและทำให้เกิดความแห้งแล้ง นอกจากนี้ อุณหภูมิที่สูงขึ้นยังเชื่อมโยงไปถึงการเกิดไฟป่าที่บ่อยขึ้น และแม้ว่าไฟป่าจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าปรากฎการณ์นี้เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้หลายๆภูมิภาคเกิดความแห้งแล้ง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าซึ่งส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่าและมนุษย์


อาสาสมัครนักดับเพลิงช่วยเหลือพอสซัม (possum) จากไฟป่าในออสเตรเลีย โดยไฟป่าครั้งหญ่ในออสเตรเลียนี้ได้ทำลายพื้นที่ป่ากว่า 11 ล้านเฮกตาร์ คร่าชีวิตคนกว่า 29 คน และสัตว์ป่าอีกจำนวนมาก ? Kiran Ridley / Greenpeace

ถัดจากความแห้งแล้ง การละลายของน้ำแข็งเนื่องจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นก็ทำให้โลกของเราแปรปรวนไม่น้อย เพราะจากการสันนิษฐานของสถาบันวิจัยสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ของ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(IPCC) คาดว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 เป็นต้นมา เกิดการละลายของน้ำแข็งในทวีปกรีนแลนด์ครั้งใหญ่ถึง 7 ครั้ง คุกคามอีกหลายพันล้านชีวิตและมีส่วนเร่งเร้าวิกฤตสภาพภูมิอากาศ


วิกฤตสภาพภูมิอากาศ (Climate Crisis) จะทำให้มนุษย์ต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยขึ้น

ในปีที่ผ่านมานี้ หลายเมืองในหลากทวีปต่างต้องเจอกับอุณหภูมิที่สูงขึ้น ร้อนขึ้น และเผชิญภัยพิบัติมากขึ้น ปี 2562 เป็นปีที่ปรากฎการณ์สภาพภูมิอากาศสุดขั้วเกิดขึ้นทั่วโลกอยู่บ่อยครั้ง เรียกว่าเกิดขึ้นเกือบทุกวัน ตั้งแต่คลื่นความร้อนในยุโรป เหตุการณ์ที่จีน อินเดีย ประสบกับพายุฝนอย่างรุนแรงจนน้ำท่วม ซึ่งทำให้ผู้คนสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งเหตุการณ์ที่หิมะบนเทือกเขาแอลป์ละลายกลายเป็นทะเลสาบ และพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นที่มีความเร็วและรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมา

ในทวีปยุโรป มีเมืองถึง 6 เมืองที่เจอกับคลื่นความร้อนเกิดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน ? กรกฎาคม ได้แก่เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส เยอมนี สหราชอาณาจักร เนเธอแลนด์ รวมไปถึงลักแซมเบิร์ก ความร้อนที่สูงขึ้นเช่นนี้กลายเป็นสิ่งท้าทายให้กับหลายเมืองใหญ่ในการจัดการเมืองเพื่อให้ประชากรมีชีวิตอยู่ได้ ด้วยอุณหภูมิที่สูงถึง 45.9 องศาเซลเซียสในช่วงฤดูร้อน มีส่วนคร่าชีวิตประชากรในฝรั่งเศสไปกว่าพันคน

ขณะที่สำนักอุตุนิยมวิทยาในออสเตรเลียได้ออกประกาศว่า ด้วยอุณหภูมิเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.52 เซลเซียส ทำให้ในปี 2019 เป็นปีที่ออสเตรเลียร้อนที่สุดและต้องเผชิญกับภัยแล้ง และด้วยภัยแล้งที่ประเทศเผชิญอยู่ก็มีส่วนทำให้เกิดไฟป่าในออสเตรเลีย ซึ่งขณะนี้ออสเตรเลียก็ยังคงไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แน่นอนว่าเราไม่ได้เจอกับคลื่นความร้อนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ภัยพิบัติเช่นไต้ฝุ่น ก็มีส่วนมาจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศเช่นกัน หลายๆคนน่าจะยังจำกันได้เกี่ยวกับพายุไต้ฝุ่นที่มีความเร็วที่สุดเท่าที่เคยบันทึกไว้ ไต้ฝุ่นฮากิบิส ที่พัดเข้าถล่มญี่ปุ่นคร่าชีวิตประชากร 79 คน และสร้างความเสียหายในญี่ปุ่นราว 27,300 ล้านบาท


ภาพซากปรักหักพังของบ้านเรือนในจังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น หลังไต้ฝุ่นฮากิบิสพัดเข้าถล่ม หลังจากไต้ฝุ่นพัดผ่านไปทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 รายและผู้สูญหายจำนวนหนึ่ง ไต้ฝุ่นฮากิบิสถือเป็นซูเปอร์ไต้ฝุ่นที่มีความเร็วที่สุดในทศวรรษนี้ (ภาพโดย Carl Court/Getty Images) ? Carl Court / Getty Images

การชะลอการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก คือทางออกที่ต้นเหตุ

หากเรายังคงนิ่งเฉยและปล่อยให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเรื่อยๆด้วยการไม่จำกัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง เราจะต้องพบเจอกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงและบ่อยมากขึ้นเรื่อยๆและอาจทำให้มนุษย์เราอาศัยอยู่บนโลกนี้ได้อย่างยากลำบากกว่าเดิม ดังนั้น สิ่งที่เราทำได้ในตอนนี้ก็คือ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อชะลอไม่ให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นไปมากกว่านี้

กิจกรรมของมนุษย์ทั้งจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล การตัดไม้ทำลายป่า และการทำปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรม เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและในที่สุดนำไปสู่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้ว ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์


เราจะลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากทางไหนได้บ้าง

แน่นอน เพื่อชะลอไม่ให้วิกฤตสภาพภูมิอากาศรุนแรงไปยิ่งกว่านี้ เราจำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียส สามารถทำได้ด้วยการยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล โดยรายงานของ IPCC ระบุว่า ทั่วโลกจำเป็นต้องลดใช้ถ่านหินจาก 2 ใน 3 ภายในปี พ.ศ.2573 และต้องลดลงจนเกือบเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ.2593 โดยเปลี่ยนมาใช้พลังงานที่ชาญฉลาดขึ้น นั่นคือการผลิตพลังงานไฟฟ้าแบบคาร์บอนต่ำในภาคการขนส่ง ภาคอุตสาหกรรมและเมือง


(มีต่อ)
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม