ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 22-10-2010
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,253
Default โครงการอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการปฐมพยาบาลเ บื้องต้น

โครงการอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ดำเนินงานโดย
www.saveoursea.net คณะแพทย์และนักศึกษาแพทย์ จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ รพ.พระมงกุฏฯ

ณ. บ้านสองสาย สุขุมวิท ซอย 20
วันเสาร์ที่ 13 และ วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2553





ที่มาของโครงการ

www.SaveOurSea.net (SOS) ซึ่งสมาชิกเป็นกลุ่มบุคคลซึ่งมีความรักในทะเลและมีความสนใจในการทำงานร่วมกันเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติทางทะเล ได้ตระหนักถึงความสำคัญของวิธีการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ที่สมาชิกสามารถนำไปปฏิบัติได้ทั้งกิจกรรมภาคทะเล และกิจกรรมบนบก รวมไปถึงชีวิตประจำวันอีกด้วย

การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเป็นทักษะที่จำเป็นในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะฉุกเฉิน หลักสูตรนี้เป็นการสอนให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้และความเข้าใจในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในภาวะฉุกเฉินก่อนที่จะได้รับความช่วยเหลือจากระบบบริการแพทย์ฉุกเฉิน หลักสูตรนี้ประกอบด้วยการเรียนการสอนให้ประชาชนเข้าใจอาการของผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะฉุกเฉิน หยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้น และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถเข้าสู่ระบบการบริการแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนสามารถปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานในการช่วยหายใจ กดหน้าอกนวดหัวใจ ช่วยพยุงอาการผู้ป่วยจนได้รับการช่วยเหลือจากระบบบริการแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างปลอดภัย


วัตถุประสงค์

เมื่อสิ้นสุดการอบรมผู้เรียนจะต้อง

1. มีความรู้เกี่ยวกับการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการปฐม พยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกต้อง เช่น
- นิยามของการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการช่วยชีวิตขั้นสูง
- บทบาทของการบริการแพทย์ฉุกเฉินในชุมชน
- อธิบายปรากฏการณ์ ปัจจัยเสี่ยง และผลกระทบของโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีต่อชุมชน
- อธิบายสาเหตุของการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน
- อธิบายอาการเตือนของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- อธิบายกายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบไหลเวียนอย่างง่าย ๆ
- นิยามภาวะ cardiopulmonary arrest
- อธิบายขั้นตอนของการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานอย่างละเอียด รวมถึงการแก้ไขภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นจากสิ่งแปลกปลอม( foreign body airway obstruction ) ทั้งในผู้ป่วยผู้ใหญ่ เด็ก และทารก
- อธิบายเหตุผลของการปฏิบัติขั้นตอนการช่วยชีวิตได้อย่างถูกต้อง
- สามารถให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในผู้เจ็บป่วยจากอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยที่ไม่ซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม

2. มีทักษะในการปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง เช่น
- การประเมินสภาพผู้ป่วยที่อยู่ภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน
- การร้องขอความช่วยเหลือ และเข้าสู่การบริการแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างถูกต้อง
- สามารถเปิดทางเดินหายใจในผู้ป่วยที่หยุดหายใจได้อย่างถูกต้อง
- สามารถประเมินการหายใจของผู้ป่วย และช่วยหายใจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- สามารถประเมินการทำงานของระบบไหลเวียน และให้การช่วยเหลือโดยการกดหน้าอก นวดหัวใจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานด้วยผู้ให้การช่วยคนเดียว หรือสองคนได้อย่างถูกต้อง
- สามารถประเมินอาการของผู้ป่วยที่มีสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ(สำลัก) และให้ความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง
- สามารถให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในผู้เจ็บป่วยจากอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยที่ไม่ซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม


เนื้อหา

1. นิยามของการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
2. กายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบหายใจและระบบไหลเวียน
3. ระบบบริการแพทย์ฉุกเฉินและการช่วยเหลือผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน
4. ความสำคัญของการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานกับอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย
5. ขั้นตอนการปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานโดยผู้ให้การช่วยเหลือหนึ่งคน
6. ขั้นตอนการปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานโดยผู้ให้การช่วยเหลือสองคน
7. ขั้นตอนการช่วยเหลือกรณีผู้ป่วยสำลัก
8. การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในผู้เจ็บป่วยจากอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยที่ไม่ซับซ้อน
9. การฝึกปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานโดยผู้ให้การช่วยเหลือหนึ่งคน
10. การฝึกปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานโดยผู้ให้การช่วยเหลือสองคน
11. การฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือกรณีผู้ป่วยสำลัก


การจัดประสบการณ์เรียนรู้

1. ภาคทฤษฎี
• บรรยายเรื่องการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยวิทยากร
• ชมวิดีทัศน์การปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
2. ภาคปฏิบัติ
• สาธิตการปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยวิทยากร
• ผู้เรียนฝึกปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกับหุ่นฝึก ภายใต้การแนะนำของวิทยากร


การประเมินผล

วิทยากรจะเป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติของผู้เรียนในระหว่างการฝึกอบรมตามหัวข้อที่กำหนดให้ พร้อมทั้งให้คำแนะนำ แก้ไขปรับปรุง ให้ได้ตามมาตรฐานที่สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย กำหนดไว้


จำนวนผู้เข้ารับการอบรม

สมาชิก SOS จำนวนไม่เกิน 12-15 คน ต่อรุ่น (เนื่องจากห้องเรียนมีพื้นที่จำกัด)


วัน เวลา และสถานที่

เปิดอบรม 2 รุ่น :

รุ่นที่ 1 ในวันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2553 เวลา 9.00 – 17.00 น.
รุ่นที่ 2 ในวันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2553 เวลา 9.00 – 17.00 น.

ณ บ้านสองสาย สุขุมวิท ซอย 20 (สายน้ำผึ้ง)

การอบรมใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง มีการบรรยายภาคทฤษฎี ประมาณ 1.30 ชั่วโมง
จากนั้นแบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมออกเป็นกลุ่ม เข้าฝึกภาคปฏิบัติใน 3 สถานีย่อย คือ สถานีการทำ CPR สถานีการฝึกปฐมพยาบาล และสถานีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมจะได้ฝึกปฏิบัติจนเกิดความมั่นใจว่าทำได้


วิทยากร


1. นพ.สุเมธ เติมมธุรพจน์ และทีมงานจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ รพ.พระมงกุฏฯ
2. คุณแน่งน้อย ยศสุนทร NAUI Instructor Trainer และ First aid & CPR Instructor
3. คุณฉันทนา เครือวัลย์ พยาบาลชำนาญการ รพ.พญาไท 1

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 19-12-2010 เมื่อ 06:11
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม