ชื่อกระทู้: กรุงเทพฯจะ จมน้ำ (2)
ดูแบบคำตอบเดียว
  #20  
เก่า 25-12-2010
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default


น้ำท่วมกรุงเทพฯ ปีหน้าและปีต่อๆไป


พ้นเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ก็จะมีการพูดคุยออกข่าวหาวิธีป้องกันน้ำท่วมหรืออุทกภัยกัน พอปลายเดือนธันวาคมข่าวเรื่องการป้องกันน้ำท่วมก็จะเลือนหายไป

เพื่อป้องกันปัญหาที่จะมาอีกในปีหน้าและปัญหาที่จะมาถึงในอีก 10 ปีข้างหน้า เรื่องนี้ นายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมฯ กล่าวว่าให้ศึกษาแบบจำลองผลกระทบภาวะน้ำท่วม และน้ำทะเลขึ้นสูงในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) ชั้นในและปริมณฑล ในเมื่อกทม. เป็น 1 ใน 9 เมืองในทวีปเอเชียมีความเสี่ยงสูงที่น้ำทะเลจะเอ่อทะลักเข้าท่วมในเมือง พบว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้น้ำท่วม กทม. ชั้นในมี 4 ปัจจัย คือ

1.ปริมาณน้ำฝนที่ตกเพิ่มขึ้นถึง 15 % ในปัจจุบัน
2.แผ่นดินในกทม. ทรุดตัวปีละ 4 มิลลิเมตร
3.ระดับน้ำทะเลฝั่งอ่าวไทยสูงขึ้น 1.3 เซนติเมตรต่อปี และ
4. เกิดจากภาพรวมของระบบผังเมืองใน กทม. ที่พบว่า ปัจจุบันพื้นที่ชุ่มน้ำและพื้นที่สีเขียว ลดลงไปกว่า 50 %

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะมีประชากรในกทม. ประมาณ 680,000 คน ได้รับผลกระทบน้ำจะเอ่อเข้ามาท่วมอาคารที่ 1.16 ล้านหลัง ในจำนวนนี้จะเป็นบ้านพักอาคาร 9 แสนหลังคาเรือน โดย 1 ใน 3 จะอยู่ในพื้นที่บางขุนเทียน บางบอน บางแค และพระสมุทรเจดีย์ จ. สมุทรปราการ อาคาร-ที่พักอาศัยเขตดอนเมืองรวม 89,000 อาคารจะได้รับผลกระทบ รวมความเสียหายราว 1.5 แสนล้านบาท

ผลวิจัยได้เสนอวิธีป้องกันและแก้ปัญหาเอาไว้ 3 ทาง คือ
1.เร่งหาพื้นที่แก้มลิงเหนือ กทม. ตั้งแต่สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา เพื่อเป็นที่ระบายน้ำ
2. เร่งขุดขยายคลองระบายน้ำที่มีอยู่เวลานี้โดยเรือ และ
3.ต้องสร้างคันกั้นน้ำในพื้นที่ชายฝั่งทะเล เพื่อป้องกันน้ำเอ่อทะลักเข้ามาในพื้นที่ กทม. โดยสร้างเป็นคันดินในพื้นที่ริมฝั่งทั้งหมด ระยะทาง 80 กิโลเมตร

ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กทม.กำลังดำเนินการสร้างระบบอุโมงค์ยักษ์ ซึ่งเป็นแผนครั้งใหญ่เพื่อบูรณาการการป้องกันปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ให้เกิดผลอย่างยั่งยืน ประกอบด้วยอุโมงค์ใต้ดินขนาดยักษ์ 4 แห่ง ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของกรุงเทพฯ มากกว่า 2 เท่าภายใน 5 ปี

หลังจากงบส่วนใหญ่ใช้ตามแก้น้ำท่วมเฉพาะหน้า ใช้งบประมาณไปกับการซื้อกระสอบทราย ซื้อปั๊มน้ำเพิ่มกันทุกปี โดย 3 ปีที่ผ่านมา กทม.ใช้งบประมาณไปกับมาตรการต่างๆเพื่อป้องกันน้ำท่วมกว่า 11,000 ล้านบาท แต่สุดท้ายพอฝนตกหนัก น้ำก็ยังท่วมกรุงเทพฯ

อุโมงค์ยักษ์แห่งแรกจะก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2554 แห่งที่สองจะเริ่มก่อสร้างในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 และแห่งที่สามและสี่จะสร้างในปี 2555 โดยจะเสร็จสิ้นทั้งระบบภายใน 5 ปี

พื้นที่ที่จะได้รับประโยชน์จากระบบอุโมงค์ยักษ์ ได้แก่ ย่านลาดพร้าว วังทองหลาง บางกะปิ ห้วยขวาง บึงกุ่ม สะพานสูง ดินแดง จตุจักร พญาไท ดุสิต บางซื่อ ดอนเมือง หลักสี่ บางเขน บางส่วนของเขตสายไหม ประเวศ พระโขนง บางนา และสวนหลวง

ข้อสังเกตในที่นี้ก็คือ แนวความคิดในการมองปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ที่แตกต่างกัน ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมมองปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯว่ามี 4 ปัจจัย แต่ผู้ว่าฯ กทม. มองปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ว่ามาจากน้ำหลากและน้ำทะเลหนุนทะลัก

คนกรุงเทพฯจะเชื่อใคร ว่าน้ำท่วมกรุงเพราะอะไร และจะเชื่อวิธีแก้ปัญหาของใคร หากความเห็นของผอ.ศูนย์พลังงานเป็นจริง อาคาร 1.16 ล้านหลัง จะแก้ไขอย่างไร

ใครเป็นเจ้าของอาคารใน 1.16 ล้านหลัง จะทำอย่างไร เตือนไว้ก่อน 10 ปี ก็รีบหาทางแก้ไขป้องกันตัวเองเอาแล้วกัน




จาก ...................... ข่าวสด คอลัมน์ เลาะรั้ว วันที่ 25 ธันวาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม