ดูแบบคำตอบเดียว
  #6  
เก่า 22-02-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,159
Default

เรื่องการคัดค้านการสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารามีมานานแล้ว ลองอ่านความคิดเห็นอื่นๆเพิ่มเติมดูนะคะ


ท่าเรือน้ำลึกบ้านปากบารา ส่อเค้าซ้ำรอย"มาบตาพุด"


จาก...ไทยโพสต์ 11 กรกฎาคม 2553


เป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในเมืองที่ได้ชื่อว่า สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์ อย่าง "สตูล" กับกรณีที่ชาวสตูลจากหลายพื้นที่ในกว่า 300 คน ในนาม "เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล" มารวมตัวเพื่อเรียกร้องความ เป็นธรรมจากรัฐ ด้วยการประกาศชัดว่า "ไม่เอาท่าเรือน้ำลึก" หน้าศาลากลางจังหวัด เมื่อวันที่ 2 ก.ค.ที่ผ่านมา ผ่านการไฮด์ปาร์กบนรถ ถือป้ายผ้าแสดงข้อความ และยืนให้กำลังใจพวกพ้องอย่างใกล้ชิด


ตามนโยบายแผนพัฒนาท่าเรือน้ำลึกภาคใต้ ณ "บ้านปากบารา" อ.ละงู จ.สตูล ที่รัฐบอกกล่าวถึงโครงการจะทำให้สตูลกลายเป็นเมืองเจริญ ผู้คนมีงานทำมีรายได้มีชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งท่าเรือน้ำลึกที่ปากบารา การก่อสร้างรถไฟรางคู่พาดผ่านระหว่างสตูลกับสงขลา การขยายถนนหนทางให้กว้าง ขวางมากขึ้น โครงการวางท่อขนส่งน้ำมันท่อก๊าซระหว่างทะเลอ่าวไทยกับทะเล อันดามัน คลังน้ำมัน 5,000 ไร่ และการขุดเจาะอุโมงค์เชื่อมเส้นทางหลวงสตูล-เปอร์ลิส (ไทย-มาเลเซีย) ซึ่งทั้งหมดอยู่ภายใต้โครงการสะพานเศรษฐกิจ สตูล-สงขลา หรือแลนด์บริดจ์ ที่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หยิบนโยบายเก่าตั้งแต่ พ.ศ.2524-2525 ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ มาปัดฝุ่น และสานต่อด้วยรัฐบาลชุดปัจจุบันของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ


ชาวบ้านปากบาราเริ่มคิดได้ว่าภาพสวยหรูที่รัฐให้ไว้ อาจจะกลายเป็นภาพมายา และอาจทำให้ชาวบ้านมีชะตากรรมเดียวกับชาวบ้านมาบตาพุด จ.ระยอง ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพอีสเทิร์นซีบอร์ด


ผลกระทบที่ชาวบ้านมองเห็นก็คือ การสูญเสียพื้นที่ทางทะเลของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรากว่า 4,730 ไร่ อันเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ ที่ชาวบ้านใช้จับกินแและจับขายหาเลี้ยงชีพ ภูเขาต้องถูกระเบิดถึง 8 ลูก และทรายชายฝั่งกว่า 20 ล้านคิว ถูกขุดเพื่อนำไปถมทะเลใช้สร้างท่าเรือน้ำลึก ที่ดินถูกเวนคืนในราคาถูกเพื่อใช้ขยายถนนและสร้างรถไฟรางคู่ แถมพื้นที่ชายฝั่งก็ถูกยึดไปทำคลังน้ำมันขนาดใหญ่ หรือแม้แต่ภาษีของประชาชน เองก็จะถูกนำไปลงทุนกับโครงการเหล่านี้ในจำนวนมหาศาลเป็นหลายแสนล้านบาท แต่ผลประโยชน์ที่ได้กลับตกอยู่กับกลุ่มนายทุน ไม่ใช่ชาวบ้านอย่างที่อวดอ้างไว้


ดร.อาภา หวังเกียรติ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะนักวิชาการที่ติดตามผลกระทบจากทิศทางการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ มากว่า 10 ปี ยืนยันผ่านเวทีสาธารณะที่ชาวบ้านรวมตัวกันจัดขึ้นในพื้นที่ โดยร่วมกับ มูลนิธิสืบนาคะเสถียรว่า สิ่งที่ชาวบ้านวิตกนั้นมีความเป็นไปได้สูง โครงการ พัฒนาท่าเรือน้ำลึกที่เกิดขึ้น ทำไปเพื่อรองรับการเกิด "นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่บนเนื้อที่ 150,000 ไร่" ของจังหวัดสตูล ที่จะมารองรับปัญหานิคมอุตสาหกรรมที่มาบตาพุด และแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ที่ไม่สามารถขยับขยายพื้นที่ได้อีกต่อไป เพราะติดปัญหาเรื่องเพิ่ม ปริมาณมลพิษให้กับพื้นที่ รวมทั้งการแก้ปัญหาที่ยากยิ่ง


ดร.อาภากล่าวต่อว่า แต่เดิมเมืองสตูลกำหนดแผนพัฒนาจังหวัดปี 2553-2556 ไว้ ว่า "เมืองท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การเกษตรยั่งยืน เมืองท่าฝั่งอันดามัน สร้าง สรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้" แต่ต่อมายุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดกลับถูกแตก ออกเป็น 5 ประเด็น ได้แก่

1.การส่งเสริมและพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
2.พัฒนาการผลิตและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรบนพื้นฐานการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติอย่างยั่งยืน
3.พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคมให้มีคุณภาพ
4.พัฒนาระบบการขนส่งและโครงข่ายขนาดย่อม และ
5.เสริมสร้างความเข้มแข็งฐานเศรษฐกิจของพื้นที่ และการพัฒนาความร่วมมือกับ ประเทศใกล้เคียง ซึ่งการพัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรมก็เป็นส่วนหนึ่งของแผน


"แผนพัฒนาดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นโดยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงจาก ประชาชน แต่เป็นการเอาของรัฐบาลส่วนกลางมากำหนดในแผนพัฒนาภาคใต้ แถมในทางปฏิบัติมี การผลักดันระบบการขนส่ง และโครงข่ายคมนาคมอย่างเป็นรูปธรรมมากกว่าแผนด้านอื่นๆ และดำเนินการเป็นชุด โครงการขนาดใหญ่มากที่สุด ทั้งยังเชื่อมโยงเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักเพิ่ม เติม ผ่านการกำหนดยุทธศาสตร์ย่อยดังต่อไปนี้" ดร.อาภากล่าว


1.การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม ประกอบด้วย การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกสำหรับการส่ง สินค้าออกและนำเข้าที่ปากบารา ซึ่งจะพัฒนาเป็นท่าเรืออเนกประสงค์ ทั้งขนส่งสินค้าแบบตู้ในสินค้า แบบเทกอง และสินค้าเหลวทางท่อ เช่น น้ำมัน แก๊ส และสารเคมี สร้างนิคมอุตสาหกรรมพัฒนาควบคู่กับท่าเรือน้ำลึก บนพื้นที่ 1.5 แสนไร่ บน อ.ละงู จ.สตูล ซึ่งแบ่งเขตนิคมอุตสาหกรรมดังนี้ เขตอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก เขตอุตสาหกรรมหนัก เขตอุตสาหกรรมเบา เขตอุตสาหกรรมสนับสนุนและต่อเนื่องกับท่าเรือ บ่อบำบัดน้ำเสียและโรงงาน กำจัดขยะอุตสาหกรรม คลังสินค้าทัณฑ์บนของกรมศุลกากร และการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ได้แก่ สถานีย่อยไฟฟ้า ประปา สำหรับอุตสาหกรรม โทรคมนาคม


2.การพัฒนาสะพานเศรษฐกิจสายสตูล-สงขลา เพื่อเชื่อมประตูการค้าด้านตะวันตกไปยังทะเลตะวันออก ทั้งการขนส่งด้านถนน ที่จะพัฒนาถนนรอบท่าเรือปากบาราและถนนที่เชื่อมสตูลไปยังจังหวัดอื่นๆ ผ่านการสร้างถนนเส้นใหม่ การเจาะอุโมงค์ การขนส่งทางรถไฟที่จะสร้างเป็นระบบรางคู่ระยะทาง 110 กม. เพราะจะให้เป็นเส้นทางหลักในการขนส่งสินค้า จากท่าเรือปากบาราไปยังสงขลา (ที่มีการสร้างท่าเรือน้ำลึกอีกแห่งที่จะนะ) และยังมีการขนส่งทางท่อ รวมถึงการสร้างสถานีรวบรวมตู้สินค้า


3.การพัฒนาอุตสาหกรรม แบ่งเป็น อุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ อุตสาหกรรมเวชกรรมและเภสัชกรรม อุตสาหกรรมต่อเรือ ซ่อมเรือ ล้างและซ่อมตู้สินค้า โรงผลิตไฟฟ้าใช้เทคโนโลยีสะอาด โรงงานผลิตภัณฑ์พลาสติก และสถานีรวบรวมและขน ส่งสินค้าทั่วไป ควบคู่กับการขนส่งสินค้าเหลว


นอกจากนี้ ยังมีการโครงการขุดเจาะอุโมงค์ไทย-เปอร์ลิส เพื่อเชื่อมเส้นทาง การเดินทางระหว่างไทยกับมาเลเซีย โดยไทยจะขุดเจาะอุโมงค์ผ่านเทือกเขาสันกา ลาคีรี และตัดผ่านป่าชายเลน ระยะทางรวม 12 กม. ใช้งบราว 1,680 ล้านบาท ขณะนี้มีการลงสำรวจเส้นทางแล้ว "ทุกโครงการที่กล่าวไปมีการผลักดันอย่างรวดเร็วรวบรัดโดยรัฐ แต่ที่เห็น ชัดเจนมากที่สุดก็คือท่าเทียบเรือน้ำลึกที่ปากบารา โดยกรมเจ้าท่า กระทรวง คมนาคมเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ และหากโครงการดังกล่าวลงมือสร้างได้จริง ก็จะกลายเป็นประตูสู่ความหายนะของจังหวัดสตูล เพราะถ้าสร้างท่าเรือที่ปากบารา ยังไงๆ ก็ต้องสร้างท่าเรือที่จะนะ จ.สงขลา ควบคู่ไปด้วยแน่ๆ เพื่อทดแทนโครงการขุดคลองคอขอดกระที่ยังชะงักงัน ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดไว้มันถูกแน่ๆ" ดร.อาภาแจง และชี้ให้เห็นด้วยว่า


นักวิชาการระบุว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้ก็คือเรื่องที่คณะกรรมการสิ่ง แวดล้อมแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีมิตเห็นชอบร่างรายงานการศึกษาผล กระทบสิ่งแวดล้อม (eia) โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราแล้ว เหลือเพียงแต่ประเด็นในการขอใช้พื้นที่อุทยานหมู่เกาะเภตราจำนวน 4,730 ไร่ ที่หัวหน้าอุทยานให้ความเห็นเป็นหนังสือทำนองว่า มีผลกระทบและควรพิจารณาเป็นพิเศษ แต่ก็ใช่ว่าไม่มีทางทำได้ เพราะกฎหมายยัง เปิดทางให้ใน 2 กรณี ได้แก่ หากเป็นโครงการร่วมระหว่างกรมอุทยานฯ และหน่วยงานที่ขอ แล้วเป็นประโยชน์ต่ออุทยานฯ ตามกฎหมาย หรือดำเนินการยกเลิกพื้นที่อุทยาน โดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกา แก้ไข้พื้นที่แนบท้ายประกาศพื้นที่อุทยานฯ ซึ่งกรณีหลังมีความเป็นไปได้สูง เพราะเคยเกิดขึ้นแล้วในกรณีใช้พื้นที่อุทยานฯ สร้างเขื่อน
__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม