ชื่อกระทู้: โลกร้อน (3)
ดูแบบคำตอบเดียว
  #19  
เก่า 31-10-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default


อาเซียนกับการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ



“ โลกของเราขณะนี้ร้อนขึ้นกว่าเมื่อ 2,000 ปีที่แล้ว ศตวรรษที่ 19 เป็นศตวรรษที่ร้อนที่สุดในรอบพันปี ทศวรรษที่ 1990 เป็นห้วงเวลาที่ร้อนที่สุดของโลก ปีที่ร้อนที่สุดทั้ง 7 ปี ล้วนเกิดขึ้นในทศวรรษนี้ หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไปจนถึงช่วงสิ้นทศวรรษที่ 21 อุณหภูมิโลกจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าช่วงใดๆ ในรอบ 2 ล้านปีที่ผ่านมา ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนส่งแรงสะเทือนไปทั่วทุกทวีป ตั้งแต่หลังคาโลกยันใต้ถุนโลก ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น การละลายของธารน้ำแข็ง อุทกภัยครั้งใหญ่ ผลผลิตทางการเกษตรที่ลดต่ำลง และการเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบางชนิด เหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและรุนแรงจนมิอาจควบคุมได้ หากเราไม่หยุดยั้งภาวะโลกร้อนตั้งแต่ตอนนี้.... ”

หลายฝ่ายออกมาเคลี่อนไหวเพื่อให้เกิดการป้องกันและแก้ไขญหาโลกร้อน โดยตระหนักถึงความเฉียบพลันของผลกระทบที่อาจเกิดอย่างรุนแรงไม่วันใดวัน หนึ่งในไม่ช้า ถ้าผู้ที่เกี่ยวข้องขาดความร่วมมือและรับผิดชอบร่วมกัน เช่นในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 ที่ผ่านมาที่ชะอำ-หัวหิน กลุ่มกรีนพีชที่ได้เคลื่อนไหวรณรงค์ โดยกลิ้งลูกโลกยักษ์ 2 ลูก พร้อมกับชูป้ายข้อความ “Asean : U turn the Earth หรือ อาเซียนสามารถยูเทิร์นโลกได้” จากบริเวณหน้าโรงแรมเชอราตัน ซึ่งเป็นศูนย์ข่าวอาเซียน ตรงไปยังโรงแรมดุสิตธานี หัวหิน ซึ่งเป็นสถานที่จัดประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคมที่ผ่านมา และเป็นอีกหนึ่งกิจกรรม ที่ส่งสัญญาณให้ผู้นำ 10 ประเทศอาเซียน เอาจริงเอาจังกับการแก้ปัญหาดังกล่าว

โดยนายธารา บัวคำศรี ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เห็น ว่า อาเซียนได้รับบทเรียนอย่างแสนสาหัสมาแล้ว จากเหตุการณ์พายุกิสนาที่ถล่มประเทศฟิลิปปินส์ แต่อาเซียนกลับเพิกเฉยต่อสัญญาณภัยครั้งนี้ จึงขอเรียกร้องให้ผู้นำ 10 ประเทศอาเซียนรวมตัวกันเพื่อปกป้องและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมุ่งยุติการทำลายป่าไม้และลดการผลิตสารคาร์บอนไดออกไซด์ของแต่ละประเทศ

“เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่ผู้นำอาเซียนจะผนึก กำลังร่วมกัน เพื่อสนับสนุนให้เกิดข้อตกลงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความเข้ม แข็งในการประชุมสุดยอดที่โคเปนเฮเกนในเดือนธันวาคมนี้ การผนึกกำลังนี้ เป็นสัญญาณของการมีส่วนสำคัญต่อเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่จำเป็น การประกาศยุติการทำลายป่าไม้โดยสิ้นเชิงและให้ความสำคัญเร่งด่วนต่อทางเลือก จะนำพาสังคมของเราออกไปจากกับดักของระบบเศรษฐกิจที่มีฐานอยู่บนเชื้อเพลิง ฟอสซิลและการปล่อยคาร์บอนอย่างมหาศาล”

แต่เมื่อถามถึงจุดยืนของอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น นายธาราเห็นว่า เท่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ยังเป็นเรื่องทั่วๆ ไป และขาดแผนปฎิบัติการที่ชัดเจน ดังนั้น ในการประชุมสุดยอดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเดือนธันวาคมนี้ จะเป็นโอกาสครั้งสำคัญทางประวัติศาสตร์ของโลกในการเดินให้พ้นจากขอบเหวของ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นอันตราย ทั้งนี้ การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่าง น้ำมัน ถ่านหินและก๊าซ ล้วนเป็นสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ การทำลายป่าเขตร้อน ยังก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาถึงร้อยละ 20 ซึ่งสูงกว่าการปล่อยก๊าซจากรถไฟ เครื่องบินและรถยนต์ของโลกรวมกันทั้งหมด

สำหรับข้อเรียกร้องของกลุ่มกรีนพีซ มี 3 เรื่อง คือ

1)ขอให้ผู้นำอาเซียนผนึกกำลังกดดันให้ผู้นำของประเทศอุตสาหกรรมทั่วโลก ยอมรับข้อตกลงในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมหาศาล
2) ผู้นำอาเซียนสนับสนุนให้เกิดข้อตกลงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เข้ม แข็ง ในการประชุมสุดยอด ที่กรุงโฮเปนเฮเกน ในเดือนธันวาคมนี้
3)ร่างคำแถลงการณ์ร่วม ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 15 และการประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 5 ต้องนำไปสู่แผนปฏิบัติได้จริง และยกให้แผนการรับมือสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงเป็นวาระเร่งด่วนของอา เซียน

และเมื่อประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 สิ้นสุดลง ผลลัพธ์ของการประชุมครั้งนี้ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาโลกร้อน/การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ เกาหลีใต้ (ประเทศคู่เจรจา)จะให้การสนับสนุนทางการเงิน จำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้ข้อริเริ่มว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนของเอเชียตะวันออกเพื่อแก้ไขปัญหา โลกร้อน (East Asia Climate Partnership Initiative)

ขณะที่การจัดการกับปัญหาภัยพิบัตินั้น ญี่ปุ่น(ประเทศคู่เจรจา) ก็ประกาศให้เงินสมทบเพิ่มเติมจำนวน 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แก่กองทุนอาเซียน-ญี่ปุ่นว่าด้วยการบูรณาการ (Japan-ASEAN Integration Fund) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติ และการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน

นอกเหนือจากสิ่งที่กล่าวมา สิ่งที่กรีนพีซ คาดหวังก็คือ ความสนใจที่มีร่วมกันของอาเซียนในการปกป้องป่าไม้และการเปลี่ยนเปลงสภาพภูมิ อากาศในภูมิภาค จะทำให้อาเซียนสนับสนุนข้อเรียกร้องของกรีนพีซในการที่จะจัดสรรงบประมาณ ประจำปี อย่างน้อย 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี พ.ศ. 2563 เพื่อยุติการทำลายป่าในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งถือเป็นการลงมือปฎิบัติอย่างเร่งด่วนในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศและให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็ว



จาก : สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ วันที่ 30 ตุลาคม 2552

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม