ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 05-03-2020
แมลงปอ แมลงปอ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 698
Default

พร้อมผลัก ?กิ่วแม่ปาน? สู่ห้องเรียนธรรมชาติ สร้างจิตสำนึกแก่นักท่องเที่ยว




อุณหภูมิเปลี่ยน -โลกเปลี่ยน!! ตลอดระยะเวลา 22 ปีที่เปิดให้ได้เยี่ยมชม สภาพแวดล้อมของระบบนิเวศแห่งนี้ มีการเปลี่ยนแปลง สร้างทางเดินยกระดับ-ปรับปรุงป้ายให้ความรู้ เพื่อเปิดเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ?กิ่วแม่ปาน? ห้องเรียนธรรมชาติ ให้คงอยู่สืบไป



?ป่าต้นน้ำที่นี่ให้น้ำไปหล่อเลี้ยงถึง 4 อำเภอด้วยกัน คือ อ.จอมทอง อ.แม่แจ่ม อ.แม่วาง และบางส่วนของ อ.ดอยหล่อ ถือว่าเป็นหุบเขาหรือขุนเขาที่ให้น้ำจากธรรมชาติเยอะมาก แล้วเมื่อไหลไปหล่อเลี้ยง 4 อำเภอ ก็ไหลไปรวมตัวเป็น แม่น้ำปิง สู่เขื่อนภูมิพล และเจ้าพระยา

https://mpics.mgronline.com/pics/Ima...002282811.JPEG

นี่คือป่าต้นน้ำที่สูงที่สุดในประเทศไทย ที่กำหนดสายน้ำไปหล่อเลี้ยง ทั้งมนุษย์และสรรพสิ่งนานาชีวิต ดังนั้นสิ่งที่ทุกคนเดินทางมาตรงนี้ ณ ที่นี่ คือจุดเริ่มต้นของสายน้ำจริงๆ หรือว่าต้นน้ำเจ้าพระยา?


เกษม เลายะ หัวหน้ามัคคุเทศก์ท้องถิ่น บอกเล่าถึงความสำคัญระหว่างนำพาสำรวจ เส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปานแห่งนี้ ซึ่งใครจะรู้ล่ะว่า "กิ่วแม่ปาน? ที่เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติสั้นๆ ในระยะประมาณ 2.8 กม.ถือเป็น ไฮไลต์สำคัญของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ที่นักท่องเที่ยวต่างเข้ามาเยี่ยมชมตลอดหน้าหนาว

พื้นที่แห่งนี้ เป็น 1 ใน 3 ของป่าเมฆที่มีอยู่ในประเทศไทย รวมทั้งเป็นหนึ่งในป่าต้นน้ำที่ให้กำเนิดแม่น้ำปิง แม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ พร้อมทั้งเล็งเห็นปัญหาเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่เกิดขึ้นว่าควรมีการจัดการที่ดีขึ้น

โดยครั้งนี้ ได้มีการปรับปรุงเส้นทางใหม่ หลังเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามานานกว่า 22 ปี ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ และมูลนิธิไทยรักษ์ป่าจาก เอ็กโก กรุ๊ป เพื่อสร้างจิตสำนึกรักษาป่าต้นน้ำ ให้ยั่งยืน และรักษาระบบนิเวศป่าเมฆในกลุ่มนักท่องเที่ยว

"ธงชัย โชติขจรเกียรติ" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายบริหารองค์กร เอ็กโก กรุ๊ป และกรรมการมูลนิธิไทยรักษ์ป่า บอกเล่าผ่านมุมมองผู้ดำเนินโครงการว่าดารพัฒนาเส้นทางธรรมชาติให้เป็นแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศป่าต้นน้ำ เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีความเข้าใจ ได้รับแรงบันดาลใจที่จะต่อยอดการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ และตระหนักในคุณค่าของป่าต้นน้ำและร่วมรักษาไว้เพื่อส่งต่อให้คนรุ่นต่อไป

?ปกติทำเรื่องนี้ควรจะอยู่ในพื้นที่ ที่เรามีศักยภาพขยาย เรากลับมองว่าบางทีการกระทำเพื่อสังคม เพื่อชุมชน การที่ทำนอกพื้นที่มันจะบอกว่าเราทำเพื่อสังคม เพื่อประเทศ เรามองว่ามันเป็นประโยชน์ เราไม่ได้มามองว่าเราทำแล้วจะได้กลับมาเท่านั้น

จริงๆเราไม่มองไม่ได้หรอกครับ เพียงแต่ว่าในมุมนึงที่ป่า ต้นน้ำ และความสำคัญมันอยู่ตรงนี้ เราก็คิดว่าตรงนี้ยังมีความจำเป็น มีความสำคัญอยู่ เราก็เลยให้ความสำคัญตรงนี้?

ทว่าด้วยสภาพอากาศที่แปรปรวน บวกกับเป็นป่าดิบชื้น เปิดเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติเป็นเวลานาน ส่งผลให้มีการปรับตัวของพืชและสัตว์ รวมทั้งระบบรากไม้ได้รับผลกระทบเป็นอย่างหนัก จึงได้มีการปรับปรุงเส้นทางเดินเท้าที่กำลังทรุดโทรม ด้วยการสร้างทางเดินยกระดับ (Boardwalk) ที่ใช้เข็มเหล็กเจาะเฉพาะจุดเป็นฐานและใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นทางเดิน ซึ่งเป็นวิธีที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศที่น้อยที่สุด

แน่นอนว่าเมื่อสร้างทางเดินในเส้นทางธรรมชาติแห่งนี้ จะตามมาด้วยการตั้งคำถามว่ายิ่งเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ทางด้าน"มานนีย์ พาทยาชีวะ" เลขาธิการมูลนิธิไทยรักษ์ ซึ่งเธอถือเป็นคนที่ตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอย่างมาก โดยให้คำตอบเรื่องนี้ว่า ตั้งใจพัฒนาเส้นทางศึกษาธรรมชาติให้เป็นเสมือนห้องเรียนที่มีชีวิต มีความกลมกลืนและเป็นมิตรกับธรรมชาติ ความปลอดภัย มีมาตรฐาน เป็นไปตามกฎระเบียบของอุทยานฯ มากถึงที่สุด

?จริงๆ อุทยานเองก็ชวนเราทำบอร์ดวอร์ก มาหลายครั้ง หลายโอกาส เช่น ท่านองคมนตรี พลากร (สุวรรณรัฐ) ท่านก็อยากให้ทำ

ทางเราก็ไม่ค่อยอยากให้เดินเป็นบอร์ดวอร์ก วิธีการเดิมๆ อาจจะดีกว่า หรือทางอุทยานก็บอกเราว่าทำบอร์ดวอร์กเถอะจะได้เปิดตลอด ซึ่งเราคิดว่าธรรมชาติเองต้องพัก หน้าฝนเดินกิ่วไม่สนุกหรอก อะไรก็ตกก็มาได้ เพราะมันลื่น เราก็ยื้อๆ มาแบบนี้

จนถึงสุดท้ายที่สภาพที่เราเห็นว่ามันเยอะมากจริงๆ เราก็คุยกันว่าถ้ายังต้องเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบนี้ แล้วเราจะอยู่ร่วมกันยังไง

วันนั้นเราก็ทำงานกับสถาปนิก ตอนแรกจุดตั้งต้นจะไม่ทำบอร์ดวอร์ก เราก็ไปดูก่อนว่าเราจะใช้วิธีแบบไหน

ถ้าฝนตก หน้าดินแบบนี้ ระบายน้ำแบบนี้ได้มั้ย หรือเอาดินที่หนึ่งมากลบอีกที่หนึ่งจะได้มั้ย คิดแบบวิธีนั้นก่อน

แต่พอเก็บข้อมูลนานๆ เข้า วิธีนั้นมันได้ชั่วคราว และไม่ค่อยแก้ได้มากนัก มันก็เลยสุดท้ายต้องทำด้วยบอร์ดวอร์ค

และเราก็ดื้ออีกต่อไป ว่าเราทำเฉพาะแค่จุดที่จำเป็นแล้วกัน เรายังอยากให้เดินบนเส้นทางเดิม และเราก็เลือกจุดที่มันรากไม้หลบเยอะๆ จะเห็นข้างใต้ รากไม้ลอยขึ้นมาเยอะมาก ก็จะทำโดยเฉพาะที่จำเป็น ก็จะเป็นช่วงๆ แต่ในขณะทำที่จำเป็นก็เยอะ 520 เมตร"


แนวทาง ?ปรับปรุงป้าย-เส้นทาง? ควบคู่อนุรักษ์



หากมองจากสายตา "ศราวุธ เขมสิริบริรักษ์" ผู้นำเที่ยวเฉพาะท้องถิ่น ที่คลุกคลีในระบบป่านิเวศแห่งนี้ ยังฝากทิ้งท้ายให้ฟังว่า แค่ทุกคนได้เข้ามายังเส้นทางศึกษากิ่วแม่ปาน ก็ถือเป็นการดูแลป่าแห่งนี้ ให้คงอยู่สืบไปแล้ว

?ต้องมีจิตสำนึก ระบบนิเวศน์หรือระบบธรรมชาติ หรือมีหลายๆอย่างที่อยู่ในป่า มันก็อย่างที่บอก เราพึ่งป่า ป่าก็พึ่งเรา อยู่ด้วยกัน เราได้ออกซิเจนจากป่า ป่าก็ได้จากเรา ก็คือเราดูแลป่าไม้

เราก็มาช่วยดูแลป่า มาเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ป่าเช่นกัน ไม่ใช่เราต้องทำงาน หรือทุกภาคส่วนต้องดูแล?

นอกจากการปรับปรุงเส้นทางศึกษา ?ป่าเมฆกิ่วแม่ปาน? แล้วนั้น ตลอดระยะทางที่เดินสำรวจ ทางมูลนิธิฯ ยังได้จัดทำป้ายสื่อความหมายธรรมชาติใหม่อีกด้วย ให้ความรู้ ความเข้าใจ อีกทั้งการทบทวนประเด็นและข้อความในการสื่อความหมายให้ดียิ่งขึ้น

สำหรับตามเส้นทางเดินจะมีแผ่นป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับผืนป่ากิ่วแม่ปานทั้งหมด 15 จุด ตลอดระยะทาง 2.8 กม. ซึ่งแต่ละแห่งทำหน้าที่เล่าเรื่องราวพื้นที่แห่งนี้ได้อย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นแลนด์มาร์คสำคัญที่นักท่องเที่ยวต่างให้ความสนใจอย่างจุดชมวิวแม่ปาน หรือแม้กระทั่งกุหลาบพันปี ที่ถือว่าเห็นได้ยากมากนักในปัจจุบัน

ไม่เพียงแค่นี้ นั่งพักตลอดเส้นทาง หากใครที่รู้สึกเหนื่อย หรือเดินไม่ไหว สามารถแวะนั่งพักได้ รวมทั้งยังมีการเปลี่ยนวัสดุของป้ายให้มีความทนทานต่อสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง รวมทั้งพัฒนาแอปฯ ?รักษ์ป่า? สำหรับการลงทะเบียนจองคิวเดินในเส้นทาง

โดยจะอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว ลดความแออัดในการรอคอยเข้าเส้นทางบริเวณ หน้ากิ่วแม่ปาน อีกทั้งสอดคล้องกับการเรียนรู้และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในปัจจุบันอีกด้วย


แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย แมลงปอ : 05-03-2020 เมื่อ 10:08
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม