ดูแบบคำตอบเดียว
  #24  
เก่า 25-04-2010
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default


รู้ได้อย่างไรเมื่อ “ภูเขาไฟ” จะระเบิด? (ต่อ)



ฟ้าผ่าระหว่างการประทุของเถ้า ภูเขาไฟ “เอยาฟยาลาเยอคูล” (เอพี)


วัดการปลดปล่อย “ซัลเฟอร์ไดออกไซด์”

การปลดปล่อยของก๊าซบางชนิด ยังเป็นสัญญาณเตือนก่อนภูเขาไฟระเบิด เนื่องจากเมื่อแมกมาเข้าใกล้พื้นผิวโลกมากขึ้นจะมีก๊าซออกมา ซึ่งก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (sulphur dioxide) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของก๊าซภูเขาไฟ และเป็นสัญญาณการเพิ่มขึ้นของแมกมาใกล้ๆพื้นผิว

ตัวอย่างเช่น ภูเขาไฟพินาตูโบ (Mount Pinatubo) ในฟิลิปปินส์ ได้เริ่มปลดปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เพิ่มขึ้นเมื่อวันที่ 13 พ.ค.1991 จากนั้นอีกเพียง 2 สัปดาห์ปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาได้เพิ่มขึ้นเป็น 5,000 ตัน หรือ 10 เท่าของปริมาณที่ปลดปล่อยออกมาในช่วงแรก และในวันที่ 12 มิ.ย.ปีเดียวกันภูเขาไฟจริงระเบิดออกมา


ภาพจากดาวเทียม MODIS เผยให้เห็นเถ้าภูเขาไฟสีน้ำตาลพวยพุ่งสู่บรรยากาศ (เอเอฟพี/นาซา)

อย่างไรก็ดี ยังมีหลักฐานหลายครั้งที่แสดงให้เห็นว่า ปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ลดลงนั้นป็นสัญญาณก่อนที่ภูเขาไฟจะระเบิด เช่น กรณีการระเบิดของภูเขาไฟกาเลรัส (Galeras) ในโคลัมเบีย เมื่อปี 1993 โดยนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าปริมาณก๊าซที่ลดลงนั้นมีสาเหตุจากแมกมาที่แข็งตัวกักเส้นทางออกของก๊าซไว้ และทำให้ความดันปล่องภูเขาไฟเพิ่มขึ้นจนนำไปสู่การระเบิดที่รุนแรง

นอกจากการตรวจวัดแผ่นดินไหวและการเฝ้าสังเกตก๊าซที่ถูกพ่นออกมาแล้ว ยังมีการตรวจวัดอื่นๆที่นำไปสู่การพยากรณ์การระเบิดของภูเขาไฟ เช่น การศึกษาการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของภูเขาไฟ ทั้งการพองตัวขึ้นหรือการยุบตัวลง การศึกษาทางอุทกวิทยา โดยตรวจวัดการไหลของลาฮาร์ (lahar) ซึ่งเป็นของเหลวและโคลนที่ไหลมาตามความลาดชันของภูเขาไฟ เป็นต้น.


ภาพเรดาร์เผยให้เห็นปล่องภูเขาไฟ “เอยาฟยาลาเยอคูล” 3 ปล่อง (เอเอฟพี)



จาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 23 เมษายน 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม