ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 10-03-2020
แมลงปอ แมลงปอ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 698
Default

นายก อบต.นำทีมขึ้นสำรวจถ้ำมืดใน ?เขายะลา? พบมีความสวยงามของธรรมชาติ




ยะลา - นายก อบต.ยะลา นำทีมขึ้นสำรวจถ้ำมืดภายใน ?เขายะลา? พบมีความสวยงามของธรรมชาติ แม้ทางกรมศิลปากรชี้แจงว่าการลดพื้นที่โบราณสถานจะไม่กระทบเขายะลาก็ตาม

ความคืบหน้ากรณีที่กรมศิลปากร ได้ประกาศลดขนาดพื้นที่โบราณสถานเขายะลา หรือเขายาลอ มากถึง 190 ไร่ เพื่อเอื้อประโยชน์ในการประกอบอุตสาหกรรมหินในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ แม้หลังประกาศออกมาจะมีหลายฝ่าย รวมไปถึงชาวบ้านในพื้นที่ที่ไม่เห็นด้วย และขอให้กรมศิลปากรได้ทบทวนคำสั่งประกาศดังกล่าวอีกครั้ง

ล่าสุด วันนี้ (9 มี.ค.) หลังจากที่มีกระแสข่าวของเขายะลานำเสนอไปแล้วนั้น ทำให้ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลยะลา มีทั้งเจ้าหน้าที่จากหลายภาคส่วน หลายหน่วยงาน และประชาชนทั่วไป เดินทางเข้ามาติดต่อประสานงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อขออนุญาตเข้าไปดูภาพเขียนสีโบราณ ที่ยังมีอยู่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หลังจากที่ภาพเขียนโบราณรูปคนในจุดที่ 1 นั้นได้พังเสียหายจากแรงของการระเบิดหิน เพื่อประกอบอุตสาหกรรมเมื่อหลายปีก่อน



โดยวันนี้ นายโกมุท มอหาหมัด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยะลา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ของ อบต.ยะลา จำนวนกว่า 20 คน ได้รวมกลุ่มกันเดินเท้าขึ้นไปสำรวจถ้ำมืดที่อยู่บริเวณกลางเขายะลา ซึ่งมีระยะทางประมาณ 1.5-2 กิโลเมตร

ซึ่งถ้ำมืดที่ว่านี้มีความสวยงามของธรรมชาติอยู่ภายในถ้ำ และบริเวณของถ้ำนั้นอยู่ใกล้กับแนวเขตที่มีการประกาศพื้นที่ใหม่ หากมีการเปิดพื้นที่ในการทำอุตสาหกรรม ก็มีความเป็นไปได้ว่าถ้ำแห่งนี้จะได้รับความเสียหาย

จากข้อมูลในการแบ่งเขตพื้นที่ ลดขนาดพื้นที่โบราณสถาน ตามที่อธิบดีกรมศิลปากรคนเก่า นายอนันต์ ชูโชติ ได้ลงนามไว้เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 นั้น พบว่าหากนำภาพถ่ายทางอากาศมาเปรียบเทียบ และซ้อนภาพกันแล้ว จะเห็นได้ว่าในการประกาศขึ้นทะเบียนพื้นที่เขตโบราณสถานเขายะลา เมื่อปี พ.ศ.2544 จะเห็นถึงแนวเขตที่ครอบคลุมพื้นที่ตามประกาศ และมีการเปรียบเทียบภาพ เมื่อมีการประกาศลดพื้นที่โบราณสถานเขายะลา ล่าสุด ปี พ.ศ.2562 ก็จะพบว่าในพื้นที่ที่ลดขนาดนั้น มีการประกอบอุตสาหกรรมหิน หรือหากสังเกตตามภาพถ่ายทางอากาศ ก็จะเห็นได้ชัดเจนว่ามีการถูกบุกรุกพื้นที่โบราณสถาน เนื่องจากพบร่อยรอยของภูเขาที่ต่างไปจากปี พ.ศ.2544

หรืออาจพูดให้มีความเข้าใจตรงกันคือ มีการบุกรุกทำอุตสาหกรรมหิน เข้าไปในเขตที่ประกาศเป็นพื้นที่โบราณสถาน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ต้องลงชื่อในคำประกาศลดพื้นที่โบราณสถานเขายะลา จำนวน 190 ไร่ เมื่อ 30 กันยายน 2562 ในวันสุดท้ายของการรับราชการ เพื่อหลบเลี่ยงความผิดกรณีพื้นที่โบราณสถานถูกบุกรุก





ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม