ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 06-03-2020
เด็กน้อย เด็กน้อย is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: Aug 2009
ข้อความ: 263
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนลดลง แต่ยังคงมีลักษณะของฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ ในภาคเหนือตอนล่างด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

คาดหมาย

ในวันที่ 5 มี.ค. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 6 - 11 มี.ค. 63 มีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน

ข้อควรระวัง

ในวันที่ 5 มี.ค. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

******************************************************************************************

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
"พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบถึงวันที่ 6 มีนาคม 2563)"
ฉบับที่ 10 ลงวันที่ 06 มีนาคม 2563

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางยังคงมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้

วันที่ 6 มีนาคม 2563

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย ชัยภูมิ ขอนแก่น หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี สระบุรี ลพบุรี และพระนครศรีอยุธยา

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด



ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น

ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2563 เวลา 05.00 น.

ประกาศฉบับนี้เป็นฉบับสุดท้ายของเหตุการณ์นี้
รูปขนาดเล็ก
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	2020-03-06_DFTH2_0600.jpg
Views:	0
Size:	189.2 KB
ID:	21742   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	2020-03-06_DFTH1_0600.jpg
Views:	0
Size:	216.9 KB
ID:	21743   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	latest060320.jpg
Views:	0
Size:	133.0 KB
ID:	21744   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	2020-03-06_TopChart_07.jpg
Views:	0
Size:	118.5 KB
ID:	21745  
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม