ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 18-03-2020
แมลงปอ แมลงปอ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 698
Default

ข่าวสด

ดาราศาสตร์: กาแล็กซีทางช้างเผือก อยู่ในฟองอวกาศขนาดยักษ์ที่สสารเบาบางกว่าภายนอก




ข้อถกเถียงร้อนแรงเรื่องหนึ่งในวงการฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ซึ่งยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ คือการคำนวณหาค่าคงที่ฮับเบิล (Hubble constant) ที่บ่งบอกถึงการขยายตัวของเอกภพด้วยอัตราเร่ง โดยมีนักวิทยาศาสตร์สองกลุ่มคำนวณหาค่านี้ได้แตกต่างกันราว 10% มาโดยตลอด

แม้ค่าคงที่ฮับเบิลโดยประมาณจะอยู่ที่ 70 กิโลเมตรต่อวินาทีต่อเมกะพาร์เซก ซึ่งหมายถึงเอกภพมีอัตราการขยายตัวเพิ่มที่ 70 กม./วินาที ในระยะทางทุก ๆ 3.26 ล้านปีแสง แต่นักวิทยาศาสตร์ที่ใช้ข้อมูลจากการแผ่รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล (CMB) จะคำนวณค่าคงที่ฮับเบิลได้ 67.4 ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ซึ่งใช้ข้อมูลการเดินทางของแสงจากเหตุการณ์ซูเปอร์โนวา จะคำนวณค่าคงที่ฮับเบิลได้มากกว่าที่ 74


NASA /ESA / HUBBLE
คำบรรยายภาพ
กาแล็กซี M106 ในกลุ่มดาวสุนัขล่าเนื้อและดาราจักรข้างเคียง ซึ่งอาจอยู่ภายในฟองอวกาศของตนเช่นกัน


ล่าสุด ศ. ลูคัส ลอมบริเซอร์ นักฟิสิกส์ทฤษฏีจากมหาวิทยาลัยเจนีวา (UNIGE) ของสวิตเซอร์แลนด์ ได้เสนอแนวคิดใหม่ที่จะช่วยอธิบายสาเหตุของข้อขัดแย้งดังกล่าว และสามารถหาข้อสรุปให้แก่เรื่องค่าคงที่ฮับเบิล ซึ่งมีความสำคัญยิ่งยวดต่อพื้นฐานการศึกษาด้านจักรวาลวิทยา

นักฟิสิกส์ได้ ?ค่าคงที่ฮับเบิล? ใหม่ ชี้เอกภพยังขยายตัวเร็วเพิ่มขึ้นอีก
นักฟิสิกส์โนเบลเผยเตรียมปรับแนวคิดเรื่องพลังงานมืดเสียใหม่
กาแล็กซีทางช้างเผือกบิดเบี้ยว-โคลงเคลง เพราะชนกับดาราจักรบริวาร
ศ. ลอมบริเซอร์ ตีพิมพ์บทความวิจัยข้างต้นในวารสาร Physics Letters B โดยระบุถึงสมมติฐานที่มีความเป็นไปได้ว่า กาแล็กซีทางช้างเผือกที่เราอาศัยอยู่รวมทั้งดาราจักรใกล้เคียงอีกหลายพันแห่ง อาจอยู่ใน "ฟองฮับเบิล" (Hubble bubble) ซึ่งเป็นพื้นที่ทรงกลมในอวกาศขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 250 ล้านปีแสง

กาแล็กซีทางช้างเผือกและดาราจักรเพื่อนบ้าน อาจแยกกันอยู่ในฟองอวกาศของตนเอง โดยภายในฟองทรงกลมนี้ ความหนาแน่นของสสารทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นดวงดาวหรือกลุ่มก๊าซ จะต่ำกว่าภายนอกและพื้นที่อื่น ๆ ในห้วงจักรวาลอยู่ครึ่งหนึ่ง

การที่สสารในกาแล็กซีทางช้างเผือกเบาบางกว่าที่อื่นถึง 50% ชี้ว่าการกระจายตัวของสสารในเอกภพนั้นไม่เป็นเนื้อเดียวกัน หรือไม่มีความสม่ำเสมอคล้ายคลึงโดยทั่วกัน อย่างที่นักวิทยาศาสตร์เคยคิดเอาไว้ ซึ่งเหตุนี้น่าจะทำให้ผลการคำนวณค่าคงที่ฮับเบิลด้วยแสงจากซูเปอร์โนวาคลาดเคลื่อนไปมากกว่าของอีกวิธีหนึ่ง

แนวคิดของศ. ลอมบริเซอร์ ทำให้นักดาราศาสตร์ไม่ต้องมองหากฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์แบบใหม่ เช่นคำอธิบายเรื่องพลังงานมืดแบบแหวกแนว เพื่อนำมาอธิบายปรากฎการณ์ความขัดแย้งดังกล่าว

แต่อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังคงจะต้องหาวิธีทำการทดลอง เพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของแนวคิดใหม่นี้ในอนาคตอันใกล้ด้วย


เอลนีโญ แผลงฤทธิ์ ทำไทยแล้งหนัก




กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศว่า ประเทศไทยเข้าสู่หน้าร้อนอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาและกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ฤดูร้อนปีนี้ จะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2563

เมื่อหมดฤดูร้อน ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ฤดูฝน แต่ในปี 2562 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ เอลนีโญ ทำให้ฤดูฝนมาช้ากว่าปกติแ ละปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

แล้วปรากฏการณ์เอลนีโญ คืออะไร? เกิดจากอะไร? และมาจากไหน?

ทำความรู้จักเอลนีโญ

มีหลักฐานว่าเอลนีโญได้เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานกว่าพันปีแล้ว จากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาระบุว่า เอลนีโญ คือคำที่ใช้เรียกปรากฏการณ์ทางสมุทรศาสตร์ ที่ลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้อ่อนกำลังกว่าปกติ หรือพัดในทิศตรงกันข้าม ส่งผลให้คลื่นมหาสมุทรพัดพามวลน้ำอุ่นไปทางทิศตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก (เปรู) และทำให้ผิวหน้าน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งเปรูอุ่นขึ้นกว่าปกติ แต่ถ้าเกิดปรากฏการณ์ในทางกลับกัน อุณหภูมิน้ำเย็นลง จะเรียกว่า ลานีญา และรวมเรียกสองปรากฏการณ์เอลนีโญ ลานีญา ว่า เอนโซ่ (ENSO)

อิทธิพลของเอลนีโญ

ปรากฎการณ์เอลนีโญ จะทำให้พื้นที่บริเวณฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน เช่น ออสเตรเลีย ไทย อินโดนีเซีย ได้รับผลกระทบจากความแห้งแล้งที่มากผิดปกติ ส่วนแปซิฟิกฝั่งตะวันออก กลับมีฝนตกหนักจนเกิดอุทกภัย

นักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งขนาดของเอลนีโญ เป็น 5 ระดับ ได้แก่ อ่อนมาก อ่อน ปานกลาง รุนแรง และรุนแรงมาก และตามสถิติปรากฏการณ์เอลนีโญ จะเกิดขึ้นทุกๆ 2-3 ปี

ปัจจุบันอุณหภูมิโลกได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียส ส่งผลโดยตรงกับปรากฏการณ์เอลนีโญที่จะทำให้ผลกระทบจากปรากฎการณ์นี้ทวีความรุนแรงขึ้น

เอลนีโญส่งผลต่อไทยอย่างไร

ผลกระทบที่ปรากฏเห็นเด่นชัดในปีที่ผ่านมาปริมาณน้ำฝนในประเทศไทยลดลงอย่างมาก ในช่วงฤดูร้อน โดยปริมาณน้ำฝนของปี 2562 อยู่ที่ 1,292.33มิลลิเมตร น้อยกว่าปี 2561 ถึง 316.11 มิลลิเมตร ส่งผลต่อน้ำต้นทุน และน้ำในเขื่อนที่สะสมได้ในปริมาณน้อย ส่งผลต่อเนื่องมาถึงปีนี้ หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดเหตุวาตภัยพายุโซนร้อนโพดุล และพายุโซนร้อนคาจิกิเข้าโจมตีพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

นอกจากนี้ข้อมูลของปี 2562 พบว่า ตั้งแต่มีนาคม - เมษายน และต้นฤดูฝน ตั้งแต่พฤษภาคม ? มิถุนายน พื้นที่ป่าไม้มีค่าการระเหยน้ำสูง เกิดไฟป่าได้ง่าย

ข้อมูลจากสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ระบุว่า ปี 2562 มีพื้นที่เกิดไฟป่ากว่า 151,681.9 ไร่ และในช่วง 1 ตุลาคม 2562 ? 1 มีนาคม 2563 มีพื้นที่เกิดไฟไหม้ป่า 72,372.7 ไร่ ถ้าเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 -2562 เกิดไฟป่าเพียง 31,163.6 ไร่

แม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์ของปรากฎการณ์เอนโซ่จะอยู่ในภาวะเป็นกลาง และทางกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าปรากฏการณ์เอนโซ่นี้จะมีสถานะเป็นกลางต่อเนื่องไปจนถึงกลางปีนี้ (ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2563)

อย่างไรก็ตามความแปรปรวนของสภาพอากาศเช่นนี้ ยังคงเกิดขึ้นวนเวียนเป็นวัฏจักร เพราะสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ส่งผลต่อปรากฎการณ์เอลนีโญ ลานีญาอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเห็นผลกระทบได้ชัดอย่างมากในปีนี้ ที่ภัยแล้งแผ่ขยายกว้างขึ้น รุนแรงมากขึ้น

ตอนต่อไปมาดูกันว่า เราจะช่วยกันลดการเกิด ?เอลนีโญ? ได้อย่างไรบ้าง

อ้างอิง

http://kmcenter.rid.go.th/kchydhome/...icle/in001.pdf

http://paj.rmu.ac.th/jn/home/journal_file/75.pdf

http://portal.dnp.go.th/Content/firednp?contentId=15705

http://nstda.or.th/rural/public/100%...les-stkc/9.pdf

https://www.tmd.go.th/climate/climate.php?FileID=9


ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม