ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 08-07-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


วิกฤติสภาพภูมิอากาศจากภาวะโลกร้อน



สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดปรากฏการณ์การขยายตัวของอาร์กติก ทำให้มีฤดูร้อนเร็วขึ้นและนานขึ้น แต่นอกเหนือจากภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว ขณะนี้นักวิจัยพบว่าเมื่ออุณหภูมิอุ่นขึ้นก็จะมีชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบางชนิดปรากฏเพิ่มจำนวนขึ้นด้วย นับว่าเป็นผลกระทบแบบที่ไม่คาดคิด

หนึ่งในสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นก็คือแมงมุมที่มีการแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วในจำนวนมากที่ภูมิภาคอาร์กติก ล่าสุดการศึกษาใหม่จากทีมวิจัยแห่งศูนย์วิจัยอาร์กติกและภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพจากมหาวิทยาลัยออร์ฮูส ในเดนมาร์ก เผยว่าแมงมุมกำลังปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศที่อบอุ่นในแถบอาร์กติก จนทำให้มันสร้างถุงไข่ได้ 2 ถุงในช่วงฤดูร้อนแทนที่แบบปกติ ซึ่งมันมักจะสร้างถุงไข่เพียงอันเดียวในแต่ละฤดูร้อน

เรื่องดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในการสืบพันธุ์ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง โดยเฉพาะสัตว์ตัวเล็กๆ ในแถบอาร์กติกได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นั่นยังหมายถึงว่าหากมีแมงมุมหรือแมลงในอาร์กติกจำนวนมาก ก็อาจมีอิทธิพลต่อระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหารบนบกในวันข้างหน้า.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1883376


*********************************************************************************************************************************************************


สารสกัดใหม่จากปลาดาว แห่งหมู่เกาะคูริล


Credit : CC0 Public Domain

ปกติแล้วสารสกัดจากปลาดาวที่รู้จักกันก็คือคอลลาเจนธรรมชาติ หรือโปรตีนที่มีส่วนประกอบของคอลลาเจนมากถึง 60% ช่วยในการฟื้นฟูผิวพรรณให้เปล่งปลั่งชุ่มชื่นและชะลอความชรา แต่เมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียจากหลายสถาบัน นำโดยศูนย์การศึกษาและวิเคราะห์ทางปัญญาในรัสเซียตะวันออก ไกล (FEFU) ได้ค้นพบสารประกอบใหม่จากปลาดาวแห่งหมู่เกาะคูริล ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ตอนเหนือของเกาะฮอกไกโดของญี่ปุ่น และตอนใต้ของดินแดนคัมชัตกาแห่งรัสเซีย

ทีมวิจัยเผยว่า สารประกอบดังกล่าวเป็นอนุพันธ์ที่ไม่ใช่แบบปกติของกลุ่มโพลาร์ สเตียรอยด์ (polar steroids) โดยพบสาร 4 ตัวใหม่ สารประกอบเหล่านี้อาจทำหน้าที่ส่งมอบสารอาหารจากระบบทางเดินอาหารไปยังรอบนอกของเซลล์ในร่างกายปลาดาว ทำหน้าที่เหมือนกรดน้ำดีในกระเพาะอาหารของมนุษย์ ซึ่งก่อนหน้านี้มีการค้นพบสารประกอบเพียงตัวเดียวที่สกัดได้จากปลาดาว

นักวิจัยชี้ว่าเนื่องจากธรรมชาติของสเตียรอยด์จากปลาดาว จะเป็นตัวขัดขวางภาวะระบบประสาทเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ ฯลฯ แต่สิ่งที่สำคัญที่พบจากสารสเตียรอยด์ใหม่ในปลาดาวแห่งหมู่เกาะคูริล ก็คือจะช่วยลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งในระดับเข้มข้นและไม่เป็นพิษ ซึ่งให้ความหวังว่าสารสกัดใหม่เหล่านี้จะไม่ฆ่าหรือทำลายเซลล์ร่างกายที่แข็งแรง.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1883381

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม